แฟชั่นทรงผมนักเรียน

Logo Thai PBS
แฟชั่นทรงผมนักเรียน

กฎเกณฑ์การไว้ทรงผมที่ดูผ่อนคลาย ทำให้นักเรียนหลายคนดีใจ แต่มีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงทรงผมพร้อมทรงผม

นักเรียนชายซึ่งตัดผมทุกช่วงก่อนเปิดเทอมมีจำนวนน้อยลง หลังจากกระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้นักเรียนชายไว้รองทรงสูง ทำให้นักเรียนชายไม่ต้องตัดผมในช่วงก่อนเปิดเทอม และนักเรียนหญิงไม่ต้องตัดผมสั้นเสมอติ่งหูอีก

ช่างตัดผมที่มีรายได้จากการตัดผมทงรองหวีหรือไถเกรียนให้กับนักเรียนชาย บางรายรู้สึกกังวลใจเรื่องรายได้ลดลง  เพราะกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกระเบียบการไว้ผมสั้นเกรียน ทำให้บางร้าน มีการคิดออกแบบทรงผมให้ทันสมัยเพื่อให้ลูกค้าวัยรุ่นถูกใจ

ทรงผมนำสมัยช่วยเสริมบุคลิกและสะท้อนรสนิยมของผู้ตัด การเปลี่ยนแปลงของทรงผมในแต่ละยุคได้สะท้อนสภาพสังคม เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองอยู่ในช่วงสงคราม ผู้หญิงต้องตัดผมสั้น เพื่อความคล่องตัวและปลอดภัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีแนวคิดพัฒนาประเทศให้เป็นแดนศิวิไลซ์ ทรงผมได้กลายเป็นเครื่องแสดงความเจริญของสังคม โดยผู้หญิงนิยมตัดผมทรงดอกกระทุ่ม และการทำผมยังถือเป็นวัฒนธรรม ซึ่งคนที่สามารถทำผมได้ต้องเป็นชนชั้นสูง และเมื่อประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นตะวันตก ผู้หญิงไทยตัดผมสั้นแบบมาริลีน มอนโรว์

สมศักดิ์ ชลาชล นักออกแบบทรงผม กล่าวว่า ทรงผมมีบทบาทต่อการ present character ของแต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่อง grooming ที่เมืองนอกนิยม ซึ่งกำลังกลายเป็น value added กลายเป็น human capital หรือว่าทุนมนุษย์  เช่น ตอนสมัครงาน ทรงผมใช้เป็นเบิกทางของแต่ละคน สิ่งพวกนี้มันเป็นทุน

นอกจากนี้ประเทศไทยได้รับทรงผมทรงนักเรียน และเครื่องแบบต่างๆมาจากญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งช่วงนั้นเกิดเหาระบาดมาก ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้นเกรียน และกลายเป็นทรงผมบังคับสำหรับนักเรียนชาย  ซึ่งตอนนี้กฎเกณฑ์การไว้ทรงผมผ่อนคลายมากขึ้น หากอิสระจากผมทรงใหม่ หมายถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพราะช่างต้องใช้เวลาตัดผมรองทรงเพิ่มอีก และต้องคอยเล็มเดือนละ 2 ครั้ง ขณะที่ทรงนักเรียนตัดเพียงเดือนละหนึ่งครั้ง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง