"กรมอุทยาน" ไม่ยอมอปท.ขอแบ่งเค้กเงินรายได้ร้อยละ 40

สิ่งแวดล้อม
22 มิ.ย. 60
08:28
1,006
Logo Thai PBS
"กรมอุทยาน" ไม่ยอมอปท.ขอแบ่งเค้กเงินรายได้ร้อยละ 40
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แถลงไม่ยอม อปท.ขอแบ่งเค้กเงินรายได้ค่าธรรมอุทยานเพิ่มจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 40 ชี้กระทบการพัฒนาอุทยานแห่งชาติ และการดูแลสวัสดิการเจ้าหน้าที่ สวนทางกับ อปท. มีงบรายได้จากหลายส่วน

วันนี้(22 มิ.ย.2560) นายสมโภชน์ มณีรัตน์ โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกล่าวว่า กรณีที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) มีมติเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2559 เห็นชอบให้เสนอกระทรวงมหาดไทย แก้กฎหมายมหาดไทยให้แบ่งเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)จากเดิมร้อยละ 5 เพิ่มเป็นร้อยละ 40 หรือเรียกเพิ่มขึ้นมากถึง 8 เท่าจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ

เนื่องจากเงินรายได้อุทยานแห่งชาติ จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ที่สำคัญอุทยานแห่งชาติบางแห่งไม่สามารถเปิดบริการประชาชนได้ตลอดทั้งปี บางช่วงฤดูกาลอาจต้องปิดพื้นที่การท่องเที่ยว เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับการฟื้นฟู

 

 

ชี้กระทบการพัฒนา-สวัสดิการจนท.

ส่วนอุทยานแห่งชาติบางแห่งต้องใช้งบประมาณลงทุนฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งท่องเที่ยว และการลงทุนเพื่อการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ต่างจาก อปท. ได้รับเงินรายได้จากหลายส่วน เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน ค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ รวมถึง รายได้ทางอ้อมการจำหน่ายสินค้าต่างๆของชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ต้องหารือร่วมกันกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูความเหมาะสมและความจำเป็น โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ที่ต้องการเงินรายได้จากอุยานฯเพิ่มไปใช้เพื่อสิ่งใด

 

 

ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้รับเงินรายได้จากหลายส่วน เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายอากรการฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียม ผลประโยชน์อื่นเช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน ค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ รวมถึง รายได้ทางอ้อมการจำหน่ายสินค้าต่างๆของชุมชนรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาต้องหารือร่วมกันกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูความเหมาะสมและความจำเป็น โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ที่ต้องการเงินรายได้จากอุยานฯเพิ่มไปใช้เพื่อสิ่งใด

โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติ  ระบุว่า ปัจจุบันนี้มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งใช้เงินรายได้มาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว บ้านพัก ห้องน้ำ ซึ่งกว่า 150 อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ พบว่า เก็บเงินรายได้ประมาณ 100 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 4 อุทยาน เก็บเงินรายได้ประมาณ 10 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 20 อุทยาน ส่วนที่เหลือเก็บเงินรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรือบางแห่งเก็บเงินรายได้เพียงหลักแสนเท่านั้น

 

 

กางงบ 10 อุทยานเงินรายได้สูง 10-100 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากตัวเลขการจัดเก็บเงินรายได้อุทยานแห่งชาติ 3 ไตรมาสแรก (ต.ค. 2559-มิ.ย.) ของปีงบประมาณ 2560 พบว่ามีจำนวนได้เกือบ 1,700 ล้านบาท โดยอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จัดเก็บได้สูงสุดเกือบ 500 ล้านบาท

โดยอันดับ 1.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ 428 ล้านบาท 2.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 299 ล้านบาท 3.อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา 225 ล้านบาท 4.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จ.กาญจนบุรี 75 ล้านบาท 5.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 72 ล้านบาท 6.อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง 72 ล้านบาท 7.อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ 56 ล้านบาท 8.อุทยานแห่งชาติเกาะลันตา จ.กระบี่ 55 ล้านบาท 9. อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี 45 ล้านบาท 10.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จ.ตราด 27 ล้านบาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง