ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมคดีความมั่นคง ปัจจัยสำคัญแก้ปัญหาใต้

5 มิ.ย. 56
14:10
111
Logo Thai PBS
ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมคดีความมั่นคง ปัจจัยสำคัญแก้ปัญหาใต้

การไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีความมั่นคงเป็นปัญหาที่ศูนย์ทนายความมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด รวมถึงในจังหวัดยะลา โดยส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ชั้นปฎิบัติละเมิดสิทธิ์ ปัญหานี้นำก็ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ไม่สามารถยุติได้

ชายที่อ้างว่าได้รับการปฎิบัติที่ไม่เหมาะสมจากเจ้าหน้าที่ หลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคง เขาจึงเข้าขอความช่วยเหลือจากศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา 10 ปีก่อนเขาตกเป็นผู้ต้องหาคดีทำลายทรัพย์สิน ถัดมา 5 ปีเป็นคดีวางระเบิด ซึ่งขณะการรวบรวมหลักฐานเขาถูกคุมตัวรวมเกือบ 4 เดือน ก่อนได้รับการยกฟ้องทั้ง 2 คดี เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ

แต่เพียง 4 ดือนถัดมา ก็ตกเป็นผู้ต้องหาอีกครั้งในคดียิงพระ และระหว่างถูกคุมตัวอยู่อีกพื้นที่ ก็ถูกแจ้งข้อหามีเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ทุกคดีเขายืนยันในความบริสุทธิ์ หลายปีที่ตกเป็นผู้ต้องหาชายคนนี้เล่าว่า ทำให้แม่และพี่น้องที่เป็นผู้หญิงทั้งหมดต้องขาดรายได้จากอาชีพรับจ้างจากเสาหลักอย่างเขามาดูแล เพราะไม่มีที่ดินของตนเอง ซึ่งสิ่งที่เขาต้องการที่สุดในเวลานี้คือ การได้รับความเป็นธรรม

 

<"">
 
<"">

แต่เพียง 4 ดือนถัดมา ก็ตกเป็นผู้ต้องหาอีกครั้งในคดียิงพระ และระหว่างถูกคุมตัวอยู่อีกพื้นที่ ก็ถูกแจ้งข้อหามีเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ทุกคดีเขายืนยันในความบริสุทธิ์ หลายปีที่ตกเป็นผู้ต้องหาชายคนนี้เล่าว่า ทำให้แม่และพี่น้องที่เป็นผู้หญิงทั้งหมดต้องขาดรายได้จากอาชีพรับจ้างจากเสาหลักอย่างเขามาดูแล เพราะไม่มีที่ดินของตนเอง ซึ่งสิ่งที่เขาต้องการที่สุดในเวลานี้คือ การได้รับความเป็นธรรม

ทั้งนี้ การละเมิดสิทธิ์ถูกพบว่า เกิดขึ้นมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ในชั้นปฎิบัติ จากการที่รัฐใช้กฎหมายความมั่นคง โดยพบการปฎิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ขณะเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหา การสอบสวน และรวบรวมหลักฐาน ทำให้ผู้ต้องหาและญาติรู้สึกถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมานาน และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ส่งผลให้เหตุรุนแรงไม่สามารถยุติได้

ไทยพีบีเอสพยายามติดต่อแม่ทัพภาคที่ 4 เพื่อสอบถามถึงปัญหาละเมิดสิทธิ์ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงซึ่งถูกระบุว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในชั้นควบคุมตัวมาสอบสวนโดยหน่วยงานความมั่นคง แต่ได้รับการปฎิเสธ 

ขณะที่ข้อมูลงานวิจัย สำนักงานคดีแรงงานภาค 9 ระบุว่า ตั้งแต่ปี2547-2555 มีคดีความมั่นคงส่งถึงอัยการ 4686 คดี แต่อัยการสั่งฟ้องเพียง 907 คดี และมีเพียง 31 คดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิจารณาคดี คือการขาดพยานหลักฐานทำให้มีคดีจำนวนมากที่อัยการยกฟ้อง ระยะเวลาดำเนินคดีที่อาจล่าช้าจากความลำบากในการรวบรวมหลักฐาน ปัญหาการทำงานระหว่างหน่วยงาน การบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจแก่จนเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ และประสิทธิภาพบุคลากรในพื้นที่ที่มีความแตกต่างเชิงอัตลักษณ์สูงกว่าพื้นที่อื่น 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง