นักวิชาการแนะ กสทช.เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ 3จี แก้ปัญหาสัญญาณล่ม-เนตช้า

Logo Thai PBS
นักวิชาการแนะ กสทช.เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ 3จี แก้ปัญหาสัญญาณล่ม-เนตช้า

นักวิชาการด้านโทรคมนาคม แนะกสทช.เร่งกำหนดเกณฑ์การให้บริการ 3จี ชี้คุณภาพควรสัมพันธ์กับราคา กำหนดหลักเกณฑ์แก้ปัญหาสัญญาณล่ม รวมถึงบังคับการใช้ทรัพยากรร่วมกันกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ขณะที่ รองประธานกสทช.ยีนยันเดินหน้าจัดการคลื่น 3 จี ต่อ จะยุติก็ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลเท่านั้น ด้านภาคเอกชน ยืนยันการประมูล 3 จีที่ผ่ามารไม่มีการฮั้วประมูลแน่นอน

วันนี้ (29 ต.ค.) นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการด้านโทรคมนาคม กล่าวในงานเสวนา "3 จี 3 ใจ ใครกำหนด" ว่า แม้ว่าการประมูล 3 จีจะผ่านไปแล้ว แต่กสทช.จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ในการให้บริการในคลื่น 3 จี ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพที่ต้องสัมพันธ์กับราคาและมีความเหมาะสม หรืออย่างน้อยควรอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกฎเกณ์เดิม อาทิ การส่งสัญญาณอินเตอร์เนต ที่กำหนดความเร็วในการให้บริการอยู่ที่การใช้บริการขณะขับรถ หรือความเร้วอินเตอร์เนตที่ 345 kb/วินาที ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วให้มีคุณภาพดีขึ้น หากกำหนดสัญญาณมาตรฐานเมื่อผู้ใช้อยู่กับที่ หรือเมื่อผู้ใช้บริการเดินซึ่งอยู่ที่ 2048 kb/วินาที โดยจะสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงถึง 6 เท่า

รวมถึง การกำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาสัญญาณล่มที่ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ โดยกสทช.จะต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยสามารถดำเนินการได้ใน 2 แนวทาง คือ รูปแบบที่เข้มงวด คือ กำนหนดให้สัญญาณล่มไม่เกินร้อยละ 2 และะที่รูปแบบที่ยืดหยุ่นอยู่สัญญาณล่มไม่เกินร้อยละ 5 ทั้งหมดนี้จะครอบคลุมทั้งการใช้โทรศัพท์ในรูปแบบปกติ และรวมถึงการใช้บริการอินเตอร์เนตที่ต้องมีความเสถียรและความเร็วที่เหมาะสมด้วย

นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้บริการทรัพยากรร่วมกันที่ต้องมีมาตรการบังคับ อาทิ กรณีการใช้โทรศัพท์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ใช้บริการควรที่จะสามารถใช้ได้ในทุกพื้นที่ แม้ว่าจะอยู่นอกเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ของตนก็ตาม

ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ ย้ำว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ที่กสทช.กสทช.จัดการประมูลในวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ณูปแบบการประมูลดังกล่าวส่งผลให้รัฐเสียหายและได้มูลค่าการประมูลต่ำกว่ามาตรฐานสากลร้อยละ 27.7 และที่สำคัญก็คือ ราคาประมูลที่เอกชนสามารถประมูลได้ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ จะไม่ส่งผลให้อัตราค่าบริการถูกลงได้

ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า กระบวนการออกใบอนุญาต 3 จี ยังคงเดินหน้าต่อไป เนื่องจากประกาศการประมูล 3 จีได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่กสทช.จะต้องดำเนินการจัดสรรต่อไปจนกว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ ซึ่งการที่จะชะลอหรือยุติขึ้นอยู่กับคำสั่งศาลเท่านั้น

อย่างไรก็ตามกสทช.พร้อมที่จะให้หน่วยงานต่างๆตรวจสอบอย่างเต็มที่ ทั้งจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจเสอบพฤติกรรมการประมูลคลื่น 3 จีครั้งที่ผ่านมาของภาคเอกชน โดยกสทช.เองด้วย

นอกจากนี้ ยังคงมีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MGH หรือ 4 จี ที่ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายในปัจจุบันใกล้จะหมดอายุสัมปทานในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งมีรายละเอียดและความซับซ้อนและเงื่อนไขค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปถึงหลักเกณฑ์และรูปแบบการประมูลในช่วงเดือน พ.ย.นี้

ด้าน ดร.ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ย้ำว่า การประมูล 3 จีครั้งที่ผ่านมาไม่มีการฮั้วประมูลอย่างแน่นอน และถือว่าการจัดประมูลของกสทช.เหมาะสมและมีมาตรฐาน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง