Vicinity ข้อต่อสู้ของไทย ใน"ปราสาทเขาพระวิหาร"

12 เม.ย. 56
11:24
406
Logo Thai PBS
Vicinity  ข้อต่อสู้ของไทย ใน"ปราสาทเขาพระวิหาร"

โดย เสริมสุข กษิติประดิษฐ์

 สำหรับในคำร้องขอตีความของรัฐบาลกัมพูชาต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ได้ระบุถึงพื้นที่ใก้ลเคียงตัวปราสาท หรือที่เรียกว่า VICINITY ที่ฝ่ายไทยต้องปรับกำลังออกจากตัวปราสาทตามคำสั่งศาลคือ พื้นที่ที่กำหนดไว้ในแผนที่ฝรั่งเศสอัตราส่วนหนึ่งต่อสองแสน ซึ่งกำหนดให้พื้นที่4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทอยู่ในเขตอธิปไตยกัมพูชา ขณะที่นักกฏหมายระหว่างประเทศของไทยเห็นว่าพท.ใก้ลเคียงตัวปราสาทที่กำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2505 ไม่เคยถูกฝ่ายกัมพูชาทักท้วงตลอดช่วงก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอให้ตีความคำตัดสินเมื่อเดือนเมษายนปี 2554

 
คำพิพากษาในปี 2505  ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากระบุให้ปราสาทพระวิหาร อยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชาแล้ว  ยังมีคำสั่งให้ไทยคืนโบราณวัตถุ และให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ใก้ลเคียง  หรือ vicinity รอบตัวปราสาท โดยไม่กำหนดรายละเอียด ของพื้นที่ใก้ลเคียงที่ต้องปรับกำลังออก
 
เกือบ 4 สัปดาห์หลังศาลมีคำตัดสิน  คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดพื้นที่ใก้ลเคียงรอบตัวปราสาทที่ต้องปรับกำลังออก ให้มีระยะห่างหนึ่งร้อยเมตร จากทางตะวันตกของตัวปราสาท  และทางทิศเหนือให้ห่างจากบันไดนาค 20 เมตร  พร้อมสร้างรั้วลวดหนาม เพื่อบอกขอบเขตพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตกัมพุชา
 
คำร้องให้ตีความคำพิพากษาของกัมพูชา  เพื่อกำหนดพื้นที่ใก้ลเคียงรอบตัวปราสาทใหม่  ถูกนักกฏหมายระหว่างประเทศของไทยเห็นว่า ไม่ใช่เป็นการเสนอขอตีความ แต่เป็นการรื้อฟื้นคดีใหม่
 
 รศ. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพานิช อาจารยืคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า วิซีนิตี้ หลังขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารในปี 2551 กัมพูุชาขอตีความคำพิพากษาศาลเมื่อวันที่ 28เมษายน 2554 ให้ศาลกำหนดเส้นเขตแดนรอบปราสาทตามที่ระบุไว้ในแผนที่ฝรั่งเศส อัตราส่วนหนึ่งต่อสองแสนหวังครอบครองพื้นทของไทยรอบปราสาท เพื่อใช้บริหารจัดการพื้นที่ หลังการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
 
ในคำพิพากษาของศาลเมื่อปี 2505  ศาลยอมรับมีปัญหาในเรื่องความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ระบุไว้ในแผนที่ฝรั่งเศส และเห็นว่าแผนที่ที่พิมพ์ขึ้นในปีคริสตศักราช 1908  ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมชุดแรก เนื่องจากถูกยุบตัวไปก่อนหน้านี้
 
นอกจากนี้ยังไม่มั่นใจต่อแนวเขตที่ทำขึ้นในแผนที่ ทำให้รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ไม่มากนักที่ศาลจะตัดสินเส้นเขตแดน ตามที่ระบุไว้ในแผนที่ฝรั่งเศส
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง