ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 20 สาขาอาชีพ

เศรษฐกิจ
29 มี.ค. 59
20:44
5,098
Logo Thai PBS
ครม.เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 20 สาขาอาชีพ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ รวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพ

วันนี้ (29 มี.ค.2559) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ รวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนี้

กลุ่มอุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
สาขาอาชีพ (1) พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 360 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 430 บาท
(2) พนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 370 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 445 บาท
(3) ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 410 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 490 บาท
(4) ช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท

กลุ่มอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
สาขาอาชีพ (5) ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(6) ช่างเชื่อมมิก – แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(7) ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่งอจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(8) ช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท

กลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์
สาขาอาชีพ (9) ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(10) ช่างเทคนิคพ่นซีลเลอร์ตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(11) พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
(12) พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท

กลุ่มอุตสาหกรรม อัญมณี
สาขาอาชีพ (13) ช่างเจียระไนพลอย ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 420 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท
(14) ช่างหล่อเครื่องประดับ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 420 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท
(15) ช่างตกแต่งเครื่องประดับ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 420 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท
(16) ช่างฝังอัญมณีบนเครื่องประดับ ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 420 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท

กลุ่มอุตสาหกรรม โลจิสติกส์
สาขาอาชีพ (17) นักบริหารขนส่งสินค้าทางถนน ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 415 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
(18) ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 360 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 430 บาท
(19) ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 350 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 420 บาท
(20) ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 1 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 340 บาท และระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 410 บาท

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือจะทำให้แรงงานไทยมีรายได้ที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้แรงงานไทยมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ใน 2 รูปแบบ คือรูปแบบที่ 1 การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

และรูปแบบที่ 2 การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง