นายกฯย้ำปฏิรูปประเทศใช้เวลานานไม่เสร็จภายใน 2 ปี

การเมือง
6 พ.ค. 59
21:08
232
Logo Thai PBS
นายกฯย้ำปฏิรูปประเทศใช้เวลานานไม่เสร็จภายใน 2 ปี
นายกฯย้ำปฏิรูปอยู่ในระยะที่ 1 เน้นแก้ไขความขัดแย้งต้องใช้เวลานานในการปฏิรูปประเทศไม่เสร็จภายใน 2 ปี ระบุขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหวั่นกระทบการลงทุน ขอเอ็นจีโอสอบถามข้อเท็จจริงกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลก่อนส่งเรื่องร้องเรียนไปยังต่างชาติ

วันนี้ (6 พ.ค.2559) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 20.15 น.

พิธีกร: สวัสดีค่ะ ต้อนรับคุณผู้ชมเข้าสู่รายการคืนความสุขให้คนในชาติ พบกันคืนวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม2559 ดิฉัน เขมสรณ์ หนูขาว รับหน้าที่ผู้ดำเนินรายการในวันนี้นะคะ คุณผู้ชมคะ เป็นประจำทุกสัปดาห์ ค่ะ ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะมีโอกาสพูดคุยกับพี่น้องประชาชน ผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาตินะคะ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีหลายประเด็นค่ะที่เราได้เห็นรัฐบาล โดยท่านนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายให้กับคณะรัฐมนตรี ให้กับคณะทำงานในหลายเรื่องนะคะ และในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความสำคัญของปวงชนชาวไทย เป็นวันสำคัญของชาติไทย วันฉัตรมงคล วันที 5 พฤษภาคม ซึ่งในวันนี้นะคะ ดิฉันจะมีโอกาสพูดคุยกับท่านนายกรัฐมนตรี ในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ค่ะ ซึ่งขณะนี้ดิฉันได้นั่งอยู่กับท่านนายกรัฐมนตรีแล้วนะคะ ท่านน่ายกฯ คะ สวัสดีค่ะ

นายกรัฐมนตรี: สวัสดีครับ

พิธีกร: ก่อนอื่นขออนุญาตพูดถึงวันสำคัญของปวงชนชาวไทยนะคะ วันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญ ที่พสกนิกร จะได้มีโอกาสแสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยากจะให้ท่านนายกรัฐมนตรี พูดถึงความสำคัญของ “วันฉัตรมงคล” ค่ะ

นายกรัฐมนตรี: ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วนะครับว่าวันสำคัญวันนี้ก็เป็นวันสำคัญของของประเทศไทย ของคนไทยทุกคนนะครับ ก็เกิดมาตั้งแต่ปี 2493 ก็เห็นว่ายาวนานมามากแล้วนะครับ ในวันนี้ วันสำคัญวันนี้นั้นมีหลายอย่างด้วยกันนะครับ อย่างแรกก็คือเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มี พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ทรงรับสั่งว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แล้วก็ทำให้พสกนิกรชาวไทยมีความอยู่เย็น เป็นสุขนะครับ ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร มาจนทุกวันนี้

แล้วที่สำคัญอย่างยิ่ง ปีนี้เป็นปีมหามงคลด้วยในการเฉลิมฉลอง 70 ปีแห่งการครองราชย์สมบัติ ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นะครับ รัฐบาลอยากจะขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้ช่วยกันกระทำความดี น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านด้วยการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณค่าในสั่งคมและ “รู้ รัก สามัคคี” มีคุณธรรม จริยธรรมนะครับที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็ขอให้น้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยยึดถือแนวทางสายกลาง และประพฤติตนตามแบบอย่างของพระองค์ ที่ทั้งชาวไทย และชาวโลกได้ประจักษ์นะครับ ได้ให้การยอมรับ และได้มีการกล่าวขานว่าทรงเป็นแบบอย่างของ กษัตริย์ผู้พอเพียงนะครับ

พิธีกร: อยากให้ท่านต่อเนื่องถึงเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนะคะ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำเนินงาน มาใช้ในการดำเนินชีวิตนะคะ อย่างโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ได้น้อมนำหลักปรัชญานี้มาใช้ในการดำเนินงานของโรงพยาบาลด้วย ขออนุญาตให้ท่านนายกรัฐมนตรี เล่าถึงเรื่องนี้หน่อยค่ะ

นายกรัฐมนตรี: ผมก็เรียนว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ได้กับทุกกิจกรรมนะ ก็แล้วแต่ว่าแต่ละหน่วยงานจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรนะครับ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในการใช้ในการบริหารงานของโรงพยาบาล โดย ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ (กรุงเทพฯ) นะครับ ซึ่งเป็น “ศูนย์เฉพาะทางของโรคเบาหวานและไทรอยด์” วิธีการที่ใช้ 3 อย่างก็คือ พอประมาณ, มีภูมิคุ้มกัน, มีเหตุมีผล นี่นะ ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ ความรู้ และคุณธรรมก็ได้นำ มาใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุข ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ผ่านมา สร้างภูมคุ้มกันที่ดีให้กับประชาชนนะครับ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมานั้น มีการพัฒนาการบริหารและการทำงานของตัวเอง ทั้งองค์กร แล้วก็บุคคลากรในหน่วยงาน อันที่สองก็คือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่คิดค้น สั่งสม ไว้ให้กับบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ ไม่ได้ทำเฉพาะในโรงพยาบาล ทำทั่วประเทศ อันที่สามก็คือเป็นโรงพยาบาลภาค เอกชน ที่ทำงานประสานกับ สปสช. ในการฝึกอบรมบุคลากรภาครัฐ


ยกตัวอย่างเช่น “องค์ความรู้”การดูแลปัญหาแผลที่เท้าเนื่องจากเบาหวาน เบาหวายเป็นโรคที่คนไทยเป็นมากในขณะนี้นะ ต้องช่วยลดอัตราลงไปให้ได้ การเป็นนะครับ การตัดขาถึง 80% นี่อันตรายมาก ผู้ป่วยเบาหวานนั้นคือไม่ต้องพิการนะ เราต้องหาแนวทางปฏิบัติ คือป้องกันที่เหมาะสม ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขนะผมว่านะ แล้วอีกประการหนึ่งก็คือการช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลให้กับประเทศ กับประชาชนอย่างมหาศาล

ข้อคิดที่ผมคิดว่าท่านได้นำมาใช้ก็คือ การดำเนินงานตาม “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แบ่งปัน + มีจริยธรรม มอง “ผลตอบแทน” ที่ได้รับก็คือความยั่งยืนขององค์กร คือไม่ใช่ว่าได้มาก ก็อยู่ได้ไม่นานหรอก ถ้าดูแลประชาชนด้วย อะไรด้วย ก็ได้รับความนิยมชมชอบแล้วก็จะอยู่ได้นานนะ ธุรกิจก็อยู่ได้ ทำกำไรได้ตามสมควร สมเหตุสมผล ตั้งอยู่บนคุณธรรม แล้วก็จะทำให้อยู่คู่สังคมไทยไปได้อีกนานเท่านานนะครับ

หลักการอีกอันที่ผมเห็นเขาใช้อยู่ก็คือ “กำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของการทำงาน” ผมอยากให้ใช้ในทุกกิจการเลยนะ โดยเฉพาะในช่วงนี้นะที่ประเทศชาติกำลังมีปัญหาอยู่นี่ แม้จะอยู่ในภาคเอกชน ในการทำธุรกิจต่างๆ นั้น อยากจะให้ทุกคนได้สร้างความภาคภูมิใจ ให้บุคลากรในองค์กร ไม่ใช่ทุกคนก็ทำงานไปวันๆ หนึ่งเพื่อจะหวังเงินเดือน หวังเงินโบนัส ไม่ใช่ ต้องมองประเทศชาติเป็นหลักด้วย แล้วก็ทำอย่างไรประเทศชาติเราจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีนะ ในช่วงนี้ต้องใช้มากเลยล่ะ ในการที่จะทำยังไงให้ประเทศชาติอยู่รอด ธุรกิจอยู่รอด ถ้าธุรกิจอยู่ไม่รอด ตัวเองก็ไม่ได้เงินเดือน เพราะงั้นทุกอยากจะได้เงินเดือนสูง

แต่สถานการณ์ไม่อำนวยขณะนี้ ก็ต้องสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกันไง บุคลากรในหน่วยงานไหน บริษัทไหนก็ต้องคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของเหมือนกันนะในทางพฤตินัยนะ ก็คือร่วมมือกัน พูดจาหารือร่วมกัน ทำนองนี้ ก็ทำให้ไปได้เป็นระยะยางยั่งยืนหน่อยนะครับ ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือกัน มุ่งหวังแต่ประโยชน์ ต่างคนต่างอยากได้ทั้งหมด ทำให้องค์กรเสียหาย แล้วก็ไม่ยั่งยืน อยากให้ทุกคนนั้นทำงานอย่างมีความสุข มีมากก็ได้มาก มีน้อยก็ร่วมกันเสียสละ ได้น้อยบ้างวันหน้าก็เข้มแข็งเอง ทุกอย่างก็เพิ่มขึ้นเอง เพราะงั้นความสุขนี่สำคัญนะ เขาบอกแล้วว่าการวัดความเจริญเติบโตของประเทศนี่ ถ้าวัด DDP อย่างเดียว ตัวเลขอย่างเดียว ไม่พอ วันนี้ต้องคำนึงถึงความสุข ความพึงพอใจของประชาชนด้วย ความสุขนี่ซื้อไม่ได้นะ ต้องมาจากใจของตัวเองใช่ไหมล่ะ ไม่ว่าจะจน จะรวย ซื้อไม่ได้หรอก ความสุขอยู่ที่ใจของตัวเองนะครับ ความก้าวหน้าของกิจกรรมหลัก รอง เสริม แต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน

พิธีกร: ต้องใช้ใจในการทำงานแล้วก็สร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินงานของแต่ละสถาบัน แต่ละองค์กรด้วยนะคะ ทีนี้ขออนุญาตมาดูเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเราค่ะ ท่านคะ ก็ต้องยอมรับว่ามีปัญหาหลายเรื่องที่เป็นปัญหาสะสมมานานบางเรื่องอาจจะต้องใช้เวลาในการแก้ไข แต่ขออนุญาตมาดูเรื่องใกล้ๆ ตัวนะคะที่รอคอยการแก้ไขอยู่ เรื่องของแฟลทดินแดงที่ทางรัฐบาลจะมีการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ปรับภูมิทัศน์ เรื่องของขยะมูลฝอย แฟลท ดินแดงตอนนี้มีความคืบหน้าไปถึงไหนคะ คนในชุมชนร่วมมือกับรัฐบาลยังไงบ้างคะ

นายกรัฐมนตรี: คือแรกๆ ก็มีข้อขัดแย้งกันมากพอสมควรนะ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอะไรทำนองนี้ เราก็ใช้ความอดทนการสร้างความเข้าใจนะ ว่าวันนี้รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้านนะครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือปัจจัย 4 คือในเรื่องของการมีที่อยู่อาศัย ที่แข็งแรง ทันสมัย วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว อยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้หรอก ทรุดโทรมอย่างนี้ไม่ได้ วันนี้ขอบคุณนะครับ ชาวแฟลทดินแดงนะ ชุมชนดินแดง วันนี้ได้รับการยอมรับในการทำโครงการนี้ เห็นด้วยประมาณสัก 87% หรือมากกว่านั้นแล้วนะครับ แล้วก็ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนดินแดงแล้ว ส่วนมากนะครับ มีส่วนน้อยแหละนะ ก็จะเป็นเรื่องของการปรับปรุงพื้นที่ ปรับภูมิทัศน์ ปรับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยเดิมให้ดีขึ้น เพราะคับแคบแล้วก็ทรุดโทรม แล้วมีโอกาสที่จะพังนะ เพราะบางอันไม่เข้มแข็ง หลายสิบปีมาแล้ว เราจะดูเป็นการนำร่องสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง มีหลายพื้นที่นะที่จะทำแบบนี้

สำหรับที่ดินแดงนี่เป็นตัวอย่างคือว่ามีที่พักอาศัยทั้งหมด 20,292 หน่วย แล้วก็จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกันนะครับ ส่วนแรกก็ผู้อาศัยเดิม 11 อาคาร 6,546 หน่วย สำหรับผู้มีมาอาศัยใหม่ก็ได้แก่ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการต้องคำนึงถึงเขาด้วยนะครับ 25 อาคาร อีก 13,746 หน่วย รวมจะมีผู้ได้รับประโยชน์ จากโครงการนี้ประมาณสัก 30,000 คนได้

มีแผนดำเนินการ 8 ปี 59 - 67 ทั้งรื้อถอน ก่อสร้าง เคลื่อนย้าย ค่าเช่าเดิม 300 – 3,950 บาท ใหม่ก็จะเป็น 1,265 – 4,305 บาท อันนี้ก็จะรวมไปทั้งค่าเช่าเดิมบวกกับค่าบริหารจัดการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ภาษีโรงเรือนต่างๆ นะครับ “ครบวงจร” ไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ ทุกอย่างต้องมีการปรับปรุงทั้งนั้นแหละ แล้ววันนี้โลกก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะ ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นนะ เราพยายามจะลดภาระให้มากที่สุด เราจะเริ่มก่อสร้างโครงการแรก สิงหาคมนี้ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณสัก 18 เดือน นะครับ

พิธีกร: ส่วนเรื่องของปัญหาขยะมูลฝอยเป็นอีกหนึ่งเรื่องใกล้ๆ ตัวที่รอคอยการแก้ไขปัญหานะคะ ท่านคะ

นายกรัฐมนตรี: อันนี้มันปัญหาใกล้ตัวอย่างที่ว่านะ แต่ทุกคนก็มุ่งหวังที่จะให้รัฐ หรือให้หน่วยงานเขาแก้ไข ต้องแก้ไขด้วยตัวเองด้วย ทั้งตัวเอง ทั้งครอบครัวนะครับ


วันนี้ผมอยากจะกล่าวเรื่องแรกก่อน ที่รัฐบาลทำขณะนี้ก็คือ“ระยะแรก” เราจะเร่ง กำจัดขยะมูลฝอย ที่ตกค้าง มีการสะสมแล้ว 20 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 ล้านตันนะ คิดเป็นร้อยละ 66 โดยจะมี การกำหนดพื้นที่รวบรวมของเสียอันตราย 83 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ ถูกหลักวิชาการ กำจัดแล้ว 174 ตัน ทั้งหมดมี 250 ตัน ต่อไปก็ใช้รูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม เป็น Cluster อะไรต่างๆ ในแต่ละจังหวัด เพื่อช่วยจัดการขยะ ที่เพิ่มขึ้นอีก 2.18 ล้านตัน


ในระยะต่อไป เราจะ ทำเป็นแผนแม่บทนะ ก่อนจะทำแผนแม่บทก็จะทำระยะที่ 1 ก่อน เดี๋ยวผมพูดนิดหนึ่ง ในเรืองการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ นั้น แผนแม่บทตั้งแต่ พ.ศ. 2559 - 2564 นะ 6 ปี เป้าหมายคือจัดการขยะชุมชน ให้ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ภายในปี 64 เพราะสะสมมานาน แล้วก็เร่งกำจัดขยะตกค้าง ที่เหลือ “ทั้งหมด” ภายในปี 62 แล้วก็ อปท. สามารถคัดแยกขยะ ของเสียอันตราย ตั้งแต่ “ต้นทาง” มากกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 64


แล้วประเด็นค่าบริการวันนี้ มีการดำเนินการตั้งแต่การคัดแยก จัดเก็บขนย้าย ทำลายเป็นต้น เพราะงั้นอาจจะมีการพิจารณาในการปรับค่าจัดการขยะจาก 20 บาท ให้เหมาะสม 20 บาทมานานแล้วไง ทุกคนก็เรียกร้อง นี่โน่น แต่ทุกอย่างต้องอาศัยงบประมาณทั้งสิ้น เราก็พยายามทำยังไงไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตัวเองก่อน ตัวเองต้องลดขยะ ลดการใช้ถุงพลาสติกบ้าง อะไรบ้าง ขยะตัวเอง มีการแยกขยะ ในบ้านของตัวเอง หรือของชุมชน มีถังขยะที่เพียงพอ แยกประเภทได้ การขนย้ายขยะ ก็ต้องเพิ่มรถขยะ เพิ่มเจ้าหน้าที่ เสร็จแล้วพอการบริหารจัดการขยะ ตอนท้ายก็คือทำอย่างไรขยะนี้จะเป็นประโยชน์ ระยะสั้นหรือก็เอาไปทำถ่าน ทำเชื้อเพลิง ไปทำปุ๋ย ไปทำอะไรต่างๆ ต้องสร้างมูลค่า จากขยะเหล่านี้ให้ได้ วันหน้าเราก็คาดหวังว่าจะต้องมีโรงงานพลังไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งวันนี้ยังไปไม่ได้มากนัก เพราะว่าประชาชนยังไม่เข้าใจ แล้วก็เกรงกลัวเรื่องผลเสีย จากโรงขยะ เรื่องความสกปรก อะไรแล้วแต่ ผมอยากให้ติดตามดูนะ วันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เยอะแยะไป เครื่องจักรอะไรต่างๆ ก็ทันสมัยขึ้น รัฐบาลไม่ได้มุ่งหวังอะไรจากการกำจัดขยะ แต่เป็นไปสร้างขยะในจิตใจคนต่อไป คือทุกคนไม่สบายใจไม่มีความสุขนั้นแหละเขาเรียกว่าขยะในใจ ผมไม่อยากให้เกิดสิ่งเหล่านี้นะ

พิธีกร: ประชาชนให้ความร่วมมือเข้าใจในเรื่องของการร่วมมือกับรัฐบาลแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยกันขนาดไหนคะท่าน

นายกรัฐมนตรี: ตอนนี้ก็ดีขึ้นมากนะครับ ผมก็เร่งรัดไปทั้งภาคประชาชน ขอความร่วมมือนะ บังคับมากไม่ได้ อย่าหาว่าผมใช้แต่อำนาจบังคับเขา ผมก็ให้กระทรวง มหาดไทย โดย อบท. ซึ่งจริงๆ แล้วก็ กทม. ด้วยนะ ในกรุงเทพฯ เขาเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องขยะอยู่ มีงบประมาณแต่ไม่เพียงพอ ทีนี้ก็จะของบประมาณรัฐบาล อันนี้ถ้าขอไปเรื่อยๆ จากต้อนทางคือประชาชนไม่รู้จักการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้น แล้วไม่แยกขยะ คราวนี้จะไปโทษประชาชนก็ไม่ได้ ต้องโทษเจ้าหน้าที่องค์กรที่รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยเพราะต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ เขาก็บอว่ารายได้เขาน้อย ในการเก็บค่าขยะใช่ไหม มาดูซิว่าจะทำอย่างไร เท่าไร วันนี้ผมก็อยากให้ ผมได้สั่งงานไปแล้วล่ะ ให้กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีมหาดไทย ไปหาวิธีการดำเนินการมาในช่วงนี้นะ ว่าทำยังไง จะใช้งบประมาณบางส่วนในพื้นที่บางพื้นที่ก่อนได้ไหม เป็นการนำร่องให้กับคนที่เห็นว่า ถ้าทำแบบนี้จะดีอย่างนี้ แต่ค่าใช้จ่ายควรจะเป็นเท่านี้ไหม อะไรทำนองนี้ ก็ไปหาทางดูอยู่นะ เรื่องของกฎหมายด้วย กฎหมาย พรบ. งบประมาณมีอยู่แล้วนะครับ ต้องใช้เงินอุดหนุนมากพอสมควรนะวันนี้ เพราะไม่พอไง

พิธีกร: ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนก็เป็นเรื่องสำคัญ เป็นข่าวหน้า หนึ่งหลายเรื่องนะคะ เรื่องของประชาชน ก็อาจจะรัดเข็มขัดหน่อย ในช่วงนี้ไม่อยากจะจับจ่ายใช้สอย เรื่องของการส่งออก ตอนนี้เราก็ได้ยินนโยบายของรัฐบาลหลายๆ เรื่อง ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของ SMEs เรื่องของ Start-up Thailand 4.0 บิซคลับ (BIZ Club) อยากให้ท่านนายกรัฐมนตรีขยายความตรงนี้นิดหนึ่งนะคะ

นายกรัฐมนตรี: คือเราต้องมองก่อนว่าโลกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรนะในด้านเศรษฐกิจ โลกวันนี้เขาใช้คำว่า Connectivity ความเชื่อมโยง ความเป็นเศรษฐกิจเดียว แล้วก็การอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นหลักการในการ นำร่องในการพัฒนาประเทศนะ เราก็ต้องเอาเขามาพิจารณานะครับว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง เพราะงั้นวันนี้ ถ้าเราจะปรับประเทศเราให้เป็น Thailand 4.0 ก็คือการการที่เราจะมีทั้งเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ประเทศเราเข้มแข็งขึ้น มีรายได้มากขึ้น จำเป็นต้องขยับทุกอย่างนะครับ แต่ปัญหาของเราก็คือว่าเรามีเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งผมก็ชื่นชมนะ ทุกคนอดทน ทำมาโดยตลอด ขาดทุนก็ทำ วันนี้ก็ดูซิว่าอันไหนมีศักยภาพเราก็ส่งเสริมให้ตรงซะ เสร็จแล้วเราก็ต้องไปมองเตรียมรับอนาคตก็คือสังคมผู้สูงอายุอีกต่างหากใช่ไหม ในเรื่องของการปัญหาจากภัยแล้งอีกใช่ไหม โลกเปลี่ยนแปลงอีก ต้องเอาทุมิติมาดู เพราะงั้นต้องไปสู่ Thailand 4.0 เพราะวันนี้อีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนสูงอายุมากขึ้น ก็ต้องมีงบประมาณในการดูแลคนสูงอายุ ใช่ไหม


ประการต่อไปที่สำคัญก็คือว่าเศรษฐกิจนี่ไปด้านเดียวไม่ได้ เพราะราคาของพืชผลเศรษฐกิจตกลงทุกประเทศในโลกนี้ ที่ผลิตนะ ก็ต้องไปสู่การสร้างนวัตกรรมกรรมการใช้เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือนะครับในการที่จะทำให้มีมูลค่าสูงขึ้น การออกแบบใหม่ อะไรใหม่ทั้งหมด เรียกว่าการพัฒนาในเรื่องของรูปแบบนะในการที่จะแข่งขันในเวทีโลก เพราะงั้นอันนี้แหละคือ Thailand 4.0 ก็ต้องทำหลายอย่างด้วยกันนะ ทั้งเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม ทั้งการใช้เครื่องจักร เครื่องจักรเบา เครื่องจักรหนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วย ที่ผ่านมา 3.0 ไง ช่วงนั้นเราพัฒนาอย่างมากเลยนะ 10-20 ปีที่ผ่านมา เรามีการปรับโครบสร้างเศรษฐกิจใหม่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากมาย วันนี้ก็ต้องมาดูซิว่า ที่ผ่านมามีผลเสียอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม เราก็ต้องมาดูใหม่ว่า 4.0 เราจะทำยังไง


อีกอันหนึ่งที่เขามองกันอยู่ขณะนี้ก็คือโลกสมัยใหม่ไม่ได้มาเรื่องเครื่องจักรเครื่องมือแบบนี้อีกทั้งหมด ต่อไปจะเป็นเรื่องของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ คือแข่งขันกันทำเกี่ยวกับเรื่องการใช้ ไอที ระบบ ไอซีที มากขึ้น วันนี้เราก็มี สตาร์ท-อัพ หลายอย่างที่ผลิตมาวันนั้นตั้งหลายร้อยกิจการนะ ของเด็กๆ น่ะผู้จบใหม่บ้าง อยู่ต่างประเทศบ้าง เขากล้าที่จะมาเริ่มทำธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องการใช้สมอง ใช้ปัญญา แข่งขัน ผมให้กำลังใจเขานะ


ในส่วนของอีกอันหนึ่งที่จะต้องเดินหน้าไปด้วยก็คือการสร้างความมั่นคง ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ความมั่นคงในทุกมิตินะ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยอะไรด้วย ไปคู่ ควบคู่ไปด้วย


อีกอันที่ถามเมื่อกี้ก็คือเรื่อง บิซ คลับ ใช่ไหม ก็เป็นเครื่องมือเท่านั้นเอง ในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้าในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นสินค้าโอท๊อป สินค้าชุมชนสินค้า SMEs เหล่านี้ ต้องทั้งพัฒนา และประชาสัมพันธ์ แล้วก็รับรองมาตรฐานให้ได้ แล้วก็จดลิขสิทธิ์ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราอาจจะปล่อยปละละเลย มาเป็นเวลานาน


วัตถุประสงค์เราก็คือ เราอยู่คนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว เราก็ต้องสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้ได้นะครับ เพื่อจะสร้างรายได้ให้ประชาชนฐานราก ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากแก้วนะ จริงๆ เป็นรากแก้ว การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจภายในนี่เจริญเติบโตขึ้น ภายนอกก็ย่อมเข้มแข็งตามไปไง ประเทศเราก็มีรายได้จากการส่งออกมากขึ้น ในสินค้าที่แข่งขันเขาได้รูปแบบใหม่ๆ เป็นนวัตกรรม ทำนองนี้นะ แม้กระทั่งจากภาคการเกษตรก็ตามแล้วภาคอุตสาหกรรมก็ต้องส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้นนะครับ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะพื้นที่ทั่วไปในวันนี้ หรือพื้นที่ที่เป็นเขตอุตสาหกรรม พื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่าไปกังวลว่าทำไปแล้วจะมีใครลงทุน เราเตรียมไว้เพื่ออนาคตยังไง วันนี้เขาจะลงทุน ก็ลงทุน เขาไม่ลงทุนก็แล้วแต่เขา เพียงแต่ว่าเราต้องสร้างแรงจูงใจให้เขาให้ได้ เหล่านี้เป็นเครื่องมือทั้งสิ้น เรื่องกฎหมาย เรื่องสิทธิประโยชน์ เรื่องอะไรต่างๆ มากมายนะมี่ใช่ว่าเออจะทำอะไรก็ทำได้ มันขึ้นอยู่กับเขาด้วย บังคับเขาไม่ได้ เราก็ต้องเตรียมประเทศเราให้พร้อมนะครับ


วิธีการ สำคัญอีกอันหนึ่งที่เกี่ยวข้องเพราะต้องเริ่มจากภายในก่อน ถ้าภายในก็คือชุมชนเข้มแข็ง อำเภอ ตำบล ใช่ไหม แล้วไปสู่จังหวัด กลุ่มจังหวัดไปสู่ภูมิภาค เข้มแข็งก็จะส่งต่อ ไปถึง มีผลต่อภูมิภาค แต่ละภูมิภาคด้วย มีความแตกต่าง มีสินค้าที่มีราคา ไม่แย่งตลาดกัน เสร็จแล้วก็ไปเชื่อมโยงกับ CLMV รอบบ้านเรา แล้วไปสู่ ประชาคมอื่นๆ อาเซี่ยน หรอว่ายุโรป EU หรือโลกตะวันตกอะไรก็แล้วแต่ เราจัดกลุ่มไว้หมดแล้ว วันนี้ก็มีความก้าวหน้าตามลำดับนะ เพราะงั้นเครือข่าย บิซ คลับ นี่นะ จะประกอบไปด้วยนักธุรกิจ องค์กรต่างๆ สถาบันการเงิน ตัวแทนมหาวิทยาลัยร่วมมือกันทำงานสร้างเครือข่ายทางธุรกิจนะ


เราก็แยกออกเป็น 5 ประเภท ให้ครบถ้วน


อันแรกคือกลุ่มสินค้า OTOP และวิสาหกิจชุมชน อันนี้ผมพูดไปแล้วนะ วิสาหกิจชุมชน นี่ การประกอบการโดยภาคประชาชน การส่งเสริมของรัฐบาล หรือภาคธุรกิจ โดยที่ไม่หวังผลกำไร นะ ย้ำ คือไม่หวังผลกำไร มีผลกำไรที่ออกมาก็คือไปเป็นของประชาชน ประชาชนเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทต่างๆ ที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ เยวจะไม่เข้าใจ ว่าเอื้อประโยชน์เขาอีก ผมต้องการเอาเขามาเอื้อประโยชน์เรา เขามาทำตรงนี้ เพราะเขารู้การตลาด เขามีความเชื่อมโยงอยู่แล้ว ประชนนี่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องการตลาด เทรดดิ้ง ไม่ค่อยรู้เลย ผลิตอย่างเดียว ปลูกอย่างเดียว ขายไม่เป็น วันนี้เขาจะได้มีทางเลือกระหว่างประชารัฐของเรา หรือว่า บิซิเนส ชุมชนของเราอันที่สองเรื่องพ่อค้าคนกลาง อันที่สามก็คือธุรกิจขนาดใหญ่ ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน


จะได้แก้ปัญหาคำว่าผูกขาด เสียทีไว้ใจกันบ้างนะครับ ที่ผ่านมา ก็ผ่านมาแล้วล่ะ วันนี้ก็ต้องมองว่าประเทศเราเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยใช่ไหม การค้าเสรี ใครมีทุนเขาก็ทำ แต่ทำอย่างไรคนเหล่านั้นจะกลับมาดูแลคนที่มีรายได้น้อยในประเทศนะครับ คือเรียกว่าเจริญเติบโตจากภายใน พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งแล้ว ระเบิดจากข้างใน


กลุ่มที่สองคือ กลุ่มค้าส่ง-ค้าปลีก อันนี้ก็มีปัญหามากพอสมควร ต้องใช้กฎหมายมาดูด้วย การปรับปรุง พรบ. การค้าต่างๆ ให้ทันสมัย แล้วก็ดูแลเรื่องอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ถูกกฎหมาย นอมินี บ้าง อะไรบ้าง หรือเบี้ยบ้ายรายทาง เอื้อประโยชน์ อะไรเหล่านี้ ต้องดูให้หมดเลยนะ ไม่งั้น ค้าส่งค้าปลีกเขาก็มีปัญหาอีก ประชาชนก็เดือดร้อน เพราะค้าส่งค้าปลีกเขาต้องกากำไรมากขึ้น โดยบางอย่างต้องไปเสียเงินนอกระบบอะไรทำนองนี้ ต้องไม่เกิดขึ้น ประชาชนก็จะได้บริโภคสิ่งของที่ถูกลง ไม่งั้นก็มาทดแทนด้วยการขึ้นราคา ไม่ได้


อันที่สามคือกลุ่มผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย อันนี้ผมบอกแล้วไง ยังไงก็ต้องมีตัวแทนจำหน่าย ผลิตแล้วต้องมีคนขาย ทีนี้ถ้าประชาชนมาอยู่ในการขายเอง ในช่องทางนี้ก็จะดีกว่าไหมล่ะ ก็ลองเอาไปคิดดูแล้วกัน ประชาชนที่อาจจะมีคนไม่เข้าใจ อาจจะมีคนไม่หวังดี เขียนให้สื่อเข้าใจผิดๆ แล้วบิดเบือนอะไรทำนองนี้ ยังมีอยู่นะครับ ขอร้องเถิดนะ เรากำลังทำให้ประเทศอยู่


อันที่สี่คือกลุ่มบริการท่องเที่ยวและโรงแรมที่พัก และได้แก่การให้การบริการ การไปดูเรื่อง นอมินี ไปดูเรื่องสินค้าที่ปลอมปน หรือ มัคคุเทศก์ ดูหมดทุกอัน เพราะปัญหาเยอะมาก ก็รื้อทุกอัน กฎหมายทุกกฎหมายก็ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่ก็ต้องปรับตัวเอง เรื่องการท่องเที่ยววันนี้ถือว่าทำรายได้ให้ประเทศลำดับแรกเลยนะ ที่ทำให้เราอยู่ได้วันนี้ เพราะเงินไม่ได้ไปไหนนี่ มีคนกล่าวว่าเงินกลับไปที่โน่นที่นี่ แต่ทั้งหมดเขาใช้เงินในประเทศนี้ ในเรื่องของการชำระเงินทางบัตรอะไรของเขา ที่ว่ามีคนมาทำ ต่างประเทศมาทำ ผมเช็คแล้วล่ะ ไม่ใช่หรอก เพรายังไงก็อยู่ในประเทศไทย แต่เรื่องการประกอบการ เขาก็ต้องมีรายได้ของเขา ก็เป็นส่วนน้อยนะ ผมคิดว่าเป็นธรรมดา นะครับ แต่ผมให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงท่องเที่ยว กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอะไร ไปดูให้หมด ให้ชัดเจนขึ้น วันนี้ไปตรวจจับได้หลายรายแล้ว หลายเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โกงกันบ้างอะไร แล้วการปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว การพัฒนา การสร้าง อำนวยความสะดวกให้ดีขึ้น สะอาดขึ้น แล้วก็จัดกลุ่มให้มากขึ้น นี่เราก็ต้องเอาประชาชนมามีส่วนร่วม เป็น คลัสเตอร์ขึ้นมาให้ได้


อีกอันที่เรามีศักยภาพหรือ ก็คือ สปา มั้ง เกี่ยวกับสุขภาพ เพราะเมืองไทยนี่มีหลายอย่างที่น่าสนใจนะ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร เรื่องการให้บริการ เสริมสวย แพทย์แผนไทย มีหมดน่ะ วันนี้ผมก็เร่งไปแล้ว ปรากฏว่าเมือวานเห็นกฎหมายผ่านการพิจารณาของ สนช. ไปแล้วนะ ในเรื่องของการใช้แพทย์แผนโบราณ หรือสมุนไพร ในการรักษาพยาบาล มุ่งหวังเพื่อให้ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนลง เป็นน้อยก็กินยานี้ก็ได้ ไม่ต้องไปกินยา ไปซื้อยาราคาแพง ถ้าโอเคเป็นมากกว่านั้นก็ไปปรึกษาหมอ ไปหาหมอ สมัยใหม่ไป ต้องเอาคนเหล่านี้กลับมา สมัยเด็กๆ จำไม่ได้หรือมีหลายคนสมัยนี้ เกิดหมอตำแยก็ทำคลอดไง เสียเงินไม่มากหรอก แล้วก็ใช้ยาสมุนไพร ก็ไม่เห็น ก็โตกันทุกวันนี้ เอามาใช้แต่ให้ถูกกฎหมาย ให้มีการรับรอบคุณภาพ รับรองความรับผิดชอบ ก็แค่นั้นเอง เรามีโอกาสอีกเยอะนะครับ เรื่องธุรกิจ สปา สุขภาพ ความงาม เครื่องแต่งกายเหล่านี้


วันนี้เรามีศูนย์เครือข่ายธุรกิจบิซ คลับที่ว่า มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 8,187 ราย ครอบคลุมเครือข่ายธุรกิจใน 77จังหวัด ในปัจจุบันนะครับ สำหรับเรื่องสำคัญที่อยากจะให้ทุกคนทราบอีกอันก็คือเรื่องประเด็นราคาสินค้านะ ไม่อยากให้ทุกคนมองว่า ราคาน้ำมันลงแล้ว ก็น่าจะลดลง เป็นส่วนหนึ่งแต่ต้องมองดูภาวะสภาพภูมิอากาศ เรื่องน้ำเรื่องฝน เรื่องอะไรเหล่านี้ด้วย ภัยแล้วปลูกไม่ได้ยังไง ปลูกไม่ได้ราคาก็แพง บางอย่างก็แพงมาก แพงน้อย ก็ขึ้นอย่างนี้ ขึ้นลง แต่เราก็ไปควบคุมนะ ทุกตลาด ก็ให้ทางกระทรวงพาณิชย์ไปกำกับดูแลในขณะนี้ บางอย่างก็ต้องเห็นใจคนปลูก คนขายเหมือนกัน
บางอย่างถ้าเกินไปก็ขอให้เขาลดราคานะ เพราะเป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้มากนัก เป็นเรื่องกลไกตลาด เพราะงั้นอยากให้ดูปัจจัยอื่นด้วย ถ้าทุกคนบอกว่าแพง ถ้าแพงมากก็อย่าไปทานมัน หาที่ถูกแล้วคุณภาพเหมือนกัน ทดแทนกันได้นี่นา แต่ต้องเห็นใจว่าวันนี้ฝนน้อย ฝนแล้ง การเพาะปลูกก็ยากขึ้น ทุกปีก็ยาก ก็ราคาสูงไง เช่นมะนาวแพงใช่ไหม


เมื่อวานผมเห็นข่าวถั่วฝักยาวโอ้ย กิโลเป็นร้อยหรือ ก่อนโลไม่กี่บาทเอง ผมก็เห็นใจนะ เพราะผมก็เป็นตัวอย่าง ผมก็ไม่ทานถั่วฝักยาวแพง แต่ก็คนรวยเขาทานนะ อย่าผมไม่ถืว่ารวยยังไง ผมก็ไม่ทาน

พิธีกร: แต่ประชาชนเข้าใจขนาดไหนคะ เรื่องของเศรษฐกิจ จริงๆ ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ปัญหา แล้วมีปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก คือคนก็มุ่งหวังว่าอยากให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาปากท้อง

นายกรัฐมนตรี: เป็นเรื่องยาก เรื่องยากในประเทศแบบเรานะ กำลังพัฒนา หรือพัฒนาแล้วก็ตามในระดับหนึ่งนะ เพราะว่าที่ผ่านมาบางทีกลไกทางรัฐนี่ หรือทางการเมืองไม่อำนวยสิ่งพวกนี้ไง เพราะงั้นก็สังเกตดูซิมีใครมาพูดให้ฟังแบบนี้ไหมล่ะ ผมเป็นนายกฯ ผมอธิบายทุกอย่างที่ผมทำอยู่นี่ ยังไงก็ตามผมก็บังคับให้คนเข้าใจผมหมดไม่ได้อยู่แล้ว ก็อยู่ที่ว่าเราจะปลูกจิตสำนึกกันอย่างไร ต้องเริ่มที่คนนะ เราจะให้ประเทศชาติเราเดินไปยังไง ต้องดูตรงนี้ ที่ผมพูดนี่ถูกไหม ใช้ได้ไหม ใช้ได้ก็นำไปปฏิบัติ สร้างการรับรู้สร้างความเข้าใจ ไม่ใช่ไอ้นี่พูดบิดเบือนมา ก็บิดเบือนตาม โดยมองอย่างเดียวว่าตัวเองได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ ต้องมองประโยชน์ส่วนรวมก่อน แล้วมาถึงตัวเอง เราถึงจะรับได้ หรือไม่ได้ว่าเออมันเป็นยังไง มันแพงไปไหม มันถูกไปไหม อย่างนี้รัฐบาลจะแก้ได้ แต่ถ้าบอกว่าทุกคนไม่อยาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ไม่อยากเสียภาษีเพิ่มใช่ไหม ไม่อยากให้ขึ้นภาษี VAT อะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลก็เข้าใจนะ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องนี่โน่นไง มากมาย ซึ่งไม่มีเงินให้หรอก เราก็ไปตัดของเก่าไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะสาธารณูปโภค สาธารณสุข การศึกษา ผมตัดไม่ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะทำยังไงให้มากขึ้น ก็ต้องใช้วิธีนี้ยังไง ต้องพัฒนาทุกอย่างให้ขึ้น มี่รายได้สูงขึ้น จะได้กลับมาเพิ่มตรงนี้ให้มากขึ้น จัดระเบียบระบบให้ได้ ถ้าทุกคนเรียกร้องอย่างเดียวไม่มีทางเป็นไปได้ ทุกประเทศก็ทำไม่ได้

พิธีกร: ประชาชนแก้ปัญหาด้วยตัวเองด้วยการออม อันนี้แก้ได้ไหมคะ

นายกรัฐมนตรี: ได้ซิ.. อันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งอยู่แล้ว มีพระราชดำรัสหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องการออมนะ หรือการเกี่ยวกับเรื่อง การออมก็คือมีเงินออมเหลือไว้บ้าง เพราะงั้นถึงเริ่มตั้งตี่การทำบัญชีครัวเรือน เพราะงั้นบางคนบอกไม่มีเงินออมก็ต้องไปดูซิว่าที่ได้มาทุกเดือนได้ใช้อะไรไปบ้าง อะไรจำเป็น ไม่จำเป็น ถ้าตัดไม่จำเป็นออกจะเหลือไหม เหลือมาก็ต้องไปใช้หนี้อีกด้วย อะไรด้วย ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เหลือ อธิบายลูกเต้าอะไรได้ด้วย นะว่าอย่าใช้เลยลูก พ่อก็มีตังค์เท่านี้ พ่อแม่มีตังค์ เท่านี้ พ่อต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา วันนี้ทุกคนไม่ได้อธิบายกัน ลูกก็ไปฟังเพื่อน ไปเห็นเพื่อนมีของดีๆ ใช้ ร่ำรวยเขามีมา ก็อยากมีบ้าง แต่ถ้าเราสร้างความเข้าใจในครอบครัวเริ่มต้นนี่ลูกก็จะเข้าใจ นะก็เห็นใจพ่อแม่ ช่วยพ่อแม่ทำงาน สังคมจะดีขึ้นนะ เรื่องเงินออมนี่ ไม่ใช่ประหยัดจนไม่ใช้นะ มีอีกอันที่ในหลวงตรัสไว้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็คือมีเหตุมีผลพอประมาณในการใช้เงิน ไม่ใช่สอนให้เลิกใช้เงิน ถ้าไม่ใช้เงิน การผลิตเสียหายหมด โรงงานปิดหมด แล้วผมถามว่าแรงงานจะเอางานทีไหนทำล่ะ 300 ก็ยังไม่ได้เลย เพราะไม่มีโรงงานให้ทำ นั่นแหละคิดให้ทั้งระบบหน่อย แล้ววันนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วย ก็ไปดูเรื่องอะไร


พิธีกร: “กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)” ท่านนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องนี่ด้วยนะคะ
นายกรัฐมนตรี: ต้องแยกจากกันให้ถูก มีหลายระบบนะ ถ้าข้อมูลระบบบำนาญ อันแรกนี่คือแยกจากกันอยู่แล้ว 3 ระบบนะ ภาครัฐก็มีกบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนสงเคราะห์ครู ประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง เป็นต้น อันนี้กำลังทำพัฒนาขึ้น อันที่สองภาคเอกชน ก็ได้แก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อันที่สาม ภาคประชาชน คือ“ไม่มี” ต่างคนต่างออมอยู่แล้วนะครับ
ปัญหาก็คือว่าที่ผ่านมาทั้งหมดนี่ เราไม่ได้วางแผนการออมตั้งแต่วัยทำงาน จนกระทั่งถึงระยะยาว เมื่อสูงอายุแล้วอะไรแล้วซึ่งเราจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เพราะงั้นถ้าเราพิจารณาแล้ว รัฐบาลนี้ก็มองเห็นว่าเอ้อ ระบบในประเทศมีความเหลื่อมล้ำอยู่นะ ขาดการบริหารในภาพรวม กฎหมายมี อาจจะมีแต่ไม่สมบูรณ์ ไม่ทันสมัย ถูกละเลย เช่น พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ ก็มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี2554 นั่นแน่ะ


ที่ผ่านมาก็คือ “ชะลอ” ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ประชาชนกว่า 25 ล้านคนนะ ที่อยู่ในเงื่อนไขของกองทุนนี่ มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนเหล่านี้ ไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมายได้ แล้วรัฐบาลนี้ก็ผลักดันจนสำเร็จไปแล้วนะครับสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม ปีที่แล้วมั้ง 58 ปัจจุบัน มียอดสมาชิกรวม 417,460 คน ยอดเงินสะสม 641,289,996 บาท ยอดสมทบโดยรัฐบาล 316,812,524บาท รวมเงินกองทุน 958,102,520 บาท


เห็นไหม ถ้าทำตามกฎหมาย ตาม พรบ. ก็มีเงินอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ก็ไม่มีแล้วจะทำยังไง เรียกร้องให้รัฐอุดหนุนตลอดเวลา ก็ไม่ได้ รัฐก็ไม่ไหว ถังแตก ให้มากๆ ก็ถังแตก แล้ว วันนี้ถังยังไม่แตกนะ เพียงแต่ว่าพร่องๆ ไปหน่อย ก็ต้องหาทางหามาเติมให้ได้ แล้วก็จ่ายให้มากขึ้น รายรับมาก รายจ่ายก็มาก ให้ประชาชนทั้งหมดนั่นแหละ


นายกรัฐมนตรี: ทั้งหมดนั้นแหละ สถิติ!!! อยากรู้สถิติไหมล่ะ วันนี้มีเข้าร่วมกองทุนการออมแห่งชาติที่ท่านสนใจ ถ้าเป็นพื้นที่นะ ต้องขอบคุณนะ


ภาคอีสาน สูงสุด ร้อยละ 51.2 นะ ภาคกลาง ร้อยละ 19.7 ภาคเหนือ ร้อยละ 10.2 ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับอาชีพและรายได้เขาด้วยนะ ก็เห็นไหมล่ะความเจริญมันแต่ต่างกันไหมล่ะ ถ้าไม่มีรายได้ที่เพียงพอ เขาก็มา...อะไรล่ะ เขามาร่วมเงินออมไม่ได้ เขาก็ต้องเก็บของเขาเอง ฉะนั้นต้องเริ่มจากตัวเองด้วยนะ
อันที่ 2 ถ้าดูตาม มิติอาชีพเกษตรกรมากที่สุด ร้อยละ 68.8 เห็นไหม รัฐบาลพยายามทำเต็มที่ เพราะฉะนั้นภาคเกษตรกรน่าจะดีขึ้น ประมาณสัก 287,000 คน นะ ค้าขาย ร้อยละ 12.1 นักเรียน นักศึกษาร้อยละ 2และคนรุ่นใหม่อีก คนรุ่นใหม่เนี่ยสนใจการออมมากขึ้น ต้องให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาต้องไปเน้นนี้นะ ออมอย่างไร เขาเรียกว่าถ้าใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็คืออะไร คือการมีภูมิคุ้มกันที่ดียังไง บนเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมนะ ต้องอธิบายกันเยอะผมคิดว่า วันนี้คนไม่ค่อยฟัง ไปฟังว่าจะได้เงินเมื่อไร ได้เงินอะไร ง่ายๆทำนองเนี่ย แล้วก็ไปทำอะไรที่ผิดๆถูกๆ ไปเสียเงินให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตอีก มันวุ่นวายไปหมดล่ะ แล้วค่อยๆทำค่อยๆคิดก็แล้วกันนะ
การปฏิรูปประเทศ

พิธีกร: ค่ะ ที่นี้มาถึงเรื่องของการปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวเป็นเรื่องใกล้ๆตัวที่รัฐบาลพูดถึงมาโดยตลอดนะค่ะ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการปฏิรูปประเทศก็คือ เช่นกันต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนด้วย แต่ว่าตอนนี้ที่เห็นก็อาจจะมีการเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนที่อาจจะไม่เห็นด้วยมีการเคลื่อนไหวออกมา เดี๋ยวนี้ไม่ได้เคลื่อนไหวข้างนอกอย่างเดี๋ยวในสื่อโซเชียลก็เยอะนะค่ะท่านนายกค่ะ ขออนุญาตท่านนายกพูดถึงเรื่องนี้นิดนึงค่ะ

นายกรัฐมนตรี: คือถ้าจะพูดถึงเรื่องของการปฏิรูปนะ มันทำฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่ได้อยู่แล้วนะ การปฏิรูปก็คือการเอาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นปัญหามาทำใหม่ หรือมาแก้ไขให้มันดีขึ้นกว่าเดิม อาจจะต้องใช้วิธีการใหม่ๆ ใช้กฎหมายใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนมันต้องมีผลกระทบกับสิ่งเดิมๆที่เคยมีมา แต่ต้องมาดูซิว่าเออ...ที่จะปฏิรูปนี้มันเพื่ออะไรล่ะ นโยบายของรัฐบาล คสช.ก็คือเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ความเป็นธรรม เป็นการเฉลี่ยความสุขให้ทุกคน เพราะฉะนั้นแน่นอนมันต้องมีคนได้มากได้น้อย แต่ทั้งหมดต้องอยู่บนพื้นฐานของ...อะไร คุณธรรม ใช่ไหมล่ะ คุณธรรมคือที่บอกแล้ว ไม่ใช่หวังผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว นะเพราะฉะนั้นก็อย่าบิดเบือนของเราไปก็แล้วกัน ถ้าบิดเบือนไปมากๆ มันก็ไปไม่ได้หมดอยู่ดี


การปฏิรูปมันปฏิรูปตั้ง 31 วาระ 37 เรื่องมั่ง กิจกรรมอะนะ และอีกซอยเยอะแยะไปหมด มันถึงต้องมีมีระยะที่ 1 2 3 4 5 นั้นล่ะคือเหตุผลของการที่จะต้องมี...อะไร แผนปฏิรูป 5 ปี 4 แผน มีแผนสภาวะอีก 4 แผนสอดคล้องกัน ทั้งหมดร่วมกันเป็นยุทธศาสตร์ 20 ปีข้างหน้า เราต้องการอะไรให้ประเทศไทยอ่ะ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ใช่ไหมล่ะ ก็ต้องไปซอยย่อยต้องนี้ยิบออกมา และมีกิจกรรมไหนที่รัฐบาล คสช.กำลังเลือกว่า ไหนทำได้เลยเราทำเลย อันไหนที่จะเริ่มต้นได้เราก็จะเริ่มต้นในช่วงนี้ถึง 60 ให้ได้ อย่างน้อยก็เป็นแนวทาง เป็นการนำร่อง เป็นแบบอย่าง อะไรแก้จบได้ก็จบไปเลย อันไหนจบไม่ได้ก็ไปต่อระยะหน้าซิ ซึ่งก็ไม่ใช้หน้าที่ของผมแล้วนิ

พิธีกร: ตอนนี้เราอยู่จุดไหนของการปฏิรูปค่ะ

นายกรัฐมนตรี: ปฏิรูประยะที่ 1 มั่ง ก็คือ ตั้งแต่ 57 เข้ามาพฤษภา 57 ก็แก้ไขความขัดแย้ง แก้ไขปัญหาที่สำคัญ จัดระเบียบบ้านเมืองให้ทุกคนมาอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันก็พยายามเต็มที่นะ ก็ถือว่าบ้านเมืองสงบสมควรนะในขณะนี้ มันก็มีเฉพาะในสื่อในโซเชียลเท่านั้นล่ะ กับคนบ้างคนที่ออกมาพูดจาที่มันทำให้บ้านเมืองเสียหาย ก็ฝากผู้ที่รับผิดชอบด้านนี้ดูแลกันด้วยแล้วกันว่าอย่าให้เกิดขึ้นอีก ไอ้สิ่งที่มันจะต้องเกิดขึ้นต่อไปอย่างที่ผมคาดหวังก็คือว่า ปฏิรูประยะที่ 1 มันร่วมไปตั้งแต่ พฤษภา 57 ไปจนถึง 58 วันนี้ผมทำ59 60 เนี่ย ให้มันเพิ่มขึ้นอีก ก็ด้วยเอาไอ้แผนใหญ่ของเขามาที่ สปช. สปท.ที่เขาทำมานี้ล่ะมีประโยชน์ เขาคิดมาในภาพรวมและก็ซอยย่อยแผน ตามที่เขาส่งนั้นล่ะ เขาก็มีคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการในการศึกษาหลายๆเรื่อง


ผมดูตลอดล่ะ มีเวลาผมก็ดูในช่องรัฐสภาบ้าง ช่องNBTบ้าง หรือช่องอื่นๆที่เขาถ่ายทอดอยู่บ้างที่เป็นประโยชน์ ผมก็มองว่า เออ...ทุกคนเขาตั้งใจนะ แต่หลายคนอาจจะยังไม่เขาใจอยู่บ้าง คือทุกคนก็จะเริ่มต้นด้วยความคิดเห็นของตัวเองก่อน ความพึงพอใจก่อน จากประสบการณ์หรือประสบปัญหาที่ตัวเองเจอมาตลอดชีวิตเนี่ย แต่มันต้องกลับมาดูจุดเริ่มต้นก่อนว่ากฎหมายว่ายังไง ถ้ากฎหมายมันว่าไง อ้าว...กฎหมายมันเพียงพอไหม มันทันสมัยไหม มันไม่พอก็ต้องออกกฎหมายใหม่ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย จากนั้นก็เอาปัญหามาดูซิว่า เออ...แล้วเราจะแก้เป็นสเต็ปอย่างไร

วันนี้ทุกคนคาดหวังว่าจะให้ปฏิรูปให้เสร็จภายในปี 2 ปี ไม่มีทางเสร็จหรอก หลายประเทศเขาเป็นร้อยปียังไม่เสร็จเลย ประเทศไทยยังไม่เริ่มปฏิรูปสักที มาเริ่มปฏิรูปตั้งแต่ ปี 57 ที่ผ่านมานี้แหละ แล้วท่านจะหยุดหรอ ท่านจะไม่ให้ประเทศมันเดินหน้าไปแล้วกลับไปสู่ความขัดแย้งแบบเดิมๆประเทศชาติที่ว่าดีๆ จริงๆมันไม่ได้ดีหรอก มันกลวง มันกลวงข้างใน เพราะฐานมันไม่แน่นไง จิตใจคนมันก็...ก็แหลกสลาย

ผมคิดว่ามันเสียใจบ้างอะไรบ้าง เพราะความขัดแย้งไง เสียใจ เสียชีวิต เสียอะไรต่างๆเยอะแยะ วันนี้ต้องปฏิรูปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ข้าราชการ ประชาชน ต้องปฏิรูปตัวเอง ผมก็ต้องปฏิรูปตัวเองเสมอไง ผมก็อดทน พยายามที่จะพูดให้มันไพเราะอ่ะนะ ผมเป็นทหารผมบอกได้ไปอย่างนี้ ก็เวลาโมโหก็โมโหเร็วหน่อย เพราะว่ามันทั้งชีวิต ผมก็พยายามจะปรับตัวเองอยู่นะ ให้อะไร เขาเรียกอะไร ให้เป็นนายกที่น่ารักสักหน่อย ทำนองนี้ ครับ เห็นใจผมมั่ง งานมันเต็มไปหมด ทุกวันทุกคืน ผมไม่ได้คิดเรื่องอื่น คิดแต่ว่าจะปฏิรูปยังไง และทุกอย่างที่ทำมาวันนี้มันจะต้องแก้ตรงไหน ผมจะต้องเข้าไปหมดนะ ขอบคุณคณะกรรมาธิการทุกคณะนะครับ ทั้งใน สนช. สปท. หรือ อะไร กรท. ทั้งหมดละนะ ก็ทุกคนทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ


แต่ให้กลับมาดูซิว่าหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคืออะไร ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศนี้นะท่านสอน พระองค์ท่านสั่งลงมาแล้ว คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เข้าใจปัญหามันต้องเข้าถึงไอ้ที่ปัญหาทั้งหมดมันต้องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ถ้าเป็นการเกษตรมันต้องมาเกี่ยวกับพื้นที่ เกี่ยวกับน้ำ เกี่ยวกับประชาชน ต้องมีขอมูลเหล่านี้ มันถึงจะได้ไปหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แล้วก็มีกฎหมายที่มันจะทำให้เกิดความต่อเนื่อง เชื่อมโยง ทำนองเนี่ย เพราะฉะนั้นวันนี้ผมพูดง่ายๆว่าผมมีงานไม่หยุดอ่ะ เพราะว่าผมฟังทุกคนไง ฟังสื่อ ฟังโซเชียล มีลูกน้องมีอะไรทำ มีคณะทำงานอยู่แล้วเขาก็ตรวจสอบก็สรุปมา


ผมก็อ่านดูแล้ว เอ๊ะ...บ้างอันมันเป็นประโยชน์นี้น่า ผมก็เอามาปรับที่ผมสั่งไปแล้วให้มันดีขึ้นให้มันเข้าใจมากขึ้น แต่บ้างคนเขาไม่เสนอผ่านในช่องทางที่ถูกต้อง คือไม่มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ คืออะไรทำแล้วผิดเพี้ยนจากสิ่งเดิมๆที่ทำไว้ไม่ยอมสักอย่าง ทั้งที่ตัวเองก็ยังไม่รู้เลยว่าไอ้ที่ทำเนี่ยมันผิดมันถูกยังไง กฎหมายเขาว่ายังไง วันนี้บิดเบือนทุกอย่าง ผมก็ไม่อยากไปว่าเขานะ เพียงแต่อยากให้สังคมให้ประชาชนช่วยกันดูซิว่าคนเหล่านี้มันควรจะเชื่อควรจะฟังหรือควรจะสนใจข่าวเหล่านี้อีกไหม สื่อ เส่อ ก็ต้องช่วยกันด้วยนะ ผมไม่ได้ทะเลาะกับสื่อทุกวัน ผมก็เหนื่อยนะทะเลาะ ไม่ได้ต้องการทะเลาะ อยากจะให้เขาทำงานด้วยจรรยาบรรณ เป็นสื่อที่เป็นกลาง เป็นสื่อที่เสนอข่าวการทำงานทั้งที่ทำไปแล้วและมีปัญหาก็เสนอมาซิ ให้คำแนะนำมา แต่ไม่ใช่ไปเสนอ 2 ฝ่ายให้เหมือนกัน คือไปเสนอให้คนทำผิดกฎหมาย มาสู้กับผมยังงี้ ผมว่านี้ไม่ใช่ จรรยาบรรณอย่างนี้ไม่ใช่ล่ะ

พิธีกร: ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์รัฐบาลก็รับฟัง

นายกรัฐมนตรี: เออ...รับทุกอัน ผมไม่อยากให้ทุกคนไปมองว่า สิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย วันนี้ผมไม่ให้เสรีภาพประชาชนตรงไหน ท่องเที่ยวจะไปไหนก็ไป เว้นแต่คนที่ทำความผิด คนที่มีคดีความ มันก็ต้องพิจารณาดูบ้างใช่ไหม เพราะเรามาแบบนี้ไง เราก็ต้องระมัดระวังตรงนี้ไม่ให้มันบานปลายใช่ไหม มันก็มีข้อยกเว้นสำหรับบ้างคนหรือสื่อบ้างอันผมก็ต้องมีอะไรที่จะแค็ปเอาไว้ว่าข้อร้องเรื่องนู้นเรื่องนี้ ถ้าข้อร้องไม่ได้มันก็ต้องมีการบังคับใช้ แต่ผมไม่ได้ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ วันนี้ทุกวันนี้โครมครามกันอยู่นี้ผมห้ามเขาตรงไหน ถ้าห้ามก็วันนี้แทบทุกอัน ทุกช่องอ่ะ ทุกเล่นอ่ะปิดได้หมด ผมมีอำนาจขนาดนั้นถ้าผมจะทำ แต่ผมไม่ทำเลยนะ เพียงแต่เตือนแล้วเตือนอีกว่าก็ยังเหมือนเดิม

พิธีกร: เพิ่งผ่านวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกนะค่ะ

นายกรัฐมนตรี: ก็ใช่ เมื่อวานผมก็ ถือว่าผมอดทนมากแล้วนะที่ผมอธิบายไปขอร้องไป ไม่รู้กี่ครั้งแล้ว แต่เขาก็ขอผมเรื่องเสรีภาพสื่อ ผมก็บอกว่าเสรีภาพวันนี้ผมให้ทุกอย่างแล้วนะ เพียงแต่เขาเขียนคำสั่งไว้ท่านก็อย่าทำความผิดซิ แล้วผิดเรื่องอะไร บิดเบือนไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริง เป็นสื่อเลือกข้าง ก็แค่นี้ไม่รู้หรอว่าความหมายมันคืออะไร ก็ถ้าไม่ทำแล้วมันจะถูกคุมด้วยอะไรล่ะ ผมจะไปคุมเขาทำไม แล้วเขาพูดในสิ่งดีๆที่ผมทำบ้างไหมอ่ะ บ้างอันก็เอาแต่จับผิดโน้นผิดนี้ทั้งๆที่คนก่อนหน้านั้นทำไว้ทั้งนั้นอ่ะ ผมมาแก้ทุกอันอ่ะ ไม่ใช้เรียกว่าทวงบุญคุณจากใครนะ ผมอยากจะระบายความรู้สึกผมบ้างว่า ผมก็เป็นมนุษย์เหมือนกันนะผมก็มีจิตใจเหมือนกันนะ และก็มีทั้งอดทน อดทนอย่างที่สุดมาแล้ว บ้างอย่างก็ต้องขอร้อง บ้างอย่างก็บังคับบ้าง แต่บังคับด้วยกฎหมายไง กฎหมายคือกฎหมายนะไม่ใช่ที่มันมีเพื่อไว้ขจัดผู้ที่เห็นต่าง หรือขจัด ถ้าเห็นต่างแล้วบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ผมก็รับหมด ถ้าเห็นต่างเพื่อจะล้มล้างทุกอย่างที่ผมทำไปแล้วเนี่ยผมรับไม่ได้ เพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่ไง

พิธีกร: ถ้าจะมองในมิติการเมือง เรื่องของความป็นประชารัฐ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแล้วก็จะเทียบเคียงเรื่องของความขัดแย้งทางการเมือง เป็น 10 ปีนะค่ะท่านค่ะ ณ ตอนนี้ท่านมองมุมมองมิติด้านการเมืองยังไงบ้างค่ะ

นายกรัฐมนตรี: คือผมต้องเอาตัวผมหลุดออกมาก่อนนะไม่ว่าจะผม ไม่ว่าจะทหาร หรือไม่ว่าจะข้าราชการต้องดึงตัวเองออกมา ว่า เออ...เรายังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งในวันนี้ ที่ผ่านมามันขัดแย้งกันอยู่แล้วเราก็เป็นเครื่องมืออยู่ตรงกลาง ซึ่งมันก็ทั้งสั่งผิดสั่งถูกกันมา วันนี้เราต้องหยุดตรงนั้นไว้แล้วมันนี้มาถอยตัวเองออกมาซิมามองซิว่า แต่ละฝ่ายแต่ละข้างเขาทำอะไรกัน อันไหนมันถูกอันไหนมันผิด ก็ทำหน้าที่ของตัวเองตามความรับผิดชอบ ตามความเข้าใจของตัวเองตามกฎหมายที่มีอยู่ แล้วก็ทำไม่ให้มันเกิดการไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ วันนี้หลายอย่างทำไม่ได้เพราะขาดความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันนะ ประชาชนก็ไม่ไว้ใจรัฐไม่ไว้ใจข้าราชการ บ้างคนยังไม่ไว้ใจผมเลย ผมเข้ามาอย่างนี้ยังไม่ไว้ใจอีกนะ ก็ไม่รู้จะไว้ใจใครแล้วนะตอนนี้ ก็เหลือตัวเองเท่านั้นล่ะแล้วก็ไว้ใจตัวเองคนเดียว ก็ไปอยู่คนเดียวในโลกใบนี้ ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไงนะ ถ้า...ถ้าใครทำผิดนะ ก็ยอมรับกลไลกระบวนการความยุติธรรมซะ เข้ามาซะ ไม่ต้องให้ไปจับกุมดำเนินคดี

เขาใช้มาตรา 44 เพื่อไปควบคุมตัว เพราะว่าอะไร เพราะว่าชอบหนีกันเร็วยังไง และมีการแจ้งเตือนล่วงหน้าบ้างอะไรบ้างก็หนีหมดอ่ะมันก็ไม่เจอไง มันก็ต้องมีมาตรา 44 เพื่อที่จะทำยังไงให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร ไม่ใช่ทหารไปแค่อย่างเดียวนะ ต้องมีตำรวจอยู่ด้วยนะเพียงแต่เราไม่บอกล่วงหน้า นี้คือมาตรา 44 มีแค่นี้และเข้าไปก็เพื่อเอาไปสอบสวน สอบสวนก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้สอบสวน แล้วก็เมื่อเจอความผิดชัดเจนก็ส่งกระบวนการยุติธรรมก็มีแค่ภายใน 7 วัน เสร็จ 2 วันก็ 2 วัน 3 วันก็ 3 วัน เสร็จวันเดียวก็ส่งศาลก็นำเดินตามคดีกันต่อไป ก็มีแค่นี้ผมไม่ได้ใช้มาตรา 44 ไปกำจัดผู้ที่ขัดแย้งเพราะไม่ได้ไปขัดแย้งกับใครนี้น่า เขาขัดแย้งกฎหมาย มันต้องทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย ที่ผ่านมาบ้างที่มันไม่ได้ทำ ปล่อยปละละเลยกัน มันก็นำไปสู่การทุจริตผิดกฎหมาย ก็นำไปสู่การเอื้อประโยชน์ การคอรัปชั่น เรื่องของการดึงคดีโน้นคดีนี้ เสียเบี้ยบ้ายรายทาง ถ้าไม่ทำผิดก็ไม่ต้องเสียเงินถูกไหมล่ะ เออ...รัฐต้องดูแล เพราะฉะนั้นถ้าใครที่จะต้องการเจนตาที่จะให้เอากฎหมายมาสร้างความขัดแข้ง ให้ประชาชนบิดเบือนและไม่เข้าใจ

วันนี้ผมทำคนจนไม่เห็นเสียผลประโยชน์อะไรเลย เว้นแต่เพียงว่าขอให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดสรรไว้ให้ได้ไหมนะ ถ้าเรายังค้าขายบนถนน ค้าขายในที่ที่มันควรจะไม่ใช่ที่ขาย อย่างที่ท่องเที่ยวที่มันสวยงามทุกอย่างมันบดบังไปหมดด้วยความไม่มีระเบียบของบ้านเมือง เพราะฉะนั้นเราไม่มองใครเป็นศัตรูนะ

วันนี้อย่างที่ผมบอกใครจะว่าอะไรผมก็ว่าไปเถอะ บ้างครั้งผมก็อาจจะต้องคิดชี้แจงบ้าง แรงบ้าง เบาบ้าง ผมเป็นมนุษย์นะ แต่ผมไม่มองใครเป็นศัตรูกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้นนะ ไม่ว่าจะศาลทหาร ศาลอะไรก็แล้วแต่มันก็มีกลไกทางกฎหมายทั้งนั้นแหละ เราก็ใช้ศาลปกติเป็นที่ทำการศาลทหารนี้แหละและมีกระบวนการตุลาการทหารเข้าไปซึ่งมันก็มีคนอื่นด้วยไม่ใช่หรอมีทนายมีอะไรเข้าไปได้หมด การประกันตัวก็ได้อะไรก็ได้ เพราะฉะนั้นบ้างอย่างที่กำหนดไว้แล้วว่าต้องขึ้นศาลก็ให้เข้าใจว่าไอ้นี้มันร้ายแรงนะ ไม่อยากให้ทำ

เขามีไว้ป้องปรามนะกฎหมายเหล่านี้ ไม่ว่าจะมาตรา 44 หรืออะไรก็แล้วแต่ หรือที่ผ่านมากว่าจะเสร็จ เขาป้องปรามคนจะได้ไม่อยากทำ ไม่ทำ แต่ไม่ใช่เพื่อจะเอามาไว้บล็อกคนโน้นคนนี้ ถ้าทำตามกฎหมายเขาก็ทำตามกันได้หมดแหละกระบวนการยุติธรรมเขาทำได้ แต่ถ้ามันเดินไปมากๆขัดแย้งกันทำยังไง ก็ตีกันอีกอ่ะ แล้วผมจะทำไงได้ก็ไม่มีประโยชน์เข้ามา 2,3 ปี จบหมดอย่าง กลับไปที่เดิม เอางั้นไหมล่ะ ผมคิดว่าคนไทยไม่ต้องการนะ เขาเบื่อหน่ายกับการขัดแย้งมากพอสมควรนะ ที่ผมอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะว่าบ้านเมืองมันสงบสุขขึ้น อันที่ 2 ก็มีคนที่เขาฟังร่วมมือมากมายขอบคุณทุกภาคส่วนนะ ภาคประชาสังคม ผู้หลักผู้ใหญ่ต่างๆที่อยู่ในอดีตที่ผ่านมาก็เห็นท่าน เมื่อกี้ผมไปดูโทรทัศน์เมื่อสักครู่ก็ชื่นชมนโยบายของรัฐบาลเพียงแต่ว่าเขารอดูเรื่องอะไรล่ะ ผลงานปฏิบัติไง Implementation ผมอธิบายต่างประเทศ ต่างประเทศบอกดีทุกอย่าง ดีกว่าทุกประเทศที่เขียนมาที่มีสถานการณ์แบบเรานะ เขียนได้ครอบคลุมแผนปฏิรูปของเราแต่เขารอดูImplementation เท่านั้นเอง แต่เขาชื่นชมตรงที่ภาคประชาชนให้ความร่วมมือเยอะ ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลก เขาชื่นชมนะ

พิธีกร: ขออนุญาตมาถึงอีก 1 วันสำคัญที่เพิ่งผ่านไปนะค่ะ วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม กลุ่มพี้องประชาชนผู้ใช้แรงงานก็จะมีการยื่นขอเรียกร้องไปยังรับบาลเป็นประจำยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นทุกๆปี ครั้งนี้ 15 ข้อเรียกร้อง ท่านนายกรับมาดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี: คือ 15 ข้อ ปีที่แล้วก็ 15 ข้อ ซึ่งมันก็คล้ายกัน หลายอันก็เรื่องเกี่ยวกับประกันสังคม ซึ่งหลายอย่างเราก็ทำไปแล้ว บางทีเขาก็เสนอขึ้นมา เพราะว่าทุกปีมันก็จะต้องมีการเสนอขึ้นมาแบบนี้ เราก็เอามาทำต่อซิ อันไหนที่มันยังทำไม่สำเร็จก็ทำมันสำเร็จซะ มันมีอยู่อันเดียวเท่านั้นแหละ ก็คือค่าแรงนะ ผมก็เคยบอกเมื้อกี้ผมพูดไปแล้วไง ถ้าสมมุติเราขึ้นค่าแรงมากๆ การลงทุนก็จะลดลงในช่วงนี้เพราะว่าการแข่งขันเรื่องต้นทุนการผลิต

วันนี้ถ้าค่าแรงเราสูงอีกแล้วก็เทคโนโลยีเรายังไม่ทันสมัย คนของเราก็ยังไม่พร้อม การศึกษายังผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการ และแรงงานเหล่านี้ก็จะมาจากแรงงานต่างประเทศ แรงงานเพื่อนบ้านบ้างอะไรบ้าง แล้วก็ AEC เขาบอกมาว่ายังไง ห้ามอาชีพต่อไปนี้ ห้ามสงวนไว้ ต้องสามารถจะแลกเปลี่ยนแรงงานร่วมกันได้หลายอาชีพนะที่มันเป็นอาชีพหลักๆ และเราพร้อมหรือยังคนเหล่านี้เรามีไหม ถ้าไม่มีกีดกันเขาไม่ได้นะ เขาก็มาทำงานในประเทศไทย อันที่2ก็คือ คนไทยเราจะไม่มีงานทำใช่ไหม วันนี้ก็ไปต่างประเทศและเรามีพอหรือยังล่ะความรู้ที่จะไปเป็นหัวหน้างาน ไปทำงานในองค์กรใหญ่ๆเหล่านี้ ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาต่างประเทศเรียนรู้หรือยัง ก้ไม่พร้อมหมดอ่ะ ผมก็ให้กระทรวงแรงงานเขาเร่งรัดตรงนี้

ถ้าว่านี้นะสถานการณ์อย่างที่ว่า เศรษฐกิจมันตกใช่ไหม แข่งขันกันเรื่องของการลงทุนในประเทศต่างๆ ที่มีการมองระยะยาว วันนี้ถ้าสมมุติว่าเราตั้งพรึ๊บขึ้นมาเขาไม่มา และแถมเขาจะย้ายของเดิมที่มีอยู่แล้วไปต่างประเทศ ไอ้ที่ว่าน้อยอยู่แล้วมันจะไม่ได้เลยและเราจะดูและกันยังไงอ่ะ รัฐบาลก็ไม่มีสตางค์ที่จะไปจ่ายแทนเขานะ ณ วันนี้ก็อยากจะให้รับทราบว่ารัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะ หลายอย่างก็ให้คณะกรรมการ มันมีคณะกรรมการของแรงงานเหล่านี้อยู่แล้ว ทั้งรัฐวิสาหะกิจด้วยเขาคุยกันอยู่แล้ว ว่าเออเมื่อไรยังไงควรจะทำแค่ไหน ก็ขอให้ฟังกันบ้าง ฟังเหตุผลกันบ้าง อย่างน้อยวันนี้เราก็ถือว่าเราได้ค่าแรงค่อนข้างจะสูงนะในภูมิภาคแทบนี้นะ แต่ในขณะเดียวกันต้องเข้าใจเรื่องการเป็นเจ้าของร่วมของบริษัทเขาด้วย เห็นใจเขาซิ ถ้าเขาอธิบายกันมาว่า ขอเวลาหน่อยนะ ปรับหน่อยอะไรหน่อย น่าจะเป็นไปได้ ถ้าขึ้นทั้งหมดมันไม่มีเงิน เขาไปหมดเลยทำไงต้องหาทางออกตรงนี้ไว้ด้วย

คราวนี้รัฐบาลก็คิดไว้ขั้นต้นนะ ว่าจะขอเจรจากับเขา ผมถามจากกระทรวงแรงงานมานะ ว่าจะเป็นพื้นที่ก่อนได้ไหมบ้างกิจการได้หรือเปล่า อะไรทำนองนี้ คือต้องไปอย่างนั้น ถ้าขึ้นทั้งหมดมันไม่มีทางเป็นไปได้แล้วมันจะหายไปหมดเลย ไอ้ที่เราวางไว้คือ S Curve อีก 5 อุตสาหกรรมที่เขาจะเริ่มลงทุนในโลกใบนี้หายหมดเลย เราก็จะเหลือแต่อุตสาหกรรมเดิม 5 อย่างของเราและเขาไม่พัฒนาด้วย เมื่อมันไม่มีราคา มันไม่มีการแข่งขัน การแข่งขันไม่ได้เขาก็ยุบเลิกไปเลยเดือดร้อนไหมล่ะ เดือดร้อนทั้งเก่า แล้วก็ทั้งใหม่ไม่มา และผมถามว่า มันจะมีเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ก็ไม่มี

พิธีกร: เหมือนที่ท่านนายกบอกว่าผู้ใช้แรงงานต้องอดทนต้องเข้าใจด้วย

นายกรัฐมนตรี: ผมก็เข้าใจที่เขาบอกว่าอดทนมาเยอะแล้ว วันนี้เขาไปมองเรื่องของค่าครองชีพมันสูงขึ้น ก็ลองไปมองดูตัวเองซิว่าใช้จ่ายกันยังไงบ้างวันละ 300 เนี่ย ดูซิมันจะประหยัดลงอีกได้ไหม อะไรที่เขามาบอกว่าต้องเท่าเทียม เป็นธรรม ไปกินถั่วฝักยาวหรอ มันก็ไม่ได้ มันต้องพัฒนาตัวเองนะ ผมพยายามช่วยเขาอยู่นี้ไง หลายอย่างผมก็สนับสนุนให้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนในเรื่องของการก่อสร้างอะไรต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการจ้างแรงงานทั้งสิน แต่ถามว่าแรงงานเรา ส่วนใหญ่แรงงานไทยไม่ทำอ่ะ ไปต่างประเทศหมด ไปสร้างตึกสูงๆต่างประเทศหมดเลยนะ ในประเทศตะวันตก ตะวันออก ในประเทศเหลือแต่แรงงานต่างด้าวเป็นหลัก อันนี้คือสิ่งที่เราต้องมาใคร่ครวญให้ดีนะ แต่เราต้องดูแลเขาไง เพราะว่ากติกาสากล UN ต้องดูแลแรงงานทุกประเทศในประเทศของตัวเองให้เหมือนกัน ให้เท่าเทียมกัน เนี่ยไปคิดพิจารณาเอาแล้วกันนะ

พิธีกร: อีกหนึ่งสิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรีพูดไปเมื่อสักครู่นี้ที่ท่านนายกให้ความสำคัญเรื่องของสมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย ท่านได้พูดถึงในหลายครั้งนะคะ ตอนนี้มีความคืบหน้ายังไงบ้างคะ

นายกรัฐมนตรี: ก็อย่างที่บอกไปแล้ว เค้ากำลังพิจารณากฎหมายตรงนี้อยู่ในสภา บอกว่าเอ้อสิ่งที่มันควรจะเกิดมาหลายสิบปีมาแล้วมันได้เกิดซักที ผมก็มองในแง่ของที่ UN เขาพูดคุยกันมาเรื่องของ Public Health เรื่องการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน จะทำอย่างไรให้เค้าเข้าถึง บางทีอยู่บนเขามาโรงพยาบาลไม่ได้ ก็ต้องมีสมุนไพร มียาเหล่านี้ที่ราคาถูก ปลูกเองก็ได้ บางอย่างต้มกินก็ได้

พิธีกร: เราจะมีเมืองสมุนไพรเลยเหรอคะ

นายกรัฐมนตรี: มี เราทำเมืองสมุนไพร สวนสมุนไพร นำการผลิต รับรองมาตรฐาน มีทั้งหมอแผนโบราณ แล้วก็ยาโบราณ ยาสมุนไพรนี่แหละ ควบคู่ไปกับหมอสมัยใหม่ ยาสมัยใหม่ ทั้งหมดนี้สำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อย ในขั้นต้นก่อน เพื่อจะดูแลแก้ปัญหาขั้นต้น เช่นปวดหัวตัวร้อน ไม่ต้องไปซื้อยาแพงๆ ก็เอาสมุนไพรต้มกินก็หาย โบราณเขาอยู่กันมาอย่างนี้ แล้วก็หลายประเทศก็เอาสมุนไพรไทยไปผลิตเป็นยาสมัยใหม่มาขายเราอีก

พิธีกร: ต่างชาติเค้าสนใจนะคะ

นายกรัฐมนตรี: เออ เขาอยากมาลงทุน ผมก็ให้นโยบายกระทรวงสาธารณสุขไปแล้วนะ ให้ทำให้ได้นะเราจะได้เป็นแหล่งสมุนไพรของภูมิภาค ของโลก แล้วก็มียาสมุนไพร ถ้าเราเริ่มก่อนเราก็ได้ก่อนอ้ะนะ ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่มีศักยภาพ อย่าไปทำสิ่งที่ไม่มีศักยภาพ ถ้าศักยภาพเรื่องใดเรื่องนี้ไม่เพียงพอแล้วไปทำ มันก็ขายไม่ออก อันนี้สมุนไพรมีอยู่แล้วเยอะแยะ วันนี้เห็นไปซื้อหมามุ่ยอินเดีย มาปลูกในบ้านเรา ผมบอกแล้ว ผมไม่ได้บอกให้ทุกคนปลูกหมามุ่ยอินเดีย ใครอยากจะปลูกก็ปลูกไปซิ ถ้าปลูก ผมก็บอกแล้วว่ามีรายได้อย่างนี้นะ วันนั้นผมก็ลองชิมดูแล้ว ก็ไม่ได้คันคออะไรเลย

พิธีกร: เป็นอย่างไรบ้างคะชิมแล้ว

นายกรัฐมนตรี: มันก็เป็นพืช รสชาติพืชๆอ้ะ ไม่รู้จะเล่ายังไง มันก็จืดๆ ขมๆ หน่อยๆ ทำนองนี้ แต่ยาทุกยา เค้าเรียกอะไรอ้ะ หวานเป็นลมขมเป็นยา นะ อย่าไปคิดว่ายาอร่อยๆ หวาน ยาไม่ใช่ขนม กินมากก็ตายเร็วด้วย ทำยังไงให้ร่างกายแข็งแรง ออกกำลังกาย มีจิตใจที่โปร่งใส สมองที่ว่างก็ให้พักผ่อนสมองบ้าง นี่ผมต้องไปกินยาเยอะจะได้หยุดพัก สมองชักแย่เหมือนกัน

พิธีกร: คือหลายเรื่องนะคะที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลพี่น้องประชาชน อีกหนึ่งเรื่องสำคัญค่ะท่านคะ เรื่องของสภาพอากาศตอนนี้หลายพื้นที่ พายุฤดูร้อน อากาศก็ร้อนจัด ฝนตกด้วยนะคะ

นายกรัฐมนตรี: ก็ดีใจอยู่ได้แป๊บเดียว ฝนตกอยู่วันสองวันเองมั้ง ต้นเหตุจากพายุฤดูร้อน แต่สิ่งที่ตามมาคือ 48 จังหวัดที่รายงานมาทีนี้ว่าบ้านชำรุด (พิธีกรแทรก – หลังคาปลิวเลยนะคะ) ได้สั่งกระทรวงมหาดไทย กับ คสช. ทหาร และทุกหน่วยงานมาช่วยกันซ่อมบ้านก็ใช้เงินใช้ทองพอสมควร ก็มีสองอย่างคือให้วัสดุก่อสร้างไปซ่อมกันเอง อันที่สองคืออาจจะต้องซ่อมให้เค้า จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้จะมีทหารทุกจังหวัดไปช่วยกันทำและก็จ้างงานซ่อมกันเองบ้าง อะไรบ้าง อันนี้สิ่งที่ต้องเตรียมตัวรับมือ ก็ตัวอย่างเห็นแล้ว สองวันพังไปไม่รู้กี่หลัง เป็นพันหลัง และที่เหลือต่อไปนี่ล่ะ ก่อนที่จะเข้าฤดูฝน ประมาณกลางพฤษภาคมมั้ง จะมีพายุฤดูร้อนเข้ามาอีกอันนี้คือสิ่งที่เราต้องเตรียมตัวทั้งสองอย่าง คือเตรียมรับฝน เตรียมรับจากภัยแล้ง น้ำท่วม อะไรอีกล่ะ บ้านพัง ฝ้ายโฆษณาหล่นใส่หัว

ทั้งหมดนี่แหละคือปัญหาประเทศไทย ซึ่งมันแก้ไม่จบสักที เพราะความมักง่ายของคน ของคนทำอะไรก็แล้วแต่ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่กลับมาดูต้นทางคือกฎหมาย ดูที่ความร่วมมือ ดูที่ประชาชนเข้าใจ มันไปไม่ได้หมดนะ วันนี้กำลังทำเต็มที่นะ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ องค์การปกครองท้องถิ่น(อปท.) กำนันผู้ใหญ่บ้าน ต้องลงไปดูแลทันที เพราะเขาอยู่ใกล้ชาวบ้าน ผมไม่รู้หรอก ผมก็รับฟังรายงานมา ติดตามมาอะไรมา ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา ต้องเตรียมการ ช่วยกันด้วย อะไรล่ะ เกี่ยวกับเรื่องก่อสร้าง อาชีวะ ไปดูได้หมดแหละ เดี๋ยวพอฝนตก รถเสีย จราจร ติดขัด ถนนน้ำท่วม เหมือนเดิม เหมือนอย่างนี้มาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว มันต้องกลับไปดูสิว่า เออต้นเรื่องมันอยู่ไหน แล้วจะใช้จ่ายประมาณอย่างนี้ อย่างไร เช่น ป้องกันไม่ให้น้ำท่วม มันต้องหาระบบระบายน้ำใหม่ทั้งกรุงเทพ ไหวมั้ยล่ะ ที่ผ่านมาทำไมไม่ทำ ไม่ทำให้มันเป็นระบบ วันนี้ก็ยังอาศัยของเก่าอยู่นั่นแหละ เว้นแต่ที่สร้างใหม่ขึ้นมาก็มีใหม่ แต่ของเก่าไม่ได้ปรับปรุง มันก็คนมากขึ้น น้ำมันก็ลงรางระบายน้ำนี่มากขึ้น แถมน้ำเสียมากขึ้นอีก ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้อีก แทนที่จะเอาน้ำมารีไซเคิ่ลใหม่ ใช้ประโยชน์ได้เหมือนต่างประเทศเขาทำ ไม่ได้เลย มันต้องไปดูต้นทางทั้งหมด ดูตั้งแต่การผลิตน้ำเสีย ดูตั้งแต่การขจัดน้ำเสีย ตั้งแต่บ้าน ตั้งแต่ชุมชน และระบบระบายน้ำที่มันไม่ลง คู คลอง แม่น้ำเจ้าพระยา เหล่านี้ ทุกคน มันร่วมมือกันในสิ่งที่ไม่ถูกต้องกันมาตลอดอ้ะนะ ไอ้ที่ถูกต้องก็เยอะ ไม่ถูกต้องก็มาก ทีนี้จะทำอย่างไรให้มันไม่มีการทำผิดล่ะก็ต้องขอความร่วมมือไง ฉะนั้นวันนี้ผมก็กำชับไปแล้วว่า มันต้องช่วยกันดูแลตรงนี้ ทุกคนบ่นว่ารถติด แต่ให้ผมสร้างถนน จะสร้างไหวไหมล่ะถนน ถนนสายหนึ่งสร้างไหวไหมล่ะ กว่าจะสร้างถนนแต่ละสาย รถไฟแต่ละเส้น รถไฟฟ้าแต่ละสาย ใช้เวลาเป็นปีปี เพราะอะไรความขัดแย้งสูง ต้องย้ายคน ฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือตัวเอง จะทำยังไง ต้องประหยัด ต้องใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ขับรถคนละคัน เพราะน้ำมันถูก แล้วมาบอกว่าน้ำมันถูก คืออะไรก็จะเอาถูก ท้ายที่สุดรัฐบาลก็ต้องทำ แล้วรัฐบาลจะเอาเงินจากไหนล่ะ ใช่มั้ยล่ะ

พิธีกร: สุดท้ายนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีอยากจะฝากอะไรถึงพี่น้องประชาชนนะคะ ความห่วงใยที่อยากจะฝากไป หรือว่าอยากจะฝากอะไรทิ้งท้ายสำหรับคืนความสุขให้คนในชาติในคืนนี้ค่ะ

นายกรัฐมนตรี: จริงๆ ไอ้นี่ฝากไว้ผมกลัวจะหาว่าผมไปเอาความทุกข์มาให้ประชาชนนะ ผมอยากคืนความสุขให้ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้โดยเร็ว เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาวันนี้ เป็นการแก้ปัญหาที่ ที่ผ่านมาเป็นการแก้ที่ปลายทางตลอดไง ผมก็กำลังแก้กลางทาง แก้ต้นทางให้ได้ แต่ทั้งหมดเนี่ยมันแก้ไม่ได้ทีเดียวหรอก แม้กระทั่งกฎหมาย บังคับเท่าไหร่มันก็ไม่ได้ อยากให้ทุกคนที่เป็นคนไทยนะ ผมเน้นที่เป็นคนไทยนะ ไม่ว่าจะเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย แล้วแต่ ได้ให้การร่วมในการทำให้จิตใจตัวเองเป็น จิตใจที่ผ่องใส มีจิตสำนึกในการที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่วันข้างหน้า คือ Thailand 4.0 ก้าวพ้นกับดักตัวเองด้วย แก่นแท้ของประเทศเรามีอะไรบ้างล่ะ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถ้าเรายึดมั่นในสิ่งเหล่านี้ มันก็จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับประเทศ ให้กับประชาชน ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ละคนมีหน้าที่ของตัวเองต่อประเทศชาติแผ่นดินนี้อยู่แล้ว ทุกคนนะ ประชาชนต้องมี ฉะนั้นถ้าเราลดความขัดแย้งลงได้ สร้างคนที่มีคุณธรรม สร้างสังคมที่มีจริยธรรม มีจิตสำนึกที่เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีอุดมการณ์เหล่านี้ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ซะ


และในปีนี้เป็นปีมหามงคล อย่างที่กล่าวไปแล้ว ครบรอง 70 ปีครองราชย์ 84 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เราอยากให้ปีนี้เป็นปีมหามงคลอย่างแท้จริง คือ ประชาชนทุกผู้ทุกนาย กลับเข้ามาสู่ความเป็นปรกติสุข ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ตามนะ จะถูกจะผิดกฎหมาย ก็ไปเข้ากระบวนการยุติธรรมก็จบแล้ว และมาร่วมมือกับเราในการที่จะทำวันข้างหน้า ผมก็จะไม่ไปกล่าถึงวันเก่าๆอีก กฎหมายเค้าว่าเอาเองก็แค่นั้นเอง ขอแค่นี้แหละนะ พยายามลดความขัดแย้งกันให้ได้มากที่สุดนะ เราก็เอาอะไรที่มันเห็นดีเห็นงามร่วมกัน เห็นชอบร่วมกัน ซึ่งมันค่อนข้างยาก ไอ้เห็นชอบร่วมกันทั้งหมดมันน้อยอ้ะ มันต้องมีขัดแย้งอ้ะ ไอ้ขัดแย้งมากๆเอาไว้ก่อน ไอ้ขัดแย้งน้อยๆ จำเป็นต้องทำก็ต้องทำ มันอาจต้องใช้กฎหมายมาบังคับ แต่ท้ายสุดประชาชนก็น่าจะเข้าใจเองในวันหน้า ถ้ามันดีขึ้นในวันหน้านะ ผมคิดว่าที่ทำมานี้ไม่ได้ทำที่เลวร้ายให้กับบ้านเมือง ผมไม่อยากเห็นสิ่งที่มันเลวร้ายเกิดขึ้นต่อไปไม่ว่าจะจากใครก็ตามนะ ไม่ใช่เฉพาะคนนั้นคนนี้ไม่ใช่ เพราะว่ามันด้วยความเป็นไทยอ้ะนะ เราก็อลุ่มอล่วยกันมาตลอดไง วันนี้ทุกประเทศเขาใช้กฎหมาย แล้วเราจะอะลุ่มอล่วยกันทุกเรื่องไปเหรอ มันไม่ได้หรอก แล้วเราก็ต้องการนี่ ต้องการโน่น มันเป็นไปไม่ได้


ขอบคุณนะครับ ของคุณทุกภาคส่วนนะทั้งภาคประชาชน ภาคประชาสังคมก็เหลือ NGO นะ ก็ขอให้เข้าใจบ้างว่า เอ๊เราจะไปประเทศยังไง โดยที่เราไม่ไปเสียตรงนั้นด้วย ผมไม่อยากไปละเมิดใครอยู่แล้วนะ สิทธิมนุษยชนเนี่ย ก็ไปดูสิครับ บางทีก็พูดบิดเบือนโน่นนี่ ถูกทำร้ายบ้าง ผมถามนะก็ไม่เห็นมีใครเขาอะไรเพราะเขารู้อยู่แล้วยังทำไม่ได้ จะวันไหนก็ทำไม่ได้ทั้งนั้นแหละ ฉะนั้นอย่าให้บิดเบือน วันนี้ก็มาร้องเรียกให้กับผู้กระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก มันก็ได้ใจกันหมดแหละนะ ก็มาถามเจ้าหน้าที่สิว่าทำอย่างนี้หรือเปล่าที่เขาพูดมา ไม่ใช่พูดในสื่อ หรือส่งเรื่องไปต่างประเทศ แล้วให้ต่างประเทศกลับมาเล่นงานประเทศตัวเอง ผมถามว่า มันควร ไม่ควรล่ะ ทำหน้าที่ของท่านแต่ประเทศชาติเสียหาย ผมไม่ได้ห้ามท่านทำ แต่ก่อนจะทำก่อนจะไปที่ไหนก็ตาม ท่านมาถามเราก่อน ว่ามันเป็นยังไงข้อเท็จจริง ไม่ใช่ไปบิดเบือนกันตามคนทำความผิดเค้าพูดมา แต่รัฐบาลพูด ไม่ดูเลย ไม่ฟังเหตุผลรัฐบาล ผมถามว่าแล้วจะมีไว้ทำอะไรเนี่ยฮะ


ขอบคุณฮะ ชื่นชม ภาคประชาชนที่เข้าใจร่วมมือ เข้มแข็งและตื่นตัวมากขึ้น ในการที่จะเดินหน้าทำประชามติ และการเลือกตั้งครั้งต่อไป ผมไม่ได้ขัดขวางท่านทำให้ได้ก็แล้วกัน ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

พิธีกร: ค่ะขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ


คุณผู้ชมคะอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้นะคะว่า ปีนี้เป็นปีมหามงคลนะคะ สิ่งที่อยากเห็นก็คืออยากจะให้คนไทยทุกคน มีความรัก มีความสามัคคี ให้ความร่วมมือในการทำงานของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ใหกับพี่น้องประชาชนนะคะ ตลอดทั้งรายการคืนความสุขให้คนในชาติคืนนี้เราได้เห็นถึงความตั้งใจที่จะมอบความสุขให้กับประชาชน ความตั้งใจของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือความร่วมมือของพี่น้องประชาชนนั่นเองนะคะ
สำหรับวันนี้หมดเวลาของรายการคืนความสุขให้คนในชาติแล้วค่ะ กลับมาพบกันได้ใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ สำหรับวันนี้ดิฉัน เขมอัปสร หนูขาว และท่านนายกรัฐมนตรี ลาผู้ชมไปพร้อมกันในโอกาสนี้เลยนะคะ สวัสดีค่ะ

นายกรัฐมนตรี: สวัสดีครับ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง