เปิดสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ความเชื่อ "เลขตัวเดียว" หาเสียงง่าย

การเมือง
22 ม.ค. 56
02:39
76
Logo Thai PBS
เปิดสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ความเชื่อ "เลขตัวเดียว" หาเสียงง่าย

แม้จะไม่มีงานวิจัยหรือผลสำรวจใดที่ระบุไว้ชัดเจนว่า หมายเลขที่ได้ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกของประชาชนหรือไม่ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า หมายเลขส่งผลต่อความสะดวกในการหาเสียงเลือกตั้งแต่ละครั้ง

หลังเปิดรับสมัครผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร วันแรกมีผู้สมัครแล้ว 18 คน เป็นผู้สมัครในนามกลุ่มและอิสระรวม 16 คน ส่วนอีก 2 คน เป็นผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค

หลังได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครอย่างเป็นทางการ ผู้สมัครแต่ละคนต่างก็พยายามเชื่อมโยงเลขของตัวเอง เข้ากับเรื่องต่างๆ เพื่อให้เป็นที่จดจำ แม้จะระบุว่า พอใจกับผลของหมายเลขที่ได้ แต่หากย้อนกลับไปก่อนจับหมายเลข ผู้สมัครส่วนใหญ่อยากได้เลขตัวเดียวเป็นเลขประจำตัว เพราะเชื่อกันว่า เลขตัวเดียวจะง่ายต่อการหาเสียง เนื่องจากสามารถจดจำได้ง่าย แสดงสัญลักษณ์ระหว่างการหาเสียงโดยไม่ยุ่งยาก

<"">

 

ขณะที่ผู้สมัครบางคน เห็นว่า หมายเลขลงสมัครรับเลือกตั้ง เกี่ยวข้องทางจิตวิทยา ความเชื่อ รวมไปถึงเรื่องโชคลาง การจับหมายเลขผู้สมัครเมื่อวานนี้(21 ม.ค.) จึงได้มีโอกาสเห็นการพกเครื่องลางของขลัง มาเป็นกำลังใจระหว่างการจับหมายเลขด้วย

และแน่นอนว่า เมื่อได้รับหมายเลขอย่างเป็นทางการผู้สมัครทุกคน ต่างเริ่มเดินหน้าหาเสียงอย่างเต็มที่ ซึ่งทันทีที่ได้รับหมายเลข กองเชียร์ที่เดินทางมาให้กำลังใจผู้สมัครอยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ก็นำหมายเลขผู้สมัครติดลงบนป้ายหาเสียงทันที เปรียบเสมือนสัญญาณของการเริ่มต้นหาเสียงอย่างเป็นทางการนับจากนี้ไปอีก 38 วัน ก่อนจะมีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 มีนาคม

ตั้งเป้าชาว กทม.ใช้สิทธิ์ร้อยละ 70
นอกจากบรรยากาศในการหาเสียงเลือกตั้ง สิ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้กัน ก็คือการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของชาวกรุงเทพฯ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าไว้ว่า จะมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 แม้เป้าหมายที่ตั้งไว้จะไม่เคยเกิดขึ้นจริงมาก่อน เพราะย้อนหลังกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีครั้งใดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิ เกินร้อยละ 65 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

<"">
<"">

 

หากนับย้อนกลับไปในการเลือกตั้ง 3 ครั้งหลังสุด ในปี 2547 มีผู้มาใช้สิทธิ เพียงร้อยละ 62.50 ปี 2551 มีผู้ใช้สิทธิ ร้อยละ 54.18 ส่วนครั้งหลังสุด เมื่อปี 2552 มีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 51.10

นับว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลไม่น้อย ถึงแผนในการประชาสัมพันธ์ให้ชาวกรุงเทพฯออกมาใช้สิทธิให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ แตกต่างจากการเลือกตั้งระดับประเทศตรงที่ จะไม่มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า ไม่มีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ดังนั้นการใช้สิทธิจะสามารถทำได้เพียงวันเดียว คือวันที่ 3 มีนาคม ตั้งแต่ 08.00 - 15.00 FREE น. เท่านั้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง