คมนาคมดึงองค์กรท้องถิ่นร่วมพัฒนารถไฟความเร็วสูง

สังคม
2 ธ.ค. 55
14:06
143
Logo Thai PBS
คมนาคมดึงองค์กรท้องถิ่นร่วมพัฒนารถไฟความเร็วสูง

ญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบขนส่งสาธารณะที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะระบบรางที่มีรถไฟความเร็วสูง และรถไฟท้องถิ่นให้บริการกับคนในประเทศ ทำให้การเดินทางสะดวกสบาย ซึ่งกระทรวงคมนาคม เตรียมนำรูปแบบเช่นญี่ปุ่นมาใช้เพื่อพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ที่ในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางของการให้บริการระบบสาธารณะทุกประเภท

<"">
<"">

เพื่อให้การเดินทางของคนในชุมชน มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารขององค์การท้องถิ่นของ ซากุไดระ เตรียมพื้นที่โดยรอบของสถานี เพื่อรองรับ การให้บริการรถไฟความเร็วสูง โดยเทศบาลซากุไดระเตรียมแผนการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงนานกว่า 8 ปีภายใต้เป้าหมายสำคัญคือ การใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินที่อยู่รอบๆสถานี โดยใช้วิธีการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

<"">
<"">

 

สถานีรถไฟซากุไดระ อ.ซากุ จ.นากาโนะ ห่างจากกรุงโตเกียว 165 กิโลเมตรหลังจากมีรถไฟความเร็วสูงมาให้บริการก็ทำให้การเดินทางจากเมือหลวง ที่โตเกียว มายัง ที่ซากุได้ระ ใช้เวลาน้อยลง จาก 3 ชั่วโมง 30 นาที เหลือเพียง 1 ชั่วโมง 20 นาที เท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นส่วนหนึ่งของการย้ายถิ่นฐานของประชาชนที่อยู่ในเขตเมืองมาอยู่ที่นี้นับตั้งแต่ปี 2540 ประชากรเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 7 ภาษีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์รอบสถานีเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว

ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการวางแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงและจะใช้เมืองใหญ่เป็นที่ตั้งของสถานีโดยสาร เช่น จ.นครราชสีมา จ.พิษณุโลก และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยกระทรวงคมนาคมจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เหล่านี้และเห็นว่าท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมเพื่อทำให้การพัฒนาเมืองกับรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นพร้อมๆกัน

<"">
<"">

 

"ในสายเหนือ รถไฟความเร็วสูงช่วงแรกไปจบที่พิษณุโลก ก่อนไปทางเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นพิษณุโลกจะเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญ โดยพิษณุโลกเองเป็นเมืองใหญ่อยู่แล้ว และเราต้องเข้าไปดูเพิ่มเติม แต่ที่ยังไม่แน่คือ รถไฟจะไปจอดสถานีไหน" จุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งการจราจร

<"">

 

ตามแผนการพัฒนาระบบรางของไทยในปี 2562 จะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางแรกให้บริการกับประชาชนในเส้นทาง กรุงเทพ หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร และ ในปีหน้าสำนักงานโยบายและแผนการจราจร จะเริ่มศึกษาการก่อสร้างสถานีกลางเพื่อรองรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่ จ.พิษณุโลก นครราชสีมา โดยทั้ง 2 พื้นที่นี้จะเป็นการก่อสร้างสถานีขนาดใหญ่ในลักษณะเดียวกับสถานีกลางบางซื่อ เพื่อใช้เป็นจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในต่างจังหวัดที่มีรถไฟความเร็วสูงผ่านไปพร้อมๆกับการพัฒนาเมืองให้เติบโตขึ้นด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง