ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัล ก่อน สนช. พิจารณา 24 พ.ย. นี้

การเมือง
8 พ.ย. 59
07:15
263
Logo Thai PBS
ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ดิจิทัล ก่อน สนช. พิจารณา 24 พ.ย. นี้
พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ต้องแก้ไขอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะภาพรวมของโครงสร้างการบริหาร ที่ต้องคุ้มค่ากับการใช้ประโยชน์สูงสุดของประชาชน เพราะร่าง พ.ร.บ. ฉบับบนี้เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณมหาศาล

ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เหมือนเป็นการวางรากฐานการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ผลจากการลงมติครั้งล่าสุดทำให้ต้องแก้ไขอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะภาพรวมของโครงสร้างการบริหาร ที่ต้องคุ้มค่ากับการใช้ประโยชน์สูงสุดของประชาชน เพราะร่าง พ.ร.บ. ฉบับบนี้เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณมหาศาล

ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ...สาระสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยวัตถุประสงค์ภาพรวมของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังจำเป็นต้องปรับแก้ระบบโครงสร้างตามกำหนด ที่ภาครัฐ จะเป็นผู้มีหน้าที่ จัดนโยบายและแผนระดับชาติการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ กระตุ้นการสร้างรายได้ พัฒนาระบบเศรษฐกิจ

นายปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยียังแสดงความกังวลว่า หากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เปิดช่องให้รัฐเข้าไปลงทุน อาจจะเกิดช่องโหว่ของการแสวงหาผลประโยชน์ในบางกลุ่ม และอาจเกิดปัญหาได้ แต่มั่นใจว่า หลายภาคส่วนกำลังเดินหน้าเพื่อปรับแก้โครงสร้างให้ให้เกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุน ประชาชนได้ประโยชน์ทุกภาคส่วน และมีกลไกป้องกันการทุจริต

ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะมีกรรมการดิจิทัลมีหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติ พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจสังคม นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางด้านการเงิน การคลัง การลงทุน มาตรการทางภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผลจากการลงมติครั้งล่าสุดทำให้ต้องแก้ไขอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องของการวางโครงสร้างทางดิจิทัล ที่จำเป็นต้องโปร่งใส ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงเป็นเหมือนการวางรากฐานการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่ต้องอาศัยความรอบคอบ

หลังจากนี้ทางคณะกรรมาธิการจะประชุมหารือกันอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ย.นี้เพื่อปรับแก้ เนื้อหากฎหมาย ให้เกิดความชัดเชน โดยเฉพาะการทำครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนที่คุ้มค่า และเกิดธรรมาภิบาลสูงสุด เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณมหาศาล ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสมาชิก สนช. อีกครั้ง ในที่ 24 พ.ย.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง