โจทย์ท้าทาย "ทีวีดิจิตอล"

เศรษฐกิจ
29 ธ.ค. 56
13:44
141
Logo Thai PBS
โจทย์ท้าทาย "ทีวีดิจิตอล"

การประมูลทีวีดิจิตอลซึ่งสิ้นสุดลงไปแล้ว ด้วยเม็ดเงินที่ใช้ประมูลสูงถึง 50,000 ล้านบาท โจทย์ใหญ่หลังจากนี้คือ การบริหารจัดการทีวีดิจิตอล ที่จะทำให้อย่างไรให้เป็นทางเลือกใหม่ สอดรับกับความจำเป็นพื้นฐาน ในการรับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

การประมูลทีวีดิจิตอลตลอดทั้ง 2 วันที่ผ่านมามีความคึกคัก และสร้างปรากฎการณ์ที่น่าตกใจของราคาประมูลช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 4 ประเภท มีการแข่งขันราคากันสูงมาก โดยเฉพาะช่องรายการข่าว และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน หรือ SD ซึ่งมูลค่ารวมของการประมูลคือ 50,862 ล้านบาท เม็ดเงินมหาศาลจึงถูกตั้งคำถามถึงการอยู่รอดของทีวีดิจิตอล ท่ามกลางต้นทุนที่สูง ทั้งการลงทุนเทคโนโลยี และการจ้างบุคลากร

นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล ที่ปรึกษานายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ในช่วงแรก ๆ อาจมีความตื่นตัวในการรับชมทีวีดิจิตอล ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของทีวีดิจิตอล คือ ประชาชนที่รับชมช่องฟรีทีวี ผ่านเสาอากาศและหนวดกุ้ง ที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 40 ที่เหลือร้อยละ 60 คือผู้ที่รับชมผ่านทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี พร้อมบอกว่าผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิ์ดำเนินกิจการทีวีดิจิตอลบางรายผันตัวมาจากทีวีดาวเทียม ซึ่งการที่จะทำให้ทีวีดิจิตอลแตกต่างจากทีวีดาวเทียม คือ การผลิตรายการที่มีคุณภาพทัดเทียมฟรีทีวี

<"">
<"">

ขณะที่ นายสิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระ เห็นว่า โทรทัศน์จะไม่มีประโยชน์หากขาดเนื้อหาที่ดี ซึ่งนอกจากทีวีดิจิตอลในเชิงพาณิชย์ 24 ช่อง ยังมีช่องทีวิดิจิตอลเพื่อประโยชน์สาธารณะเกิดขึ้นอีก 24 ช่อง รวมเป็น 48 ช่อง

สอดคล้องกับนางสุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ศึกษากฎหมายนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจ ว่าไม่ควรที่จะมองแต่ด้านเทคโนโลยี จากการเปลี่ยนผ่านทีวีสู่ระบบดิจิตอล แต่ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านหน้าจอโทรทัศน์ เมื่อทีวีเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น ก็จะเกิดกระตุ้นการบริโภค นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดความขัดแย้งในสังคมเพิ่มขึ้นได้ เพราะต้องยอมรับว่าทีวีดิจิตอลบางช่องก็มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มทุน และกลุ่มการเมือง


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง