"วุฒิสภา" อภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม-แนวโน้มไม่รับหลักการวาระแรก

การเมือง
11 พ.ย. 56
06:48
70
Logo Thai PBS
"วุฒิสภา" อภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม-แนวโน้มไม่รับหลักการวาระแรก

การประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญทั่วไปเป็นกรณีพิเศษ มีวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่เลื่อนมาจากวันที่ 8 พ.ย.ที่ไม่สามารถเปิดการประชุมได้ เพราะสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งก่อนการประชุม ส.ว.ทั้งสายสรรหา และสายเลือกตั้ง ได้ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าจะคว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่รับหลักการในวาระที่ 1 ขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด ถนนรอบรัฐสภาถูกปิดการจราจรทั้งหมด

วันนี้ (11 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส รายงานว่า ก่อนการเข้าร่วมประชุมวุฒิสภา ได้มีการโต้เถียงกันไปมาถึงที่ ส.ว.บางกลุ่มไม่ได้เข้าร่วมการประชุมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ประธานวุฒิสภาได้นัดประชุมเป็ฯกรณ๊พิเศษในวันที่ 8 พ.ย.ที่แต่ไม่สามารถเปิดการประชุมได้ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบจึงทำให้การประชุมในวันนี้ค่อนข้างล่าช้า
 
ในการประชุม วุฒิสภา ได้มีการหารือถึงกรอบเวลาในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวาระรับหลักการ โดยสมาชิกส่วนใหญ่ขอสิทธิในการอภิปรายอย่างเต็มที่ตามการแสดงเจตจำนงค์ แต่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมถึงกรอบเบื้องต้นจึงจะปิดการอภิปรายลงเพื่อเปิดลงมติรับหรือไม่รับหลักการ ภายใน เวลา 22.00 น.
 
และแม้ว่าที่ประชุมจะเห็นชอบในการเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฏรรมมาพิจารณาก่อนแต่ว่า แต่ก็ใช้เวลาไปไม่น้อยกับการโต้เถียงถึงการปฏิเสธการเข้าร่วมการประชุมสภานัดพิเศษของ ส.ว.บางกลุ่มในวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา และเจตนาในการยื้อเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมาย
 
ก่อนการประชุม นายนิคม ได้ย้ำถึงการยับยั้งหรือคว่ำร่างกฎหมาย โดยเชื่อมั่นในคำมั่นของพรรคเพื่อไทยที่จะไม่หยิบยกร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังพ้นกำหนด 180 วันตามข้อบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องของ ส.ว. กลุ่ม 40 และส.ว.เลือกตั้ง โดยนายประสาน มฤคพิทักษ์ และนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.เลือกตั้ง ที่ต่างก็เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว โดยเชื่อว่าเหมาะสมที่สุด เพราะไม่แน่ใจในการปรับแก้เนื้อหากฎหมายในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการ หากที่ประชุมลงมติรับหลักการในวาระแรก 
 
และหากพิจารณาจากจุดยืนของ ส.ว.แต่ละกลุ่ม มีแนวโน้มที่จะยับยั้ง หรือ คว่ำร่างกฎหมาย แต่ก็มีรายงานว่า ส.ว. เลือกตั้งบางส่วนจะลงมติในแนวยทางรับหลักการร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อที่จะตั้งคณะกรรมาธิการแปรญัตติเพื่อแก้ไขเนื้อหาสาระของกฎหมายหรือยืนตามร่างกฎหมายเดิมตามการเสนอของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
 
แต่ไม่ว่า วุฒิสภาจะเลือกในแนวทางใด ก็ยังไม่เข้าเงื่อนไขของกลุ่มผู้ชุมนุมที่คัดค้านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ที่ได้ขีดเส้นตายให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องตกไปหรือออกจากระบบภายในเวลา 18.00 น.ของวันนี้ (11 พ.ย.)


ข่าวที่เกี่ยวข้อง