กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนภาคเหนือ ระวังลูกเห็บตกบางพื้นที่

สิ่งแวดล้อม
30 ม.ค. 56
03:38
181
Logo Thai PBS
กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนภาคเหนือ ระวังลูกเห็บตกบางพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนภาคเหนือ ระวังลูกเห็บตกในบางพื้นที่

ลูกเห็บเกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งก่อตัวในแนวตั้ง ภายในมีกระแสอากาศไหลเวียนรวดเร็ว มีกระแสอากาศไหลขึ้น เรียกว่า อัพดราฟท์ และกระแสอากาศไหลลง เรียกว่า ดาวน์ดราฟท์

ลูกเห็บ เริ่มจากเม็ดน้ำขนาดเล็ก หรืออาจเป็นเม็ดฝนน้ำแข็ง ถูกกระแสอากาศไหลขึ้น พัดขึ้นไปด้านบนของเมฆ เมื่อขึ้นไปสูง เจอกับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำมากๆ ทำให้เม็ดน้ำ แข็งตัว เป็นเม็ดน้ำแข็งเล็กๆ ตกลงมา แต่อากาศไหลขึ้นพยุงเม็ดน้ำแข็ง แล้วพัดกลับขึ้นไปด้านบนอีก ไปเจอกับหยดน้ำเย็นยิ่งยวด มาเกาะผิวเม็ดน้ำแข็ง และเคลือบไว้ เกิดเป็นชั้นน้ำแข็ง แล้วตกลงมา  ซึ่งวนเวียนอยู่ในก้อนเมฆหลายรอบ จนชั้นน้ำแข็งหนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีน้ำหนักถึงจุดหนึ่ง และกระแสอากาศพยุงไว้ไม่อยู่ ก้อนน้ำแข็งนี้จึงตกลงมาเป็น ลูกเห็บ

ก่อนลูกเห็บจะตก อากาศจะร้อนอบอ้าว มีฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และเกิดในช่วงบ่ายถึงค่ำ ซึ่งลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลก คือเมือง คอฟฟี่วิลล์ รัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา ลูกเห็บหนักถึง 770 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร หรือ 5.7 นิ้ว

ส่วนลูกใหญ่ที่สุด คือที่เมือง ออโรร่า รัฐเนบราสกา สหรัฐ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร หรือ 7 นิ้ว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง