นักรัฐศาสตร์หวั่นเกิดเหตุ"ปะทะ"กัน หลังมวลชนประกาศยกระดับการ"ชุมนุม"

การเมือง
11 พ.ย. 56
05:28
57
Logo Thai PBS
นักรัฐศาสตร์หวั่นเกิดเหตุ"ปะทะ"กัน หลังมวลชนประกาศยกระดับการ"ชุมนุม"

นักรัฐศาสตร์เป็นห่วงการชุมนุมทางการเมืองที่อาจเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างมวลชน ชี้แนวทางแก้ปัญหาต้องแก้ด้วยกฎหมายและการเมือง ส่วนกรณีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม การตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภาถือเป็นทางออกที่ดี

การยกระดับการชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ เพื่อกดดันนายกรัฐมนตรี จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันกับตำรวจที่เตรียมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่ม นปช.ที่จัดเวทีออกมาปกป้องรัฐบาล พร้อมรวมพลชุมนุม

รองศาสตรจารย์ยุทธพร อิสรชัย คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้แม้รัฐบาลจะแถลงยืนยันไม่เดินหน้าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความไว้วางใจต่อคนส่วนหนึ่ง ประกอบกับเงื่อนไขอื่นที่เพิ่มเข้ามา ทั้งการเมืองในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ (11 พ.ย.) มีทั้งการประกาศยกระดับการชุมนุม ประการชุมวุฒิสภา การแถลงจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการแถลงสัตยาบันของพรรคร่วมรัฐบาล หรือท่าทีของส.ว.ต่อร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมองว่าไม่มีผลต่อการชุมนุมของกลุ่มคัดค้าน แต่อาจมีผลกับกลุ่มสนุบสนันอย่างกลุ่มนปช. ซึ่งเห็นได้อย่างการชุมนุมเมื่อวานนี้ (10 พ.ย.)

<"">

ขณะที่ การประกาศยกระดับการชุมนุมนั้น ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะว่าจะมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่การปะทะกันของมวลชนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีความรุนแรงเกิดขึ้นรัฐบาลต้องรับผิดชอบ และมองว่าโอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะการแก้ปัญหาการเมืองตามครรลองระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกัน

รศ.ยุทธพรมองว่า หากศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหารที่เป็นผลลบกับไทย มีโอกาสที่ประเด็นนี้จะถูกโยงกับการชุมนุม เป็นไปได้สูง เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลชินวัตรกับสมเด็จฮุนเซ็น จึงไม่อยากให้นำประเด็นการเมืองมาเกี่ยวข้องกับคดีนี้ แต่หากผลการตัดสินคดีออกมาทางที่ดีก็จะปลดล็อคสถานการณ์ไปได้ และไม่เชื่อว่าแม้การตัดสินคดีปราสาทพระวิหารจะจบแล้ว จะมีผลทำให้การชุมนุมจบลงไปด้วย

<"">
<"">

ส่วนการประกาศขีดเส้นตายจากเวทีการชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในเวลา 18.00 น.วันนี้ มองว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการชุมนุม ที่ประเด็นในการเคลื่อนไหวต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เพื่อดึงในมวลชนเข้ามามีส่วนร่วม การขอมติจากมวลชน เพื่อให้การชุมนุมเดินหน้าต่อไป ดังนั้น การชุมนุมในช่วงเย็นนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน อีกทั้งกลุ่มนปช.ก็มีการประกาศให้มวลชนเคชตรียมพร้อมแล้ว

การประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันนี้ รศ.ยุทธพรมองว่า ไม่มีผลต่อการชุมนุมมากนัก เพราะหากกลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เงื่อนไขการประชุมวุฒิสภาเป็นทางออกของการแก้ปัญหา คงไม่มีการประกาศจัดตั้งศาลประชาชนในเวลา 18.00 น. จากเวทีการชุมนุมพรรคประชาธิปัตย์ อีกทั้งการประชุมวุฒิสภานั้นก็คาดว่าจะแล้วเสร็จในเวลา 22.00 น.

รศ.ยุทธพรเห็นว่า แนวทางในการแก้ปัญหาการเมืองขณะนี้มีอยู่ 2 ทาง คือทางกฎหมายและการเมือง ทางกฎหมายคือ ทางวุฒิสภาต้องตัดสินใจดำเนินการปลดล็อคกรณีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม คือ 1. การคว่ำร่างกฎหมาย และส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร 2.รับหลักการเข้ามาพิจารณา แต่ถ้าไม่เห็นด้วยให้ตั้งกรรมาธิการศึกษา และนำไปสู่วาระที่ 3 หากเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีน้ำขึ้นทูลเกล้าฯ, ถ้าไม่เห็นชอบส่งกลับมายังสภาผู้แทนราษฎร, ถ้าเห็นว่าควรมีการแก้ไขก็นำไปสู่การตั้งกรรมาธิการร่วม ซึ่งกรณีนี้มองว่าเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ขณะเดียวกันในช่วงที่ตั้งกรรมาธิการร่วมให้มีการทำประชาพิจารณ์ เพื่อสอบถามความเห็นประชาชนต่อกรณีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อนำไปสู่กระบวนการต่อไป ซึ่งมองว่าเป็นแนวทางที่ดีมากกว่าการคว่ำร่างกฎหมาย


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง