เรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการจำนำข้าว "ยิ่งลักษณ์" กว่า 35,000 ล้าน

การเมือง
24 ก.ย. 59
12:22
1,748
Logo Thai PBS
เรียกค่าเสียหายทางแพ่งโครงการจำนำข้าว "ยิ่งลักษณ์" กว่า 35,000 ล้าน
คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งโครงการจำนำข้าว สรุป น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯต้องรับผิดชอบความเสียหายร้อยละ 20 เป็นเงิน 35,717 ล้านบาท จากความเสียหาย ทั้งหมด 178,000 ล้านบาท

วันนี้ (24 ก.ย.2559) คณะกรรมพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง สรุปความเสียหายโครงการจำนำข้าวเปลือก ตามที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งหนังสือท้วงติงความเสียหายจากการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 55/56 และ ปี 56/57 พบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความประมาทร้ายแรงให้เกิดความเสียหายในการรับจำนำข้าวข้าวเปลือกความเสียหายเกือบ 180,000 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาความรับผิดตามกฎหมาย

คณะกรรมการฯเห็นชอบร่วมกันให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับผิดชอบเฉพาะตัวแต่เพียงผู้เดียว ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าความเสียหาย หรือเป็นเงินต้องรับผิดชอบ 35,717ล้านบาท จากความเสียหาย ความเสียหาย 2 ฤดูกาลผลิตคือ ปี55/56 และ 56/57 มูลค่า 178, 586 ล้านบาท

จากเดิมที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย เป็นประธาน มีการคิดค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว 4 ฤดูการผลิตคือตั้งแต่ปี 54/55 วงเงิน 280,000 ล้านบาท แต่คณะกรรมพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง เห็นว่ามีเพียง 2 ฤดูกาลคือปีการผลิต ที่ น.ส.ลักษณ์ ต้องรับผิดชอบ เพราะมีคำเตือนแล้วแต่ยังเดินหน้ารับจำนำต่อแสดงให้เห็นว่าจงใจกระทำผิด ความเสียหายนั้นได้มีการตั้งข้อสังเกตจาก ป.ป.ช.และ สตง. น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงได้ส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าอาจมีความเสียหายเกิดขึ้น จึงเห็นว่าการจำนำช่วงเวลานั้นไม่จงใจหรือประมาท จนก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงจึงไม่ได้พิจารณาการชดเชยความเสียหายการจำนำช่วงเวลานั้น

ส่วนความเสียหายที่เหลืออยู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับไปพิจารณาขั้นต่อไป เมื่อมีการชี้มูลความผิดเพิ่มเติม และพบว่ามีหลายบุคคลเกี่ยวข้องกับความผิด เพราะยังมีอายุความดำเนินดคีเอาผิด 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2564

อธิบดีกรมบัญชีกลางได้ลงนามรับรองรายงานเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2559 จากมติของคณะกรรมการความรับผิดทางละเมิดประกอบด้วยตัวแทนอัยการสูงสุด กฤษฏีกา สตง. ตัวแทนกระทรวงการคลัง และได้ส่งต่อไปยังรองปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาลงนามในขั้นต่อไป

ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อรับหนังสือแล้ว สามารถยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อทุเลาคดีหรือเพิกถอนคดี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลปกครอง หลังจากนั้นจะยื่นให้กรมบังคับคดีดำเนินยึดทรัพย์ในขั้นต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง