“หมออารักษ์” เดินหน้าชี้แจงผลกระทบพีฟอร์พี กลุ่มแกนนำ อสม.

สังคม
8 พ.ค. 56
11:15
275
Logo Thai PBS
“หมออารักษ์” เดินหน้าชี้แจงผลกระทบพีฟอร์พี กลุ่มแกนนำ อสม.

ที่โรงพยาบาลสิชล มีกลุ่มแกนนำชมรม อสมฺ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช รับฟังคำชี้แจงต่อกรณีกระแสข่าวการทุจจริต การจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน และกระแลการคัดค้านการปรับเปลี่ยนนโยบายค่าตอบแทนใหม่ของกระทรวงสาธารสุข (p4p) ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชน

 นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล และแกนนำชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ตนเองทำงานอยู่ในชนบทมาอย่างยาวนาน ตลอดชีวิตการทำงานได้อุทิศตนเองอย่างทุ่มเทเพื่อโอกาสที่ดีชาวชนบทมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรับราชการครั้งแรกที่โรงพยาบาลประทิว จังหวัดชุมพร ซึ่งต้องทำงานอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อบริการผู้ป่วยมาหลายปีและสามารถฟื้นฟูโรงพยาบาลปะทิวจนพ้นวิกฤต  จนไปมาอยู่ที่โรงพยาบาลสิชลเมื่อปี 2535 ทำงานทุ่มเทสร้างผลงาน ร่วมกับพี่ๆ น้อง ๆ ชาวโรงพยาบาลสิชล และเครือข่ายภาคประชาชนทุกภาคส่วนรวมถึง อสม.ทุกคนด้วย ซึ่งตนเชื่อว่าพี่น้อง อสม.ทุกคนทราบดีและมีส่วนร่วมในการทำงานรับใช้ประชาชนกันมาโดยตลอด พัฒนาโรงพยาบาลสิชลมาตั้งแต่เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงที่มีความขาดแคลน มาจนขณะนี้ สามารถเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และยกระดับการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ 250 เตียง และสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ จนมีมีความพร้อม ในหลายด้าน ก็ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน 

 
โดยเฉพาะ อสม.ที่เป็นแกนหลักมาโดยตลอด ตนตระหนักและเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญมาโดยตลอด ไม่เคยดูถูกดูแคลนอย่างที่เป็นข่าว เพียงในช่วงที่ผ่านมากรณีการคัดค้านนโยบายค่าตอบแทนใหม่ของ สธ.(p4p ) และมีการเปิดโปงประเด็นการทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำให้ อสม.ไปใช้ ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และตนมีความเป็นห่วงว่าปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรอง หากให้ อสม.ปฏิบัติโดยที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับก็จะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้ จึงมีการทักท้วงไปก็เท่านั้น ไม่คิดว่าจะถูกนำไปขยายเป็นประเด็นทางการเมือง
นายแพทย์อารักษ์ ชี้แจงประเด็นการคัดค้านว่า การปรับเปลี่ยนระบบค่าตอบแทนใหม่(p4p)  ระบบดังกล่าว ไม่เป็นผลดีต่อระบบการทำงานในชนบท โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เพราะจะส่งผลให้เกิดสมองไหลจากชนบทเข้าสู่เมือง ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางที่เก่งๆ ในชนบท  คนทำงานรู้สึกไร้ศักดิ์ศรี และระบบนี้จะมองผู้ป่วยเป็นคะแนน การบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์จะหายไป เกิดความขัดแย้งแตกแยกกันในกลุ่มสหวิชาชีพต่าง ๆ ในโรงพยาบาล บุคลากรในชนบทจะอยู่ยาก โรงพยาบาลในชนบทจะขาดการพัฒนา ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ คนจนจะเสียโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีมีคุณคุณภาพ โดยเฉพาะบริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เป็นแนวคิดแบบถอยหลังเข้าคลอง มุ่งตอบสนองต่อภาคเอกชน คนร่ำรวยโดยดูดเอาทรัพยากรในชนบทไป ซึ่งพวกตนที่เป็นสมาชิกของโรงพยาบาลสิชลทั้งหมด จะร่วมชมรมแพทย์ชนบท และเครือข่ายต่าง ๆ จะเดินหน้าคัดค้านเรื่องนี้ต่อไปให้ถึงที่สุด
 หลังรับฟังการชี้แจงข้อมูลต่าง ๆ นางสาววาสนา กล้าอยู่ ประธานชมรม อสม.อำเภอสิชล และแกนนำ อสม.ของอำเภอสิชลทั้งหมดที่เข้าร่วมรับฟังคำชี้แจงในครั้งนี้ ได้พร้อมใจกันแต่งดำ พร้อมกับมอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจแก่ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล และประกาศพร้อมร่วมการต่อสู้คัดค้านอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ กับชาวโรงพยาบาลสิชล และเครือข่ายทั่วประเทศ ต่อไป.
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง