นายกฯเผยเศรษฐกิจไตรมาสแรก สูงสุดในรอบ 3 ปี

การเมือง
20 พ.ค. 59
21:30
272
Logo Thai PBS
นายกฯเผยเศรษฐกิจไตรมาสแรก สูงสุดในรอบ 3 ปี
นายกฯเผยเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 59 สูงสุดในรอบ 3 ปี ระบุได้พูดคุยกับบริษัทเอกชนให้เลิกซื้อข้าวโพดที่ปลูกในที่ดินที่ผิดกฎหมายแล้ว แนะเกษตรกรปลูกถั่วทดแทนข้าวเนื่องจากน้ำน้อยทำข้าวคุณภาพลดเสี่ยงราคาตก-ขาดทุน

วันนี้ (20 พ.ค.2559) เมื่อเวลา 20.15 น.ที่ผ่านมา โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ออกอากาศเทปบันทึกรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมี พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินรายการ และได้บันทึกเทปที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในโอกาสที่คณะของ พล.อ.ประยุทธ์ได้เดินทางไปเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ โดยมีเนื้อหาดังนี้

พิธีกร: สวัสดีครับ ท่านผู้ชมครับ ผม พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขออนุญาตนำท่านผู้ชมทุกท่านเข้าสู่รายการคืนความสุขให้กับคนในชาตินะครับ


ท่านผู้ชมครับ เป็นประจำในทุกค่ำคืนวันศุกร์นี่ ท่านนายกรัฐมนตรีจะได้ใช้ห้วงเวลาช่วงนี้นะครับให้เป็นประโยชน์ เพื่อบอกเล่า แล้วก็ชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ถึงการทำงานแล้วก็ถึงนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ในการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างแท้จริงนะครับ ท่านผู้ชมครับ ในโอกาสนี้ต้องบอกว่ารายการคืนความสุขของเรานี่เป็นรายการที่มีความพิเศษมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะว่าวันนี้ผมมาอยู่ที่ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งอยู่ในโอกาสที่ท่านนายกฯ เดินทางเยือน สหพันธรัฐ รัสเซีย อย่างเป็นทางการนะครับ และขณะนี้ผมได้อยู่กับท่านนายกรัฐมนตรีแล้วนะครับ


สวัสดีครับท่านนายกครับ

นายกรัฐมนตรี: สวัสดีครับ

พิธีกร: ท่านนายกฯ ครับ ปกตินี่ในช่วงเริ่มต้นของรายการของเรานี่ ท่านนายกฯ ก็มักจะมีเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วก็เป็นเรื่องของการให้กำลังใจ เป็นการชื่นชมบุคคลที่มีความสามารถ รวมทั้งคนที่สามารถจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นได้ วันนี้ท่านนายกฯ มีอะไรอยากจะพูดถึงเรื่องนี้ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี: ก็คงเป็นเรื่องขอความชื่นชมนะครับ ความสามารถของเด็กไทยที่เราเคยพูดกันว่าเด็กไทยนั้นไม่เคยแพ้ใครในโลก ได้ไปคว้ารางวัลใหญ่ 3 รายการ จากการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมระดับโลก อินเทล ไอเซฟ 2016 ครั้งที่ 67 ที่เมืองฟีนิกซ์ มลรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ เมื่อวันที่ 8 ถึง 14 พฤษภาคม 2559 อันนี้เป็นการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐ นะครับ มีตัวแทนนักเรียนจาก 80 ประเทศทั่วโลก กว่า 1,800 คน นะครับลงชิงชัย


ก็ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนทั้ง 4 คน นั้นด้วย ได้แก่ จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ รวมทั้งครู ผู้ปกครอง และผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
สิ่งที่น่าสนใจคือผลงานวิจัยช่วยเหลือ เกี่ยวกับเรื่องเกษตรกรนะครับ ผู้เลี้ยงหนอนไหมเพื่อลดต้นทุนแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต อันนี้เป็นแนวทางของรัฐบาลอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการส่งเสริมการวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อจะยกระดับภาคเกษตร กรรม “ไทยแลนด์ 4.0”

อันที่ 2 คือการแต่งกายชุดไทยพร้อมกับคำว่า “ยิ้มสยาม” ในระหว่างการจัดแสดงผลงาน มีความงดงาม เผยแพร่ความเป็นไทย มีภาพลักษณ์อันดีไปในตัวด้วย แล้วก็ได้ประโยชน์ “2 ต่อ” ไง ทั้งในเรื่องของการแข่งขันโปรแกรมเมอร์ ด้วยนะครับ สำหรับการแข่งขันโปรแกรมเมอร์ระดับโลก ณ ภูเก็ต นั้นเราก็…
พิธีกร:อันนี้เป็นอีกงานหนึ่งทีเกิดขึ้นในประเทศไทยนะครับ ก่อนหน้านั้นเป็นการพูดถึงเยาวชนซึ่งไปประสบความสำเร็จอยู่ต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกา

พิธีกร:อันนั้นก็เป็นเรื่องราวทีเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกานะครับ แต่ว่าในระหว่างที่เราอยู่กันที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แห่งนี้นี่ มีเรื่องราวสำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทยนะครับ เป็นเรื่องของงานระดับโลกงานหนึ่งนะครับ ก็คือการแข่งขันโปรแกรมเมอร์ ที่ภูเก็ต ท่านนายกฯ มีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรครับ จะเป็นประโยชน์อย่างไรกับประเทศไทยครับ

นายกรัฐมนตรี:ก็จะเห็นได้ว่าเราก็มีความทันสมัยนะ ต่างประเทศเขาก็จัดกันขึ้นมา เราก็จัดของเราขึ้นเองด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสอดประสาน และสร้างระบบการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจให้กับเด็กเราด้วยนะครับ เราก็เป็นการจัดในประเทศของเราที่ภูเก็ตนะ เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซี่ยน เพราะที่ผ่านมานั้นจัดในประเทศยักษ์ใหญ่ สหรัฐฯ, แคนาดา, จีน, ญี่ปุ่น, รัสเซีย เพราะงั้นก็เป็นโอกาสสำคัญของไทย ในการที่จะแสดงศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาด้าน ดิจิทัลของไทยนะครับ
ก็ต้องขอขอบคุณ
(1) กระทรวงไอซีที
(2) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
(3) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้เกี่ยวข้องนะครับ
(4) IBM


แล้วก็ทีมที่ปรึกษาที่เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก 128 ทีม จาก 40ประเทศ มีจากไทย 2 ทีม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะครับ ประโยชน์ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญก็คือว่าด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นการจุดประกายนักคอมพิวเตอร์รุ่นเยาว์ ให้เป็นนักคอมพิวเตอร์ระดับโลกในอนาคต ส่งเสริมกระบวนการด้านความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ ไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าต้องมีการพัฒนาในเชิงปัญญา ปัญญาประดิษฐ์ เพราะถ้าเราไม่เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ ก็จะไปไม่ได้หรอก เพราะว่าโลกวันนี้ต้องไปด้วยเทคโนโลยี แล้วก็ใช้เศรษฐกิจ ดิจิตอล เป็นตัวแรงขับเคลื่อน
ด้านที่ 2 ก็คือด้านเศรษฐกิจนั้นเราก็ได้มีการฝึกฝนเยาวชน อาสาสมัคร ให้มีการจัดงานระดับโลกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อจะสร้างงาน สร้างรายได้ ท่องเที่ยวและบริการ สินค้าท้องถิ่น สินค้าชุมชน เป็นการ “เปิดประตูไทย สู่สายตาชาวโลก” มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1300 คน ก็ถือว่าไม่น้อยนะทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติมาด้วยนะครับ

พิธีกร:ท่านนายกฯ ครับ เรื่องราวต่างๆเหล่านี้ การจัดการประชุมในประเทศไทยนี่ ไม่ใช่งานนี้เกิดขึ้นเป็นงานแรก แต่ว่ามีหลายงานแล้วครับที่เกิดขึ้น แต่อาจจะ ไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนัก ตรงนี้ท่านนายกฯ มองว่าจะเป็นโอกาสอย่างไรกับประเทศไทยถ้าเรามีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นมากๆ เพิ่มขึ้นนี่ครับ

นายกรัฐมนตรี:คือสิ่งสำคัญก็คือเราจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศเขาด้วย และอันที่ 2 คือสร้างแรงจูงใจให้กับคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นอนาคตของคนไทย ของเยาวชนไทยทั้งสิ้น


โอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือครับ ก็คือในเรื่องของการพัฒนากิจกรรม “ไมซ์” ที่เรียกว่า การประชุมองค์กร การประชุมขนาดเล็ก ซึ่งปีนี้ผมได้รับรายงานว่ามีสถิติสูงขึ้น จากการจัดกิจกรรม“ไมซ์” นี่ แล้วก็สร้าง Incentive ในการจัดนำเที่ยว, Convention การประชุมนานาชาติ การประชุมขนาดใหญ่, Exhibit นิทรรศการ การแสดงสินค้า ทั้งนี้ก็เพื่อจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ กระจายรายได้ไปยัง “ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง” ท่องเที่ยว บริการ โรงแรม ร้านอาหาร ท้องถิ่น นะครับ ก็ถ้าดูจากสถิติแล้ว รายจ่ายนักท่องเที่ยว ประมาณ 4,000 – 5,000บาท ต่อคน ต่อวันนี่ พอจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วก็ภาพลักษณ์ของประเทศในภาพรวมด้วย เช่นการโปรโมทสินค้า บริการของไทย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ อาหาร นวดแผนไทย สถานที่ท่องเที่ยว หรือว่าธรรมชาติที่งดงามของบ้านเรานี่นะครับ มีโอกาสที่จะเผยแพร่ไปได้มากขึ้น


โอกาสที่ 2 ก็คือการแสดงบทบาทนำ “เชิงพฤตินัย” ด้านความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทีเรียกว่ากลุ่ม G-77 มีสมาชิก 134 ประเทศ เราก็ได้เผยแพร่แนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้หลักการของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว นะครับ เพื่อจะได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ นะ SDGs นะครับ


ประการต่อไปคือการประชุมร่วม 15 ชาติ เพื่อจะแก้ปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดีย จุดยืนของไทย เราก็ต้องปฏิบัติตามหลักสากล กฎหมายระหว่างประเทศด้วย แล้วมีการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ควบคู่การดูแล ความมั่นคง ผลประโยชน์ และรักษาภาพลักษณ์ของชาติ ต้องแก้ที่ต้นเหตุนะ การทำอะไรก็ตามต้องแก้ต้นเหตุ การมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ไม่งั้นเราก็มาแก้ปลายทางตลอด ก็เป็นปัญหากับประเทศเรา ประเทศเราก็จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมการอพยพแบบไม่ปกติ และเป็นแหล่งผลประโยชน์ ต่อไปก็เป็นขบวนการค้ามนุษย์ อะไรทำนองนี้ เป็นอันตรายต่อบ้านเรานะครับ


แล้วก็ที่สำคัญก็คือว่าถ้าหากเราทำบ้านเรานี่ให้มี ความมั่นคง สงบ เรียบร้อย ก็จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง” ความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกคนนะครับ ไม่ใช่เรื่องของ ทหาร ตำรวจ หรือพลเรือนเท่านั้น ทั้งประชาชนแล้วก็ สื่อมวลชน ล้วนแต่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงภายในประเทศได้ด้วย แล้วก็ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ อย่าไปเขียนกัน ให้ร้ายกัน จนเกินไปนะครับ ผมไม่รังเกียจ ถ้าจะเขียนในข้อเท็จจริง แต่ถ้าเขียนอะไรที่บิดเบือนมากๆ เขียนในเรื่องความขัดแย้งมากๆ สายตาชาวต่างชาติ เขามองเราไม่ดี เพราะงั้นไทยในประชาคมโลกก็เสียหาย แล้วผมถามว่าได้อะไรขึ้นมา ไม่เห็นได้อะไรขึ้นมาเลย วันนี้เรากำลังปฏิรูปประเทศอยู่ไง ใช่ไหม?

พิธีกร: ท่านนายกฯ ครับ ยังมีข่าวดีอีกหลายข่าว นะครับที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสำคัญที่ทุกคนเรียกว่าจับตามอง ก็คือในเรื่องของเศรษฐกิจครับ ล่าสุดมีการประเมินว่า เศรษฐกิจของไทยจะมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มากกว่าไตรมาสที่แล้ว นะครับ ทั้งนี้นี่มีบางคนก็วิเคราะห์ไปว่า เป็นเพราะว่าประเทศเรามีวิสัยทัศน์ของประเทศที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งให้เป็น “ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”


นอกจากนั้นรัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความมั่นคง ซึ่งทุกคน ทุกภาคส่วนมองว่า เป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ตรงนี้ท่านนายกฯ มองยังไงครับ เพราะว่าปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย นักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ ต่างๆ รวมทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเองก็มองว่า เศรษฐกิจไทยกำลังมีการเจริญเติบโตขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ตรงนี้อยากจะเรียนถามว่าท่านนายกฯ มองว่าว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญ หรือว่าสิ่งอะไรที่รัฐบาลทำแล้วสามารถก่อให้เกิดสิ่งนี้ครับ

นายกรัฐมนตรี:คือผมคิดว่าเราต้องมาดูตรงนี้ก่อนนะ ว่าเราต้องมองเศรษฐกิจมหภาค และจุลภาค พร้อมกันไปด้วย มหภาคก็คือการทำโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทยเรานะครับ ให้เข้มแข็งในทุกมิติ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก SMEs Start-up อะไรต่างๆ เหล่านี้ ต้องแข็งแรงขึ้น มีการเชื่อมโยงเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ใช่ไหม ที่นี้ระดับจุลภาคก็ต้องก็ต้องมาดูสินค้าต่างๆ ที่เรามีเป็นจำนวนมากคือสินค้าทางการเกษตร พี่น้องเกสรกรนี่มีรายได้น้อย ผมคิดว่าตัวเลขเหล่านี้ ถึงแม้ว่าตัวเลข ปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเราในช่วงนี้นะ
ไตรมาสแรกปีนี้ขึ้นเป็น 3.2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี ’57ก่อนเราเข้ามานี่ ติดลบ 0.7% เห็นได้ว่าก็ขึ้นมา เศรษฐกิจโลกก็มีปัญหาขณะนี้นะ แสดงว่า รัฐบาลก็กำลังแก้ปัญหาได้ค่อนข้างจะถูกวิธีแล้ว แล้วก็ปีนี้ไตรมาสที่ 1 นี่ขึ้นมา 3.2 ถ้าไตรมาสก่อนหน้านั้น ไตรมาส 4 2.8 ก็ขึ้นไปอีก เพราะงั้นถือว่าเป็นการขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศยังไม่ดี เช่น การขยายตัวของสหรัฐฯ ก็ยังเป็นลบ ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 8 ไตรมาส เศรษฐกิจจีนต่ำสุดในรอบ 6-7 ปี เพราะงั้นการที่เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวต่อเนื่องได้ จึงถือว่าเป็นข่าวดีนะ


แล้วก็เป็นความรู้สึกจากพวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ข้าราชการ ประชาสังคม ภาคธุรกิจ รวมความไปถึงพี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทำยังไงเขาจะมีเงินใช้ที่เพียงพอนะ ก็ตามไปสู่ว่าเราจะทำอย่างนี้ได้สำเร็จก็คือว่า กุญแจสำคัญต้องมีทั้งกุญแจไขกล่องใหญ่ กล่องเล็กไง กล่องใหญ่ก็ไปไขของรัฐบาล ของระดับบนโน่น กิจกรรมข้ามชาติ อะไรต่างๆ เหล่านั้น กุญแจไขกล่องเล็ก กล่องเล็กนี่มีคนเยอะ ก็คือเกษตรกร


เพราะงั้นกุญแจความสำเร็จอันล่างนี่สำคัญที่สุดนะครับ เราก็ต้องไปขับเคลื่อนภาคการเกษตร เกษตรกรที่มีรายได้น้อย ต้องไปคิดดูซิว่า เดือนหนึ่งๆ หรือปีหนึ่งเขาควรจะมีรายได้เท่าไร ในการที่จะดำรงชีพได้อย่างพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะ ผมคิดว่าประมาณสักเดือนละ 10,000 บาท อย่างน้อยนะเท่ากับใกล้เคียงกับวันละ 300 บาท นี่ทำได้ไหม เกษตรกรจะมีรายได้อย่างนี้ได้อย่างไร ก็ต้องไปดูหลายๆ อย่างนะ ทั้งต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งสำคัญนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้มีปัญหาเรื่องน้ำเข้าไปอีก ก็เลยทำให้รายได้เขาลดลงใช่ไหม รัฐบาลก็หาทุกวิถีทางนะ ทุกมาตรการนะครับ ในการที่จะส่งเสริมให้กับเขา ปัจจัยการผลิตบ้าง ค่าเช่าที่นาบ้าง การใช้เครื่องจักรเครื่องไม้เครื่องมือบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ราคาก็ยังไม่เพียงพอ คือส่วนต่างของต้นทุนการผลิต กับราคาขายที่ได้วันนี้ เพราะโลก เกษตรตกไงแล้วโลกก็ราคาลดลงโดยเฉพาะการเกษตรนี่ เราก็ต้องไปหาดูซิว่าชาวนาจะอยู่ได้อย่างไร หรือพืชไร่ พืชสวน สวนผลไม้ ทำอย่างไร
เราก็ต้องมาแก้ทั้งระบบอีกแหละ ทั้งคนปลูก ทั้งต้นทุนการปลูกนะ การตลาด แล้วไปสู่การใช้ปัจจัยร่วมกัน ทำงานร่วมกันก็โดยใช้คำว่า “ประชารัฐ” ยังไงประสานพลังซะ ประชาชน เอกชน รัฐบาล แนวทางดังกล่าวนั้นก็ต้องไปดูที่สาเหตุหลักแห่งปัญหา ถ้าจะดูชาวนา ดูตรงไหน ต้นทุนของเขาแล้วก็รายได้ของเขา จะมาจากตรงไหน รัฐบาลจะได้ไปส่งเสริมได้ถูกจุด วันนี้ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย เขาไปหาข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น เป็นพื้นที่นะ เป็นภูมิภาค เป็นจังหวัด กลุ่มจังหวัดอะไรก็แล้วแต่ ผมเคยพูดมาหลายครั้งแล้ว เพราะขึ้นอยู่กับน้ำด้วย พูดถึงตลาดด้วย ถ้ามากเกินไป ตลาดก็ราคาตก แล้วถ้าชาวบ้านไม่เข้มแข็ง ปลูกอย่างเดียวขายไม่เป็นอีก ก็ต้องไปพึ่งพ่อค้าคนกลาง เป็นคนกำหนดราคา


วันนี้เราเอา 3 อย่างนี่มาคละเคล้ากันให้หมด แต่ผมว่ายังไม่พอหรอก ยังไม่ถูกใจผม ผมอยากให้พี่น้องเกษตรกรยิ้มออก ยิ้มได้ซะที ไม่งั้นก็ ท่านจะเห็น สังเกตนะ ผมสงสารเขาตรงที่หน้าเขาดำ แล้วหน้าเหี่ยวย่นอะไรต่างๆเหล่านี้ ทั้งๆ ที่อายุไม่มากนักหรอก เพราะเขาตรากตรำ คราวนี้จะให้มีอย่างเดียว คือทำการเกษตรอย่างเดียว หรือเกษตรเชิงเดี่ยว ก็ไม่ได้ จะทำข้าวอย่างเดียวก็ไม่ได้ อาจจะต้องทำไร่-นา-สวน ผสม ใช่ไหม ที่ไหนมีน้ำ ที่ไหนไม่มีน้ำ ที่ไหนดินดี ที่ไหนดินไม่ดี ต้องไปแบ่งกันให้ชัดเจน


คือการโซนนิ่งของรัฐบาลทำได้แต่เพียงว่า พื้นที่นั้น ภูมิภาคนั้น น้ำเท่านั้น ประชาชนก็ต้องมาดูซิว่าในพื้นที่ของเราอยู่ในพื้นที่แบบไหน ที่เราทำ AGRI Map ไปไง นะ มีน้ำไหม ดินดี ไม่ดี ต้องไปดูกันตรงนั้น พอดูตรงนั้นเสร็จแล้ว จะมาดูอะไร แล้วจะปลูกอะไรดีล่ะ ตรงไหนปลูกข้าวแล้วได้ผล ราคาดี ก็ปลูกไป ตรงไหนที่ไม่ได้ต้องไปปลูกพืชอย่างอื่นหรือบางทีอาจจะต้องปลูกผสมผสานที่เรียกว่า ไร่ นา สวน ผสม มีทั้งข้าวมีทั้งพืช มีทั้งพืชผัก ผลไม้ ที่ยังไงก็มีกินน่ะ ไม่ต้องไปซื้อเขา เมื่อไม่ซื้อเขาเสียอย่าง รายจ่ายก็ลดลงใช่ไหม เพราะงั้นกำไรลดลง ก็ยังพออยู่ได้ แล้ววันหน้าจะต้องดีขึ้น
เพราะงั้นผมอยากให้ฟังคำแนะนำรัฐบาลนะ วันนี้จะมีศูนย์ของกระทรวงเกษตร แล้วก็มีทั้งในหมู่บ้านด้วย ศูนย์การเรียนรู้นะ แล้วตอนนี้ผมกำลังไปตั้งของ กอรมน.จำนวน 7,800 กว่าศูนย์นะ คือจะแนะนำประชาชนทั้งหมดว่าควรจะต้องทำอะไร ผมบังคับไม่ได้ เพราะงั้นคนมีที่นา 5 ไร่ 10 ไร่ 15ไร่ ควรจะทำอะไร เดี๋ยวเขาจะแนะตรงโน้น แล้วเขาจะมาดูเรื่องการตลาดให้ด้วย ไม่งั้นก็จะทับซ้อนไปหมดน่ะ ยังไงก็กำไรน้อยเหมือนเดิม


สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือว่าเราจะต้องรวมกันให้ได้ รวมกลุ่มให้ได้ กลุ่มปลูกข้าว ไร่นาสวนผสม ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ทำนองนี้ รัฐจะได้ส่งเสริมได้ถูกช่องทาง บางอันส่งเสริมแค่ต้นทุน บางอันส่งเสริมแค่การตลาดใช่ไหมให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แล้วให้ความรู้เขาไป เป็น Smart Farmer


ถ้าทุกคนจะเรียนรู้ง่ายๆ ก็ไปดูที่เขาสำเร็จซิ ก็ฝากผู้ว่าฯ ไว้ด้วยแล้วกัน ผู้ว่าฯ แม้กระทั่งกระทรวงเกษตร บางทีเรียกเขามาอบรมหรือไปอบรมให้เขาบางที่เขาไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่เห็น แล้วถ้าเขาเห็นมานี่เขาจะไปทำที่เขา 5ไร่ 10ไร่ 15 ไร่ เปลี่ยนจากทำนาไปเป็นอย่างอื่น ได้ด้วย ไม่ต้องบังคับเขา แต่จะต้องพาไปดูที่เขาทำ 15 ไร่ ดินแบบนี้ น้ำแบบนี้ เขาทำได้กำไรไร่ละ 35,000 เช่น ปลกถั่วเขียว หรือถั่วเหลืองอะไรก็แล้วแต่ที่บางครั้งเราก็ขาดแคลนนะ


ข้าววันนี้เป็นปัญหาสำคัญ เพราะว่าน้ำมันน้อย คุณภาพข้าวก็ไม่ได้ โรงสีเขาก็ซื้อในราคาที่ถูก เมื่อหักลดต้นทุนบางทีขาดทุนจากต้นทุนด้วยซ้ำไป ต้นทุนเราใช้เยอะด้วย แล้วก็น้ำแล้ง ข้าวก็เม็ดลีบ ข้าวก็ไม่ดีก็ต้องถูกตัดราคาลงไป


เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนจะเรียนรู้ง่ายๆก็ไปดูที่เขาสำเร็จซิ เพราะฉะนั้นก็ฝากผู้ว่าไปด้วยแล้วกัน ผู้ว่า แม้กระทั่งกระทรวงเกษตรฯ บางทีเรียกเขามาอบรม หรือบางทีอบรมเขาก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่เห็น แต่ถ้าเขาเห็นเขาก็อาจจะไปทำในที่ของเขา 5 ไร่ 10 ไร่ เปลี่ยนจากทำนาไปเป็นอย่างอื่นได้ด้วย ไม่ต้องบังคับเขา แต่จะต้องพาเขาไปดู 15 ไร่ ดินแบบนี้ น้ำแบบนี้ เขาทำไร่ได้กำไรไร่ละ 35,000 บาท

นายกรัฐมนตรี:เช่น ปลูกถั่วเขียว ถั่วเหลือง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่บางครั้งเราขาดแคลน ข้าว เป็นปัญหาสำคัญเพราะว่าน้ำน้อย คุณภาพข้าวก็ไม่ได้ โรงสีก็ซื้อในราคาที่ถูก เมื่อนำมาหักลบจากต้นทุนก็พบว่ามันขาดทุนด้วยซ้ำไป ซึ่งต้นทุนเราใช้เยอะด้วย แล้วก็ถ้าน้ำแล้งข้าวก็เม็ดลีบ ข้าวก็ไม่ดี ก็ต้องถูกตัดราคาลงไป นี้คือความไม่พอเพียงที่เกิดขึ้น


นายกรัฐมนตรี:เพราะฉะนั้นเราต้องบูรณาการกันให้ได้นะครับ ส่งเสริมกันให้ได้ ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ อย่าไปหลงเชื่อคำบิดเบือน ซึ่งบางทีก็บิดเบือนว่ารัฐบาลเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ รัฐบาลไม่จริงจัง ผมอยากจะกราบเรียนว่า ผมก็คิดละเอียดนะ คิดทุกวันทุกคืนมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ดีกินดี แต่ทุกคนต้องการเร็วไง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เพราะหลายอย่างนี้มันเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาเรื่องดินที่มันเสื่อมคุณภาพ ปัญหาเรื่องของการใช้ปุ๋ย ปัญหาเรื่องของเมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอ ปัญหาการตลาด และอีกหลายๆอย่าง

นายกรัฐมนตรี:เพราะฉะนั้นต้องเร่งบูรณาการ ใครทำได้ดีแล้วก็ พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน อย่าไปอิจฉาเพื่อนกลัวเพื่อนจะรวยกว่าหรือจะรวยทัน ไม่ต้อง ก็ต้องช่วยกันเพื่อจะลดความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดจากความยากจนซะเป็นส่วนใหญ่ ใช่ไหม เพราะมันต้องมีคนนำมาขัดแย้ง เพราะฉะนั้นถ้าเราขัดแย้งกันมากๆชาวนาก็เดือดร้อน ผู้ประกอบอาชีพอิสระก็เดือดร้อน หลายๆอาชีพเดือดร้อน เดือดร้อนจากอะไร เดือดร้อนจากการไปใช้กฎหมายเข้าไปอีก เพราะหลายอย่างมันไม่ได้อยู่ในกฎหมายไง เพราะฉะนั้นเรามารื้อ แก้ปัญหา มันก็เกิดความขัดแย้ง เกิดความขัดแย้งมันก็มีคนบิดเบือน มันก็เลยทำให้ความสงบเรียบร้อยมีปัญหาอีก

นายกรัฐมนตรี:ใช่ไหม มีการประท้วง มีการเรียกร้องราคา จะให้รัฐไปส่งเสริมงบประมาณในการที่ให้เปล่า ซึ่งผมอยากจะกราบเรียนว่าโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาเปล่าๆ อย่างน้อยท่านต้องเข้มแข็ง อย่างน้อยท่านต้องขยันขันแข็งด้วยตัวเอง ทำงาน ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ไม่ทำงานแล้วได้เงิน เว้นแต่เรื่องทุจริต เพราะฉะนั้นอย่าไปส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ เราต้องสร้างบรรยากาศในการลงทุน ให้สังคมเข้าใจรวมกลุ่มกันให้ได้ ไม่ใช่ไปแบ่งประชาชนเป็นคนละพวกคนละฝ่าย มันก็จะสร้างบรรยากาศแห่งความขัดแย้ง ตามมาสู่ประชาธิปไตย มาสู่การใช้กฎหมาย มาสู่การอ้างว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าไปอีก สิ่งเหล่านี้ทำให้โลกภายนอกมองเราไม่ดี


นายกรัฐมนตรี:คงไม่ใช่อย่างเดียวที่ว่าผมเข้ามาแบบนี้ เพราะผมเข้ามาทำงาน มาแก้ไข้ ผมก็รู้ตัวของผมเองอยู่ แต่ผมพยายามจะทำให้สิ่งที่ผมเข้ามาจากวิกฤตเปลี่ยนเป็นโอกาสให้แก่ท่าน ท่านก็ต้องร่วมมือกับผม สร้างบรรยากาศในการลงทุน สร้างความเข้มแข็งในปลายทางให้กับผม อยากให้ทุกคนช่วยกันแบบนี้

พิธีกร: ผมคิดว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้อยู่ก็คือเรื่องของการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

นายกรัฐมนตรี:สิ่งนี้มันสำคัญเพราะว่าเราพยายามพูด ซึ่งผมพูดจะฟังหรือไม่ฟังผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็ขอให้ฟังผมหน่อยเถอะครับ ซึ่งอย่างน้อยมันก็เป็นประโยชน์หรือใครที่ไม่ได้ฟังก็ฝากคนอื่นเขาฟังแล้วก็ถามซิว่าผมพูดอะไรไปบ้าง แล้วก็ติดตามในหนังสือพิมพ์ซิ ซึ่งบางเล่ม บางคอลั่มก็เขียนดี หลายเรื่องนะที่ผมดูในหนังสือพิมพ์ ทุกเล่ม อาจจะไม่ทุกเล่ม เว้นแต่การพาดหัวข่าว แต่ว่าเนื้อข่าวข้างในเขียนได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ เรื่องกฎหมาย เรื่องอะไรต่างๆที่มันดีขึ้นทุกอย่าง ไอ้ข้างหน้าการเมือง แต่ข้างในมันพูดถึงความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นคนไปดูความขัดแย้ง มันก็เลยไม่ไปดูความก้าวหน้าข้างใน

นายกรัฐมนตรี:นี้แหละคือสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทย ถ้าท่านอยากให้ทุกอย่างมันเร็วขึ้น ท่านก็ต้องช่วยกันอธิบาย แทบจะลดสิ่งที่มันไม่เข้าใจลงไปบ้างด้วยการชี้แจ้งในข้อเท็จจริงโดยไม่บิดเบือน ถ้าเราก็กันได้อย่างนี้ ส่งเสริมกัน บูรณาการกัน ทำความเข้าใจกันทุกมิติ ความขัดแย้งก็หมดสิ้นไป ความเชื่อมั่นในการลงทุนของต่างประเทศก็เข้ามา เวลาเขาเข้ามาก็อย่าไปกังวล รัฐบาลผม หรือ รัฐบาล คสช.ก็จะดูว่าการลงทุนของเขาจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มันจะต้องเป็นเศรษฐกิจสีเขียว มันจะต้องเป็นเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเกษตรอุตสาหกรรมด้วย เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมในเชิงสร้างสรรค์ แล้วการไปสู่ Thailand 4.0 ใช้เทคโนโลยี เป็น Smart Farmer

นายกรัฐมนตรี: นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ มันจะต้องทำทุกอย่างให้มันสงบเรียบร้อย เขาเรียกว่าความมั่นคงจะเป็นบ่อเกิดของเศรษฐกิจ ของสังคม ของการต่างประเทศ การค้าการลงทุนมันจะดีขึ้นมาเอง ถ้าเรายังทะเลาะเบาะแว้งกันไปเรื่อยๆไม่มีทาง ผมทำให้ตายมันก็ไม่เกิด หรือถ้าเกิดก็น้อยมาก

พิธีกร: กลับมาที่ข่าวดีที่เรากำลังพูดถึงเรื่องของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หลายๆฝ่ายมองว่ากลไกประชารัฐก็มีส่วนช่วย ท่านนายกมีความคิดเห็นอย่างไรครับ

นายกรัฐมนตรี:จริงๆแล้วจะบอกว่าผมมีความเห็นหรอ ผมเป็นคนสั่งให้มันเกิดขึ้นมาเอง เพราะผมดูแล้วภาคธุรกิจที่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจข้ามชาติที่คนมองว่าเอื้อประโยชน์ ซึ่งมันเป็นเรื่องของอดีตที่ผ่านมาก็ว่าไป วันนี้ผมต้องเอาเขากลับมา กลับมาเพื่อจะส่งเสริมภาคประชาชนให้ได้ เอาเอกชนนักธุรกิจเข้ามาจัดคณะทำงานแล้วก็มาขับเคลื่อนจะเห็นได้ว่าวันนี้มีการจัดตั้ง บริษัทประชารัฐส่วนกลาง และส่วนประจำพื้นที่ เช่น จังหวัดต่างๆ ต่อไปก็ต้องมีอีกครบปีนี้ ต้องมีครบทุกจังหวัด มันก็จะเป็นช่องทางทางการตลาดแล้วก็การสร้างความเข้มแข็งให้กับเขา แต่ช่วงแรกนี้ภาคธุรกิจเอกชนก็จะมาช่วยให้บริหารในระยะแรกแล้วก็การลงทุนจะเป็นของภาคประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และวันหน้าเขาก็จะถอนตัวออกไป

นายกรัฐมนตรี:คืออย่าไปกลัวว่าเขาจะมารวบรวมผลประโยชน์ของประชาชนมาหลอกเขาอีก ซึ่งเขาทำไม่ได้เพราะผมไม่ให้เขาทำ วันนี้ผมเคยบอกไปครั้งที่แล้ววันนี้ผมก็ย้ำไปกับผู้แทนบริษัทที่เจอที่ไปรับซื้อการปลูกข้าวโพดบนเขา เขารับปากผมแล้วเพราะทั้งประกาศไปแล้วว่าในฤดูกาลนี้ เขาจะเลิกซื้อข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งก็มีคนที่เดือดร้อน เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าไปดูด้วยนะเพราะถ้าเขาขายไม่ได้แล้วเขาจะเอาอะไรกิน นั้นแหละคือปัญหา ถ้าเราไปแก้อีกอย่างหนึ่งมันก็เกิดอีกย่างหนึ่งมันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ต่อไป เอาคนออกจากป่าไล่ออกไป แล้วคนจะไปอยู่ที่ไหน ก็ไม่มีที่อยู่อีก รัฐบาลคิดแบบนี้

นายกรัฐมนตรี:เพราะฉะนั้นถ้าเราทำทุกอย่างให้เกิดความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นเชื่อมโยง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้ประเทศแข็งแรงเจริญเติบโตจากภายในให้ได้ด้วยการทำประชารัฐ มันจะโยงไปสู่ภูมิภาค สู่โลก เศรษฐกิจมันจะขับเคลื่อนไปด้วยกัน ไม่ใช่ว่าประเทศไหนจะทำการเกษตรอย่างเดียวแล้วมันจะรวย เป็นไปไม่ได้ หรือบ้านไหนอำเภอไหนมันจะมีแต่เศรษฐกิจด้วยการเกษตรอย่างเดียวก็ไม่ได้อีก มันต้องไปทั้งการเกษตร อุตสาหกรรมสีเขียว และกิจกรรมอื่นๆที่เป็นรายได้ และถ้ามันยังไม่พอ รัฐบาลก็มีแนวทางที่จะจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานจะต้องทำงานจริงๆ ไม่ใช่เอาเงินไปให้เฉยๆก็ต้องออกแรงกันมาขุดลอกคูคลอง และก็มีเงินจ่ายให้กับเขา

นายกรัฐมนตรี:วันนี้รัฐบาลเดินทุกอัน ใช้เงินรวมแล้วหลายๆแสน มีประมาณ 10 มาตรการ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มันดีขึ้นกว่านี้ มันอาจจะเป็นช่วงหนึ่งที่การใช้จ่ายของภาครัฐออกมา เพราะเราลงทุนทุ่มเงินมหาศาลลงไปในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรืออะไรต่างๆที่มันเป็นรายจ่ายมากๆสูงๆของภาครัฐที่ผ่านมา เพราะมันเป็นขั้นตอนและใช้เงินเยอะ มันก็ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาต่างๆให้เกิดความชอบธรรม ถูกต้อง แล้วมันถึงจะจัดซื้อจัดจ้างได้ พอจัดซื้อจัดจ้างได้มันก็จะเริ่มขับเคลื่อน บริษัทก็เริ่มลงทุน ไปซื้อของ เตรียมจ้างแรงงาน มันก็เกิดการหมุนเวียนของเงิน นี้การคือการใช้จ่ายของภาครัฐที่เกิดขึ้น

นายกรัฐมนตรี:แต่ภาคประชาชนก็ยังแย่อยู่เพราะว่า รายได้ไม่ลดลงไง เพราะฉะนั้นเราก็ไปเติมด้วยการจ้างงาน เติมเข้าไปด้วยมาตรการอื่นๆที่ให้ความเข้มแข็ง เราให้คนทุกคนเท่ากันไม่ได้ แต่ท่านลองมาคิดวิว่า รายได้ของเกษตรกรควรจะอยู่ที่เท่าไร อย่างน้อยในระยะนี้ควรจะอยู่ที่เดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 1 แสนกว่าบาท ซึ่งมันจะทำได้ไหมล่ะ ถ้าไม่ได้ด้วยการทำเกษตรกร ก็ต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน ต้องช่วยกันคิดแบบนี้

นายกรัฐมนตรี:การดูแลรายได้ต้องดูตั้ง 10 มาตรการ ทั้งผู้มีรายได้น้อย สนับสนุนเกษตรกรในเรื่องของสินเชื่อ SMEs วงเงินรวมมากกว่า 6.4 แสนล้านบาท มากนะ แล้วก็เบิกจ่ายไปแล้ว 3.5 แสนล้านบาท ที่เหลือมันก็อยู่ในขั้นตอนช่วงพิจารณาไม่ใช่ว่าใครเบิกมาก็ให้ก็ให้ ไม่ได้เดี๋ยวจะเกิดหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือนเข้าไปด้วย คาดการณ์ว่าที่เหลือปี 59 นี้ เหลือประมาณ 1.1 แสนล้านบาท มันก็จะสำเร็จไปด้วยกัน อันนี้ร่วมมือทั้งรัฐ ราชการ เอกชน และประชาชนนะครับ


นายกรัฐมนตรี:ปัจจัยอีกอันหนึ่งก็คือการเร่งเบิกจ่ายเม็ดเงินภาครัฐสู่ระบบเศรษฐกิจ เหมือนกันมาตรการปูพรม เท่าเทียมทั่วประเทศ ผมจะไม่ทำที่มันเป็นพื้นที่นี้ พื้นที่นั้น เพื่อจะให้มารักผม ไม่จำเป็น ผมต้องการให้เขารักชาติ ถ้าเขาจะรักชาติ ชาติต้องดูแลเขา ดูแลเขาในวิธีการที่ถูกต้อง เขาต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน ไม่อย่างนั้นเขาก็จะกลับมาที่เดิมตลอดว่าใครให้เขา เขาก็ต้องรักคนนั้น เพราะฉะนั้นผมบอกว่า ผมไม่ใช่รัฐบาล ไม่ต้องรักผมก็ได้ แต่ถ้าทุกคนรักชาติทุกคนยอมรับในกฎกติกา แบ่งปั่น เท่าเทียม มากบ้างน้อยบ้าง มันก็ไปได้

นายกรัฐมนตรี:อีกอันที่คนมักจะว่ากล่าวว่า เรามองในเรื่องของการท่องเที่ยวเป็นหลัก อ้าวแล้วไม่มองนักท่องเที่ยวบ้างล่ะว่ามันจะว่ายังไง นักท่องเที่ยวมันขยายตัวในเกณฑ์สูงนะ มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีรายได้เข้าประเทศ 1.16 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปี 58 ร้อยละ 10ซึ่งแต่เดิมคาดไว้ไม่เกิน 28 ล้าน ไม่เกิน 30 ล้าน วันนี้คาดการณ์แล้วว่าน่าจะอยู่ที่ 33 ล้าน ก็ต้องดูเรื่องความปลอดภัย ดูแลเรื่องการทุจริต การนอมินีอะไรต่างๆทั้งหมด ดูทุกอันเลย แล้วในขณะเดียวกันต้องมาดูเรื่องของความปลอดภัย มาดูในเรื่องของการปรับปรุงห้องส้วม ห้องน้ำ ที่จอดรถ ความสะอาด เพื่อจะชดเฉยรายได้ที่ลดลงจากการส่งออก ก็เอาการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย

นายกรัฐมนตรี:ถ้าเราบอกว่ารังเกียจนักท่องเที่ยวที่เข้ามาแล้วทำให้บ้านเมืองสกปรกรังเกียจเขาได้ไหมล่ะ เราจะต้องสอนให้เขาอย่าทำ เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครจะเข้ามาในประเทศไทยแล้วทำให้บ้านเมืองสกปรกเพราะคนเขาเยอะ เขาก็อยากทำอะไรสบายๆ เราก็ลงทุนหน่อยซิครับ จ้างคนที่พูดภาษาเขาได้ไปยืนอยู่ในจุดที่เขาชอบทิ้ง ในจุดที่เขาชอบทำสกปรกไปยืนบอกเขา เขาก็จะเข้าใจ เดี๋ยวเขาก็เลิกทำ ไม่ใช่มาบ่นให้รัฐบาลแก้ไข มันจะได้ไหม เพราะฉะนั้นธุรกิจภาคเอกชนก็ต้องทำ ผมก็ทำได้แต่เพียงว่า กำชับไปว่า ใคร บริษัทไหนเอาทัวร์เข้ามาแล้วไม่ชี้แจ้ง ไปจ้างมัคคุเทศก์ที่ไม่ใช่คนไทย ที่ไม่มีข้อยกเว้น โดยบางอันยกเว้นให้

นายกรัฐมนตรี:หรือไม่ก็ไม่กำชับเรื่องดูแลความสะอาดให้กับนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ผมว่ามันต้องช่วยกัน

พิธีกร: อันนี้เราต้องพูดกับบริษัทท่องเที่ยวให้เกิดความเข้าใจเลยไหมครับ

นายกรัฐมนตรี:เราพูดไปแล้ว เราพูดไปหลายครั้งแล้ว และหลายๆบริษัทก็ทำดีขึ้น ก็มีเพียงบางบริษัท บริษัทเล็กๆมั่ง ก็นอมินีกันบ้างอะไรบ้าง วันนี้รื้อทุกอันกำลังไปตรวจว่าบริษัทไหนมันถูกต้อง จดทะเบียนไหม ไกด์ถูกหรือเปล่า บริษัทห้างร้านที่จะต้องนำพานักท่องเที่ยวไปซื้อของเหล่านี้เป็นของปลอมหรือไม่ ซึ่งมันพันกันไปหมดเลย ไม่ใช่ว่ารัฐต้องการรายได้อย่างเดียว ใครจะเข้ามาก็เข้ามา เราคิดๆ บางคนบอกรัฐบาลเอาแต่เงิน รัฐบาลได้ที่ไหน มันได้เป็นรายได้ภาษีเท่านั้นเอง ภาษีการค้า ภาษีนิติบุคคล แต่สิ่งที่ได้จริงคือใคร เขาเอาเงินไปใช้ในท้องที่ ประชาชนก็ได้ ร้านอาหารก็ได้ โรงแรมก็ได้ เราได้แค่จากภาษีที่เขาได้มาส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง

นายกรัฐมนตรี:ไม่ใช่ได้ทั้งหมดกี่ล้านๆ มันไม่ใช่หรอก อีกอันที่น่ากังวล ราคาน้ำมันใช่ไหม ผมบอกแล้วว่าราคาน้ำมันถึงเราจะไม่ได้เป็นประเทศที่มีน้ำมันจำนวนมากก็ตาม แต่น้ำมันที่เราขุดขึ้นมาได้บางส่วนมีคุณภาพ บางส่วนไม่มีคุณภาพ จะเห็นได้ว่าบางส่วนของน้ำมันต้องส่งออกไปทำน้ำมันอย่างอื่นที่มีเกรดต่ำ ถ้าเป็นเกรดที่ใช้ในรถยนต์ได้ เราก็ผลิตใช้ในประเทศ จนสัดส่วนตรงนี้ก็มีไม่เพียงพอ มันก็ตรงไปซื้ออย่างอื่นมากลั่นในประเทศไทย บางคนก็บอกว่าขุดในประเทศไทยแล้วทำไมต้องไปซื้ออย่างอื่นมาด้วย แล้วทำไมต้องเอาของไทยไปขายต่างประเทศ ไม่เข้าใจอะไรเลยสักอย่างแล้วมาพุดแบบนี้มันก็แย่นะ

พิธีกร: ท่านนายกครับ เรื่องของราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันลดลงก็เท่ากับว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นมาตรการในการส่งเสริม

นายกรัฐมนตรี:คือ มันก็จะว่าใช่ก็ใช่นะ แต่อย่าลืมว่าราคาน้ำมันลดลง มีอะไรตามมาบ้าง 1.คนก็ใช้น้ำมันกันอย่างไม่ประหยัดใช่ไหม แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อน้ำมันมันลดลงภาษีส่วนใหญ่ของประเทศได้มาจากภาษีน้ำมันนะ นำเข้าก็ได้ ส่งออกก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อคนใช้รถมากๆขึ้น เราก็ใช้น้ำมันมากขึ้น แต่น้ำมันราคามันถูกไง ถึงแม้จะใช้มาก แต่เงินก็ลดลง ภาษีลดลงแน่นอน นี้ล่ะคือรายได้หลักของประเทศลดลงไปที่เกิดจากราคาน้ำมันลดต่ำลง

นายกรัฐมนตรี:2.คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้นง่าย เพราะว่าคนก็ไม่ค่อยระมัดระวัง ใช้รถใช้ถนนกันเพลินไปหมด ไม่ประหยัดบ้างอะไรบ้าง สิ้นเปลื้อง สร้างแก๊ส สร้างอะไรต่างๆ เราก็โทษเขาไม่ได้อีก เพราะว่าระบบการขนส่งมวลชนเรายังไม่สมบูรณ์ นี้คือสิ่งที่เราต้องคิดต่อไป อีกอันคือ เรื่องของมาตรการการเงินการคลังที่ดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และมีคณะทำงาน กนอ.(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) กระทรวงการคลังดูแลอีก เขาก็ดูแลในดอกเบี้ยเชิงนโยบาย เราก็ต้องเก็บเอาไว้บ้าง ไม่ใช่ว่าลดลงมาจนหมด เดิมเราเคย 2ปัจจุบันนี้เราก็รักษาไว้ที่ 1.5 ไอ้ค่าเงินมันก็ขึ้นๆลงๆนะ ถ้าเราเปลี่ยนไปเร็วมากๆ แข็งเกินไป น้อยเกินไป อาจจะต้องไป Subsidize เราจะมีเงินลงไป เรามีเงินพอไหมล่ะ ถ้าไม่พอเราต้องเก็บดอกเบี้ย นโยบายก็ต้องเก็บเอาไว้บ้าง เอาไว้เพื่อที่จะแก้ปัญหาในระยะยาว

นายกรัฐมนตรี:เพราะฉะนั้นทุกคนก็ต้องเข้าใจตรงนี้ ทุกคนอยากได้อะไรหมด แต่ทุกคนไม่ยอมรับกติกา ไม่ยอมรับช่วยเหลือ ไม่ยอมแก้ไขอะไรเลย มันไปไม่ได้หมดหรอก มันก็ล้มละลายทั้งสิ้น อีกอันในเรื่องของการปรับตัวดีขึ้นของภาคการเกษตร ก็ดีใจนะ แล้วก็คาดว่า เอลนีโญ่ จะเข้าน้อยกว่าปกติในช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. ภัยแล้งก็อาจจะลดลง การเกษตรก็จะดีขึ้นแต่ก็เป็นห่วงอยู่นะ วันนี้ ราคาข้าวหอมมะลิ ราคาข้าวขาว มันลดลง ลดลงเพราะข้าวไม่มีคุณภาพ เพราะว่าน้ำน้อย เมล็ดเล็ก มีสีเหลือง ก็ไม่ได้คุณภาพ ถูกตัดราคา แต่วันนี้น่าแปลกที่ว่า ข้าวเหนียวราคาสูงขึ้น พอข้าวเหนียวราคาสูงขึ้น เดี๋ยวก็กลับมาปลูกข้าวเหนียวมากขึ้นแล้วจะไปขายใคร

นายกรัฐมนตรี:ข้าวเหนียวราคาสูงขึ้นเพราะว่าขายได้ในอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีไม่กี่ประเทศ ซึ่งถ้ากลับมาปลูกข้าวเหนียวมากขึ้นข้าวเหนียวก็กลับมาราคาตกอีก ก็ถึงบอกว่าต้องไปดูไร่นาสวนผสม ดู Agri-Map ว่าจะปลูกอะไรกันยังไง ซึ่งตอนนี้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯกำลังเร่งมือ รัฐบาลหรอ ถ้าร้องขอให้รัฐบาลเอาเงินไปช่วย จะเอาเงินที่ไหน Subsidize หมดเลยหรอ ทั้งข้าว ทั้งอ้อย ทั้งมัน ทั้งอะไรต่างๆเยอะแยะไปหมด ทุกอย่าง...

นายกรัฐมนตรี:แต่วันนี้น่าแปลกตรงที่ว่าข้าวเหนียวราคาสูงขึ้นไง พอข้าวเหนียวราคาสูงขึ้น เดี๋ยวกลับมาปลูกข้าวเหนียวมากขึ้นกว่าเดิม แล้วจะไปขายใคร ข้าวเหนียวราคาสูงขึ้นเพราะขายในอาเซี่ยนส่วนใหญ่ ไม่กี่ประเทศหรอก ถ้ากลับมาปลูกข้าวเหนียวอีก ราคาตกอีก ถึงบอกว่าต้องไปดูไร่นาสวนผสม ไปดู AGRI Map ว่าจะปลูกอะไรกันยังไง ตอนนี้มหาดไทย เกษตรกำลังเร่งมือกันใหญ่เลย รัฐบาลเหรอ ถ้าร้องขอรัฐบาลเอาเงินไปช่วย เอาเงินที่ไหนล่ะ Subsidize หมดเลยหรือ ทั้งข้าว ทั้งมัน ทั้งอ้อย ทั้งอะไรต่างๆ เยอะแยะไปหมด ทุกอย่างแย่หมดเพราะว่าการผลิตทางการเกษตรโลกมีปัญหา

พิธีกร:อันนั้นก็เป็นปัจจัยต่างๆ ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ส่วนหนึ่งนะครับ ในการที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะว่าตอนนี้ หลายฝ่ายเขาดีใจนะครับว่าเศรษฐกิจดีขึ้น แล้วก็มีความมั่นใจในการลงทุนประเทศไทย แต่ว่ามีบางสิ่งบางอย่างซึ่งเราควบคุมไม่ได้นี่ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้นี่ท่านนายกฯ มองว่าอะไรที่น่าเป็นห่วงบ้างครับ

นายกรัฐมนตรี:เรื่องเศรษฐกิจโลกยังไง เพราะโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นตลาด เป็นแหล่งผลิต เป็นแหล่งแปรรูป ต่างๆ ซึ่งถ้าเหมือนกัน ทุกประเทศทำเหมือนกัน ในอาเซี่ยนมาผลิตเหมือนกัน แปรรูปเหมือนกัน การตลาดต้องลดราคา แข่งขันดั้มกันลงมา ก็เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ราคาตลาดนะ เราจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองด้วยนะครับ ต้องดูแลราคาสินค้า การเกษตรในโลก แล้วก็ปรับดูซิว่าเราจะปลูกอะไร ยังไง ราคาข้าว ราคายาง ราคาน้ำตาล มันสำปะหลัง อ้อย อะไรเหล่านี้ แล้วแนวโน้มของการแข็งตัวของค่าเงินบาทด้วย การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินด้วย เราต้องกันสถานการณ์ ธนาคารประเทศไทย กนอ. รัฐบาล ฝ่ายเศรษฐกิจ ต้องทำหมดน่ะ อันนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวลนะ อันนี้พูดรู้สึกจะเน้นเกษตรอย่าเดียว มีอย่างอื่นเยอะแยะ อาชีพอิสระอีกล่ะ มอเตอร์ไซค์รับจ้างก็มี เย็บปัก ถักร้อยอยู่บ้านก็มี เลี้ยงเด็ก เลี้ยงลูก ทำครัว แม่บ้าน เฝ้าบ้าน เยอะแยะไปหมด คนเหล่านี้ก็คือคนทั้งสิ้น คนไทยทั้งสิ้น ถ้ารายได้เขาต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาทอยู่ไม่ได้ จากสถานการณ์วันนี้นะ ผมว่าต้องช่วยกันดูแล้วล่ะ พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน นะ

พิธีกร:ในฐานะที่ขณะนี้นี่ ตอนนี้เรามาอยู่กันที่ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ของสหพันธรัฐรัสเซีย นะครับ เพราะท่านนายกฯ ได้มีการเดินทางมาเยือนอย่างเป็นทางการ ที่ผ่านมานี่ท่านนายกฯ เดินทางไปหลายประเทศมากพอสมควร แล้วก็ มีการพบปะกับผู้นำอะไรก็แล้วแต่เยอะมากพอสมควร แต่ว่าการมารัสเซียครั้งนี้นี่ครับ ดูเหมือนว่าท่านจะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ กว่าการเยือนประเทศอื่น จะเห็นได้จากองประกอบของคณะนี่ ครั้งนี้มีรัฐมนตรีมาร่วมหลายท่าน นอกจากนั้นยังมีภาคเอกชน ที่ร่วมสมทบ กับคณะในครั้งนี้แล้วก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ตรงนี้ท่านมองว่าการเยือนรัสเซียครั้งนี้มีความสำคัญยังไง ครับ

นายกรัฐมนตรี:ผมอยากให้มองอย่างนี้นะ ไม่ใช่ว่า อย่ามามองว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนแนวทางของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไป หรือเปลี่ยนกลุ่มต่างๆ เราอยู่ในกลุ่มทุกกลุ่ม เพราะว่าเรามีการค้าการลงทุน ระหว่างกัน กับทุกประเทศในโลก เพียงแต่ต้องมาจัดระเบียบของเราให้ดีนะครับ เรียกว่าทางเลือกแห่งการเมือง การเมืองมีผลทางด้านเศรษฐกิจไง เราไม่ใช่เป็นการแบ่งพวก แบ่งฝ่าย เปลี่ยนฝ่าอะไร ไม่ใช่ เราไม่มีฝ่ายใครทั้งสิ้น เพราะว่าเราเป็นประเทศไทย ประเทศเล็กๆ เราแบ่งฝ่ายก็เดือดร้อน มีผลกระทบกับพันธะสัญญาต่างๆ ที่มีอยู่ กับทุกประเทศในโลกหลายอันนะ วันนี้ก็มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ยูเรเซีย ใช่ไหม ทางด้านรัสเซีย มี PPP (ฟังไม่ชัด) ทั้งสองกลุ่มพยายามจะอยากให้เราเข้าไป มี อาเซ็บ เข้าไปอีกใช่ไหม แล้วยังมีความสัมพันธ์อื่นๆ อีกเยอะแยะ ของ UN FTA ทั้งหมดนี่ทำยังไง นโยบายผมหรือ จะต้องไม่ขัดแย้งกัน ไม่ใช่ได้อันนี้แล้วเสียอันนี้ ถ้าอันไหนเสียต้องคุยกัน ว่าถ้าจะให้เราเข้าไปแล้วจะช่วยเราได้ยังไงตรงนั้นไม่งันจะเป็นการใช้เศรษฐกิจ มาเดินเรืองการเมือง เรื่องการแบ่งกลุ่มแบ่งอะไรด้วยนะ


ผมก็ได้พูดกับรัสเซียเขาแล้ว เขาก็บอกเป็นทางเลือกของยู เขาก็บอกเป็นทางเลือกเหมือนกัน ของทุกประเทศ เขาไม่ต้องการมีบทบาทกับใครทั้งสิ้น เขาเป็นมหาอำนาจของเขาอยู่แล้ว ฉะนั้นวันนี้ที่เรามารัสเซียเนี่ย อย่ามามองว่าผมจะเปลี่ยนข้าง หรือผมจะมาซื้ออาวุธ ผมอารมณ์เสียตอนก่อนมา มาถามผมว่าผมมาครั้งนี้จะซื้อฮ.(เฮลิคอปเตอร์)กี่ลำ มันเป็นเสี้ยวเดียวของการที่มาครั้งนี้นะ เพราะมันเป็นกิจกรรมหลายกิจกรรม


อันแรก ทำไมถึงมาเซ้นต์ปีเตอร์เบอร์ก เพราะเมืองนี้เป็นเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียเมื่อ119 ปีมาแล้ว ปีหน้าจะครบ 120 ปี ทำไมถึงเกิดที่นี่เพราะว่ารัชกาลที่ 5ของเราเสด็จมาที่เมืองนี้ มาสร้างความสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2แล้วก็จากนั้นมาก็ส่งพระราชโอรสมาศึกษาเล่าเรียนใช่มั้ย พระองค์เจ้าจักรพงศ์ภูวนาถ แล้วอีกหลายพระองค์ที่มา


และในช่วงนั้นทำให้ประเทศไทยสามารถหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมอะไรต่างๆ มาได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่สถาบันทำไว้นะ แล้วก็วันนี้เป็นโอกาสที่ ปีหน้านะ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2560 จะครบรอบ 120 ปี รัฐบาลจึงมาสร้างความสัมพันธ์วันนี้ปีนี้เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองร่วมกันในปีหน้า นี่อันที่หนึ่ง
อันที่สอง ก็จากการที่พบปะกับท่านนายกรัฐมนตรีเมดเวเดฟนี่นะ พบมา 3 ครั้งแล้วมั้ง แล้วยังได้มีการพูดคุยในการประชุมอีกหลายที แล้วเคยมีการเยือนที่ประเทศไทยมาด้วย พูดกันหลายเรื่อง ฉะนั้นสิ่งที่เราพูดกันแล้วนี่มันจะต้องเร่งนำมาขับเคลื่อนใช่มั้ย ว่าศักยภาพของเราเป็นยังไง ของรัสเซียเป็นยังไง รัสเซียมีจุดแข็งเรื่องอะไรบ้าง


เขาแข็งเรื่องอะไร อุตสาหกรรมหนัก วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การศึกษา อวกาศ การบิน อะไรก็แล้วแต่ วิจัยพัฒนา เหล่านี้ เรากำลังต้องการอยู่ต้องการทุกประเทศแหละครับ ถ้าประเทศไหนช่วยเหลือเรา เราก็เอาทั้งหมดน่ะแหละ เพราะเราต้องเตรียมความพร้อมประเทศไทยไปสู่เทคโนโลยี กลายเป็นประเทศที่ใช้เทคโนโลยี ใช้ความรู้ วิทยาการสมัยใหม่ และก็สอดคล้องกับคำว่า ไทยแลนด์ 4.0
4.0 ก็คือ ไม่ใช่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเดียว คือโลกเป็น 4.0 ด้วย เข้าใจมั้ย ในโลกยุคใหม่เนี่ย มันจะต้องเป็นเศรษฐกิจที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ใช้หุ่นยนต์ทำงานอะไรต่างๆเหล่านี้ เราเตรียมความพร้อม หรือยังล่ะ ถ้ายังไม่พร้อมคิดใหม่ได้เหรอ ก็ไปหาประเทศที่เขาทำแล้วสิ


วันนี้ก็มาก็ได้ประโยชน์ที่ผมจะคุยกับเขาการค้าการลงทุนเราก็กับรัสเซียเหรอ มันก็น้อยอยู่นะ ที่ผ่านมาถือว่าน้อย มีเฉพาะการท่องเที่ยวที่มากก็ยังลดลงเหมือนกัน จากค่าเงินรูเบิร์นไง


เพราะฉะนั้น วันนี้เราก็ไม่สนใจ เราก็มาตั้งเป้าหมายกับท่านนายกรัฐมนตรีว่า เออ ทำยังไงเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ภายใน 5 ปี ผมก็บอกว่าเร็วกว่า 5 ปีก็ได้ จะมากกว่า 5 เท่าก็ได้ ผมขอ 2 ปีแรกเนี่ย ถึง 2560 ให้ได้ก่อนมั้ย ท่านก็รับปากว่าต้องหาอะไรให้ได้ก่อนเพื่อจะทำ


วันนี้เอาคณะรัฐมนตรีไทยมา 7 ท่าน ถือว่ามากที่สุดแล้วในการเยือนต่างประเทศทุกคนก็สงสัยว่าทำไมต้องมา เอาใจเขาหรือเปล่าก็มันมีหลายเรื่องไงจะได้จบไปซะทีเดียว แล้วผมเป็นคนนำมา ก่อนผมมา ก็รองนายกฯ มา 2 ท่านคนก็สงสัยอีก ทำไมเอารองนายฯ มา 2 คน แหมช่างสงสัยก้นจริงๆ นะ ก็งานมันเยอะ ทำให้มันเร็ว ผมก็ต้องส่งคนมาเยอะ ใช่มั้ย แล้วคราวนี้ผมมาเอง เห็นมั้ยเซ็น MOU ไปสิบกว่าฉบับ 14 ฉบับมั้ง ทั้งของภาครัฐภาคเอกชนด้วย มันก็เป็นประโยชน์กับใครล่ะกับผมเหรอ ไม่ใช่กับประเทศทั้งสิ้น และเราก็ไม่ได้เป็น เค้าเรียกอะไรล่ะ แบ่งภาค มันไม่ใช่ ทำยังไงเราจะขับเคลื่อนไปด้วยกัน ไม่ว่าจะใครกัน ก็เป็นการเชื่อมเศรษฐกิจยูเรเซียใช่มั้ย ทางด้านเขา 5 ประเทศ ของเราคืออาเซียน


ผมมาครั้งนี้ผมมาพูดให้อาเซียนด้วยและหลังจากการประชุมครั้งนี้ มันคือการประชุมอาเซียนซัมมิท อะไรล่ะ กับยูเรเซียใช่มั้ย กับรัสเซีย ในการประชุมระดับวาระพิเศษ

พิธีกร : 20 ปีครับ

นายกรัฐมนตรี: 20 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียนกับรัสเซีย ฉะนั้นเราก็ต้องนำสิ่งที่เราพูดนำไปสู่การปฏิบัติ เราก็ต้องกำหนดกันให้ดี ว่าจะกำหนดโรดแมป 1-2-3 อะไรทำเมื่อไหร่ กิจกรรมอะไรบ้าง หลัก รอง เสริม มีการร่วมลงนาม พอลงนามไปแล้วเนี่ยต้องทำ ต้องทำงานให้ได้ ไม่ใช่ลงไปแล้วไม่รู้กี่ 100 ฉบับแล้วไม่ทำ มันถึงช้าไงล่ะ ทีนี้ผมมาเร่งไง ถึงเอาคนมาเยอะๆ มันจะได้จบเร็วๆ แล้วเดี๋ยวกลับไปก็ทำงานได้เลย

พิธีกร : งั้นในการเยือนรัสเซียครั้งนี้ ท่านได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีเมดเวเดฟแล้วเนี่ย และก็อีกหลายๆท่าน ความประทับใจของท่านคืออะไร

นายกรัฐมนตรี : ความประทับใจเหรอ ท่านเป็นคน ผมว่าเป็นคนน่ารักนะ คือความรู้สึกส่วนตัวของผมนะ คือท่านเป็นผู้นำที่ทันสมัย มีอารมณ์ศิลปิน ชอบถ่ายภาพ เคยเอาภาพมาแสดงที่เมืองไทยด้วย ไปในรัฐบาลไหนก็ตาม ท่านชอบถ่ายภาพ มีภาพสวยๆ หลายภาพมาแสดงที่เมืองไทย ถ่ายรูปประเทศไทยไว้เยอะแยะ เป็นเล่มๆ เลย นี่ท่านก็แจกให้หนังสือ สมุดรวมภาพถ่ายของท่านมา เดี๋ยวผมจะไปดู

พิธีกร : ดูเหมือนผู้นำทั้งสองท่าน มีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเลยนะครับ

นายกรัฐมนตรี :ผมว่ามันเป็น เค้าเรียกอะไรล่ะ เค้าเรียกว่า มันตรงกันมั้ง เคมีมันตรงกัน คำว่าเคมีตรงกัน คือทำเพื่อประเทศ ทำเพื่อกลุ่ม ทำเพื่อประชาคม และประชาชนต้องเป็นศูนย์กลาง เป็นคนได้ประโยชน์ ประเทศชาติมีการพัฒนา การพัฒนาประเทศที่เราไม่ได้ ผมก็บอกแต่เพียงว่า ไม่ใช่เฉพาะรัสเซียกับไทยนะ เพราะฉะนั้นถ้าเอาไทยมาอยู่ทางอาเซียนเนี่ยก็เป็นไทยบวกอาเซียน ของเค้าก็เป็นรัสเซียกับยูเรเซีย


ถ้าเราทั้งทั้งหมดเนี่ยมันก็กลายเป็นมากขึ้น เป็นพหุภาคีเนี่ยสองข้าง ปริมาณคนเท่าไหร่ล่ะ ตลาดเท่าไหร่ล่ะ การผลิตสินค้าอีกเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นมันต้องมาเชื่อม จะไกลยังไงก็ตาม มันถึงแล้ว วันนี้ การบินก็มี

พิธีกร : ท่านนายกฯครับ วันนี้เราอยู่กันที่ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พูดถึงเรื่องไทยกับรัสเซีย เรากำลังขยัยไปที่เมือง โซชิ เพื่อจะพูดในฐานะที่เราเป็นอาเซียน เรากำลังจะพูดถึงความร่วมมือ ความสัมพันธ์ ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ท่านนายกฯมีแนวความคิดต่อเรื่องนี้อย่างไรครับ

นายกรัฐมนตรี :ก็อันนี้ก็คงตรงกับที่ผมพูดไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม อะไรก็ตามที่มันเริ่มกันระหว่างประเทศไปแล้วเนี่ย มันต้องไปสู่ประชาคมของตัวเอง ด้วย และเราเป็นประชาคมอาเซียน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ฉะนั้นการที่จะทำให้อาเซียนเข้มแข็งเนี่ย ในอาเซียนด้วยกันก็จะต้องรวมกลุ่มกันให้ได้ เป็นเศรษฐกิจเดียวกันให้ได้ ฉะนั้นมันยังมีอีกหลายอย่างที่ผมต้องไปแก้ภายในของผมเองอีก กับเพื่อนเรานะในอาเซียน ก็คุยกับผู้นำทุกประเทศแก้ไปหลายอย่างแล้ว การข้ามสัญจร ข้ามแดนไปมา กติกา การค้าการลงทุน การปรับบีโอไอ การสร้างความเชื่อมโยงถนนหนทาง ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ แม้กระทั่ง ทางรถยนต์ ปริมาณรถยนต์ผ่านแดน การปรับปรุงด่านศุลกากรทั้งหมด การแก้กฎหมายให้มันตรงกัน เพื่อจะรวมกลุ่มการค้าของเราให้ได้ เสร็จแล้วเราก็จะรวมสินค้าของเราไปสู่ขบวนอื่น


เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถไป ทำความเข้าใจและก็ประชุมกันที่โซชิได้เนี่ย มันก็จะเพิ่มมูลค่า ในการค้าขายระหว่างเรา ผมก็จะตรงนั้น วันนี้ผมมาพูดในฐานะไทยกับรัฐเซีย แต่พอผมไปโซชิมจะไปอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรื่องของ ไทย อาเซียน กับรัสเซีย และยูเรเซีย เห็นมั้ยมันต่างกันตรงนี้ แล้วผมก็ดีใจที่จะมีโอกาสพบท่านปูตินอย่างเป็นทางการก็คือได้ พูดคุยกันตัวต่อตัว ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็คงได้พูดคุยในสิ่งที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกันมา 120 ปีอ้ะนะ ว่าจะทำยังไง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบัน เอ่อ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จมาที่นี่เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แล้วก็ได้มาพบกับท่านประธานาธิบดีปูติน สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงรับสั่งพระราชทานผมเสมอว่าท่านภาคภูมิใจในการเสด็จที่นี่ ด้วยความเป็นกันเอง ด้วยความน่ารัก ด้วยความให้เกียรติ และก็ระลึกถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันด้วยกันในอดีต เกือบ 120 ปีที่ผ่านมาเนี่ยนะน่าจะดีขึ้นนะ ทุกอย่าง

พิธีกร : ท่านผู้ชมครับ วันนี้เราก็ได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างแท้จริง แต่ว่าสิ่งเหล่านี้เนี่ย มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยนะครับ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และก็เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่รัสเซียนั้นก็ถือว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ในการที่จะนำพาประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤต และก็นำไปสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริงนะครับ

นายกรัฐมนตรี :อยากจะเสริมนิดนึง คือ เราต้องก้าวของเราภายใน แล้วพาเพื่อนเราก้าวไปด้วย แล้วก็ก้าวไปสู่คนข้างนอก ให้เค้าพาเราไปอีกทางหนึ่งด้วย มันก็จะเป็นการก้าวที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน นี่ก็อีกประการหนึ่ง ที่ผมยังฝากสุดท้าย ก่อนคุณจะสรุป


ผมก็อยากจะบอกอันหนึ่งว่า เมื่อวันพฤหัสที่แล้วเนี่ย ผมก็ได้ตัดสินใจแล้วให้ฝ่ายความมั่นคงไปพิจารณาดูซิว่าจะเปิดเวทียังไงให้ฝ่ายการเมือง ให้ทั้งกรธ.(คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ) สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) สปท.(สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ) และใครอ้ะ คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) มั้ง มาชี้แจง ว่าเอ๊ะมันจะเดินหน้าประเทศกันยังไง ประชามติ เลือกตั้ง อะไรก็แล้วแต่ ผมให้มาถกแถลงก็แล้วกัน


เพราะที่ผ่านมาก็หาว่าผมไม่เปิดช่องทาง ผมไปกดดันเค้า เนี่ยผมเปิดให้แล้ว ดูซิว่า ก็ ผมกำลังรอรายงานอยู่นะ เกิดไปแล้วล่ะ เมื่อวันวานมั้ง วันพฤหัสหรือไง


ก่อนที่เราจะออกรายการวันศุกร์เนี้ยนะ เขาจัดวันพฤหัส ผมมาอยู่นี้ ผมยังไม่ได้รับรายงาน มันคร่อมกันอยู่ เดี๋ยวผมจะรอฟังดูซิเขาว่ายังไง เหตุผลของแต่ละพวกเขาว่าไง


แต่ผมยังยืนยันอยู่อย่างหนึ่งว่า ผ่านหรือไม่ผ่านก็ เป็นเรื่องของกลไก เป็นเรื่องของกติกา เป็นเรื่องของโรดแมป อะไรต่างๆ แล้วแต่ เพราะฉะนั้นคนไทยต้องมาดูตรงนี้ว่า ไอ้สิ่งที่ผมพูดทั้งหมดมาแล้วเนี่ย เรื่องความยากจน เรื่องการเกษตร เรื่องของการพัฒนาประเทศ เรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น การมีรัฐบาลธรรมาภิบาลเหล่าเนี้ย มันจะแก้ได้มั้ยล่ะ ในการทำประชามติครั้งนี้ ถ้ามันทำได้ก็ดี ก็เลือกไปสิ แต่ถ้ามันทำไม่ได้ขึ้นมาท่านจะว่ายังไง ท่านก็ว่ามา ผมไม่สามารถจะบังคับท่านได้อีกแล้วล่ะ ผมได้ให้อำนาจของผมไปแล้ว ในการพิจารณาร่วมกัน อย่ามาทะเลาะกัน น่ะ แล้วก็กรุณาฟังด้วยนะว่าใครพูดว่ากระไร ใครจะทำอะไรในอนาคต ถ้ามุ่งหวัง ย้อนกลับไปความขัดแย้งก็อีกล่ะ ย้อนไปย้อนมา ไอ้นี่ผิด ไอ้นั่นถูก ไอ้นี่จะต้องยกโทษ ไอ้นี่นิรโทษ ไม่มีจบอ้ะ มันเดินหน้าไม่ได้ไง แล้วบางคนบอกให้ผมแก้ปัญหาของเก่า มันแก้ได้มั้ยล่ะ ทุกคนไม่ยอมรับอะไรสักอย่าง แล้วจะให้ผมแก้ มันแก้ไม่ได้หรอก นะ จะหาว่าผมไม่ปรองดอง ผมพร้อมปรองดอง แต่ปรองดองกันด้วยกฎหมายก่อนเท่านั้นเอง รับกันมั้ยล่ะ


เพราะฉะนั้นอย่ามาพันเรื่องประชามติ อย่ามาพันเรื่องเลือกตั้ง ตอนนี้มันลากไปลากมาทั้งหมดเลย ก็ไปดูเจตนาของคนพูดก็แล้วกันได้หรือเปล่า นะ อยากทำอะไรที่มันเกิดประโยชน์มากกว่า เข้าใจมั้ย อือ

พิธีกร : ท่านผู้ชมครับ จริงใจ จริงจัง แล้วก็ชัดเจนในทุกข้อความในทุกข้อมูลที่ได้นำเสนอให้กับพี่น้องประชาชน นะครับ


ขอบพระคุณทุกท่าน ที่ติดตามรับชมรายการมาโดยตลอดนะครับ พบกับท่านนายกรัฐมนตรี และรายการคืนความสุขให้กับคนในชาติในสัปดาห์นะครับ สำหรับวันนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีและผมขออนุญาตลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ

นายกรัฐมนตรี : สวัสดีครับ สวัสดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง