เสน่ห์ของหนังขาวดำที่กลับมาเป็นที่นิยมของหนังยุคใหม่อีกครั้ง

Logo Thai PBS
เสน่ห์ของหนังขาวดำที่กลับมาเป็นที่นิยมของหนังยุคใหม่อีกครั้ง

แม้จะถูกมองว่าขาดสีสัน แต่หนังขาวดำกำลังกลับมาเป็นที่นิยมของผู้สร้างหนังยุคใหม่อีกครั้ง ด้วยความสะดวกในการถ่ายทำ และสามารถเน้นความสำคัญตัวละครได้ลึกซึ้งกว่าเช่นเรื่อง อะ ฟิล อิน อิงค์แลนด์ ภาพยนตร์ของ เบน วีทลีย์

อะ ฟิล อิน อิงค์แลนด์ (A Field in England) ภาพยนตร์ที่เล่าถึงภาวะสงครามกลางเมืองของอังกฤษ เดิมถ่ายทำทั้งในแบบสี และขาวดำ ขณะที่เวอร์ชั่นสีทำให้เสื้อผ้า และทัวทัศน์ชัดเจนกว่า แต่เวอร์ชั่นขาวดำกลับช่วยเน้นใบหน้า และอารมณ์ของนักแสดงจึงทำให้ เบน วีทลีย์ ผู้กำกับไฟแรงชาวอังกฤษเลือกฉายเรื่องนี้ในฉบับภาพยนตร์ขาวดำ ซึ่งแม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปครึ่งศตวรรษแล้ว แต่ก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งโดยนักสร้างหนังรุ่นใหม่

ก่อนยุค 70 หนังขาวดำได้รับความนิยมจากนักสร้างหนังไม่แพ้หนังสี ขณะที่หนังเทคนิคคัลเลอร์มักนิยมใช้สำหรับหนังผจญภัย, หนังเพลง หรือหนังตลก แต่หนังดราม่าส่วนใหญ่ยังคงถ่ายทำด้วยฟิล์มขาวดำ กระทั่งหลังยุค 70 หนังแทบทุกเรื่องหันไปถ่ายทำด้วยฟิล์มสีตามความนิยมของผู้ชม หากความสำเร็จของ ดิ อาร์ตทิส (The Artist) ผลงานที่คว้ารางวัลออสการ์เมื่อปี 2555 กลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างหันมาถ่ายหนังขาวดำอีกครั้ง ทั้ง ทาบู (Tabu) หนังดีกรีหมีเงินจากโปรตุเกส, บูลังกาเนียเวส (Blancanieves) ตัวแทนชิงออสการ์ของสเปน หรือ แฟรงค์เก้นวีนีย์ (Frankenweenie) หนังแอนิเมชั่นขาวดำฝีมือของ ทิม เบอร์ตัน

อุปสรรคของการสร้างหนังขาวดำคือทัศนคติของค่ายหนังที่คิดว่าหนังจะไม่เป็น ที่นิยม เช่น ยูนิเวอร์แซล พิกเจอร์ (Universal Pictures) เคยเรียกร้องให้ สตีเวน สปีลเบิร์ก จำหน่ายวิดีโอ ชินดิเลอส์ ลิสท์ (Schindler's List) หนังออสการ์ปี 1993 ในรูปแบบหนังสี หรือ อเล็กซานเดอร์ เพย์น เจ้าของหนัง เนบราสกา (Nebraska) หนังขาวดำที่คว้ารางวัลที่คานส์ในปีนี้ ก็ถูกค่ายหนังตัดงบประมาณเพราะถ่ายแบบขาวดำ ซึ่งเพย์นยืนยันว่าหนังขาวดำเสื่อมความนิยมเพราะรสนิยมของผู้ชมเปลี่ยนไป ไม่ใช่เพราะผู้สร้างหนังไม่ต้องการผลิตออกมา

หนังขาวดำส่วนใหญ่ในปัจจุบันถ่ายทำในโหมดสีด้วยกล้องดิจิตอล ก่อนจะเปลี่ยนเป็นขาวดำในช่วงโพสต์ โปรดักชั่น ซึ่งข้อดีของหนังขาวดำคือไม่ต้องกังวลเรื่องการควบคุมแสงในการถ่ายทำนอกสถาน ที่ เช่นใน มัช อดู อะเบาท์ น็อตติง (Much Ado About Nothing) การดัดแปลงงานเชคสเปียร์สของ จอส วีดอน ผู้กำกับจาก ดิ อเวนเจอร์ (The Avengers) ที่แม้กำแพงบ้านที่เขาใช้ถ่ายทำจะสีสว่างเกินไป แต่เขาก็ไม่จำเป็นต้องทาสีใหม่เมื่อออกฉายแบบขาวดำ เช่นเดียวกับเรื่อง อะ ฟิล อิน อิงค์แลนด์ (A Field in England) ที่อากาศอันแปรปรวนในอังกฤษก็ไม่ทำให้ผู้สร้างกังวลกับการควบคุมแสงเมื่อ หนังสร้างออกมาเป็นขาวดำ

โนอาห์ โบมบาค เจ้าของภาพยนตร์เรื่อง ฟรานเซส ฮา (Frances Ha) ที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับมหานครนิวยอร์กที่ถูกถ่ายทอดในรูปแบบขาวดำทั้ง เรื่อง กล่าวว่าผู้สร้างหนังส่วนใหญ่คิดอยากสร้างหนังขาวดำทั้งนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ให้มุมมองใหม่ๆ สำหรับการเล่าเรื่องที่แตกต่างไปจากการสร้างด้วยหนังสีอย่างสิ้นเชิง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง