พลิกปมข่าว : ภัยเงียบไวรัสซิกา

สังคม
5 ต.ค. 59
20:14
425
Logo Thai PBS
พลิกปมข่าว : ภัยเงียบไวรัสซิกา
กระทรวงสาธารณสุข เผยสถิติทางการแพทย์ พบว่า ผู้ป่วยไวรัสซิกา ร้อยละ 80 ไม่แสดงอาการ รวมทั้งพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อสามารถคลอดบุตรออกมาโดยไม่พบภาวะความเสี่ยง ซึ่งแพทย์ยังคงเฝ้าระวังตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 5 ปี

จากสถิติภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีเด็กที่ศีรษะเล็กเพียงร้อยละ 1 และไม่ได้มาจากสาเหตุแม่ติดเชื้อไวรัสซิกาเท่านั้น แต่ขณะนี้มีผู้ตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาทั่วประเทศอยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข 39 คน คำถามก็คือ แม่ที่ติดเชื้อมีทางเลือกอะไรบ้างกว่าที่จะทราบว่า เด็กศีรษะลีบ อาจจะต้องรอถึงอายุครรภ์ 7 เดือน เมื่อถึงเวลานั้นการจะยุติการตั้งครรภ์ก็เป็นอันตรายกับแม่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 3-6 เดือน

ตัดสินใจไม่ง่ายเลย เพราะ 3-6 เดือนก็ยังไม่รู้ว่าผิดปกติหรือไม่ แต่ถ้าจะให้ยุติการตั้งครรภ์ก่อน 3 เดือนก็ทำใจลำบาก คนเป็นแม่ก็อยากจะลุ้นก่อน แต่ถ้าเลย 7 เดือนไปแล้ว พบว่าผิดปกติขึ้นมาก็อาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงกับทารกจะเกิดมา

กระทรวงสาธารณสุข เผยสถิติทางการแพทย์ พบว่า ผู้ป่วยไวรัสซิกา ร้อยละ 80 ไม่แสดงอาการ ขณะที่ทีมข่าวไทยพีบีเอส สำรวจหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อสามารถคลอดบุตรออกมา โดยไม่พบภาวะความเสี่ยง ซึ่งแพทย์ยังคงเฝ้าระวังตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 5 ปี

ตามปกติ ถ้าวางแผนจะมีครอบครัวอาจจะเริ่มฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งท้อง แต่จากข้อมูลราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่า คนทั่วไปกว่าร้อยละ 30 มักจะฝากครรภ์หลัง 3 เดือนไปแล้ว การฝากครรภ์ช้าเป็นผลถึงการคัดกรองโรคในมารดาด้วย

แต่ถ้าจะดูความผิดปกติในทารก เราจะใช้วิธีการอัลตราซาวกันในช่วงเดือนที่ 5 เพราะจะสามารถเห็นอวัยวะต่างๆ ของเด็ก ช่วงนี้สามารถประเมินศีรษะของเด็กได้ว่ามีขนาดต่ำกว่าค่ามาตรฐาน และมีความผิดปกติหรือไม่ โดยทั่วไปการตรวจแบบนี้ แพทย์ก็จะอัลตร้าซาวให้ครั้งเดียว

แต่ถ้าแม่ป่วยเป็นซิกา กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มการเฝ้าระวังภาวะศีรษะเล็กในเด็กให้ทำอัลตราซาวด์ต่อเนื่องทุกเดือนไปจนถึงกำหนดคลอด แต่ช่วงที่สามารถยุติการตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงในแม่และเด็กได้ คือช่วงเดือนที่ 5-6 แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่า ทารกนั้นมีความผิดปกติจริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง