The EXIT : ปริศนาไม้กฤษณา

สิ่งแวดล้อม
24 ก.ย. 60
18:00
1,105
Logo Thai PBS
The EXIT : ปริศนาไม้กฤษณา
ทีมThe EXIT ตรวจสอบคดีชาวเวียดนามลักลอบตัดไม้หอมกฤษณาในป่าแม่วงก์ และปะทะกับเจ้าหน้าที่จนผู้ต้องหาเสียชีวิต 1 คน แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาวเวียดนามที่เคยเข้าไปล่าเสือโคร่งในเขตป่ารอยต่อทุ่งใหญ่นเรศวร อ.อุ้มผาง จ.ตาก เมื่อ 4 ปี

ทีมข่าว The EXIT แกะรอยกรณีชุดลาดตระเวนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พบการลักลอบตัดไม้หอมกฤษณา เจ้าหน้าที่จึงเข้าดำเนินการจับกุม แต่เกิดการปะทะกัน หลังเหตุการณ์ปะทะทำให้เจ้าหน้าที่ห้วยขาแข้งบาดเจ็บ 1 นาย ผู้ลักลอบตัดไม้เสียชีวิต 1 คน และตามจับกุมตัวได้อีก 3 คน ทั้งหมดเป็นชาวเวียดนาม โดยผู้ต้องหาชาวเวียดนามที่เจ้าหน้าที่ตามจับกุมได้นั้น ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า แต่ยอมรับว่าเข้ามาตัดไม้กฤษณา เพื่อนำกลับไปใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อเท่านั้น

จากหลักฐานเอกสารของกลุ่มผู้ต้องหาชาวเวียดนาม ที่ลักลอบตัดไม้กฤษณา ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เชื่อมโยงไปถึงผู้ร่วมขบวนการชาวไทย และเครือข่ายในลาว เจ้าหน้าที่เชื่อว่า กลุ่มผู้ต้องหาพยายามล่าสัตว์ป่า มากกว่ามาตัดไม้กฤษณา เพราะไม้กฤษณาในพื้นที่แม่วงก์ มีคุณภาพต่ำกว่าในพื้นที่อื่น

 

 

ถนนดินแดงตัดผ่านไร่เกษตรเป็นหนึ่ง ในเส้นทางที่มีข้อมูลว่าขบวนการค้าของป่าใช้ขนส่งคน และรับสินค้าออกจากเขาแม่กะสี ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์--เพราะว่า ถนนเส้นนี้อยู่ห่างจากชุมชน หมู่ 12 บ้านปางสัก จังหวัดนครสวรรค์ และ ไม่ใช่ถนนสายหลักที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางสัญจร

ทีมข่าว The EXIT สำรวจถนนเส้นนี้พบเพียงรถเกษตรกรใช้งาน ขณะที่สภาพถนนเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดเส้นทาง รถยนต์วิ่งสวนทางกันไม่ได้หากมีรถใช้เส้นทางนี้ จะผ่านได้เพียงคันเดียว ตลอดแนวมีไร่ข้าวโพด และ ไร่อ้อยสูงกว่า 2 เมตร

 


บุญลือ ทวีลาภ ผู้ใหญ่บ้านหมู่12 บ้านปางสัก จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ใหญ่บ้านปางสักบอกว่า ในฤดูฝน โดยเฉพาะช่วงกลางดึก มักพบรถไม่คุ้นตาวิ่งรับ-ส่ง คน เข้า - ออก บ่อยครั้ง

ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า ต้นไม้ใหญ่ริมถนน ถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ บอกพิกัดให้ผู้ร่วมขบวนการค้าของป่านำสินค้ามาส่ง เพราะต้นไม้ใหญ่ มองเห็นได้จากระยะไกล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาแม่กะสี เป็นจุดที่ขบวนการค้าของป่าใช้ลำเลียงคน เนื่องจากเป็นแนวภูเขาสูง สันเขาติดอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อีกฝั่งเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ หายากหลายชนิด ที่สำคัญยังมีจุดเดินเท้าห่างออกไปไม่ถึง 4 กิโลเมตร

ตลอดทางเดินเข้าป่ามีไร่อ้อยข้าวโพด เหมาะกับการพรางตัว ของป่าที่ถูกหามาได้จะถูกนำออกนอกประเทศผ่านจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดนครพนม ทั้งหมดเป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดประเทศลาว จากนั้นผู้ร่วมขบวนการในฝั่งลาว จะส่งต่อสินค้า ให้ชาวเวียดนามในเครือข่ายเพื่อส่งต่อไปประเทศจีน

ปลายทางของขบวนการนี้ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12 บ้านปางสัก อำเภอแม่เปิน ยอมรับว่า เขาและชาวบ้านเคยได้รับการว่าจ้างจากนายทุนชาวไทย และ ชาวต่างชาติ ให้นำทางเดินขึ้นเขาแม่กะสี เนื่องจากชาวบ้านแต่ละคนมีความชำนาญเรื่องป่า รู้พิกัดของต้นไม้ต่างๆรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์เป็นอย่างดี

 

 

ชาวเวียดนาม 3 คนนี้ เป็นผู้ต้องหา ลักลอบตัดไม้กฤษณา ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน ภูธรแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ คาดว่า ผู้ต้องหากลุ่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการค้าของป่า หลังจากตรวจพบข้อมูลเอกสารเป็นภาษาเวียดนาม มีรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางเข้าประเทศไทย และ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับผู้สั่งการในลาว

เจ้าหน้าที่ยื่นเอกสารให้ดูกราฟฟิกเส้นทาง เส้นทางจากลาว ไปหนองคาย ไปอุดรธานี ไปพิษณุโลก และ ไปจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า สถิติทางคดี ย้อนหลัง 3 ปี ของด่านตรวจสัตว์ป่า ทั่วประเทศ 40 แห่ง รวม 131 คดี ผู้ต้องหา 98 คน ของกลางที่ เป็นสัตว์ป่ามีชีวิต กว่า 3,379 ตัว ซากสัตว์กว่า 400 ซาก และ งาช้างกว่า 400 ท่อน

เจ้าหน้าที่เปิดเผยเส้นทาง และพฤติกรรมการเข้าสู่ประเทศไทยของผู้ต้องหากลุ่มนี้ เริ่มต้นจากการใช้หนังสือเดินทางในฐานะนักท่องเที่ยวจากลาว เข้าไทย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย ตรงกับข้อมูลในหนังสือเดินทางที่มีตราประทับ ของ ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทย จากนั้นกลุ่มผู้ต้องหาต่อรถไปจังหวัดอุดรธานี จังหวัดพิษณุโลก และพักค้างคืนที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเข้าพักที่โรงแรม 1 คืน

ภาพโทรศัพท์เอกสารเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ และเส้นทางเข้าไปในป่าคำให้การผู้ต้องหา ถูกเปิดเผยระหว่างขั้นตอนการทำแผนประกอบคำสารภาพ ว่า ติดต่อให้ผู้ร่วมขบวนการในไทย ขับรถ ไปส่งในพื้นที่เป้าหมาย บริเวณเขาแม่กะสี เขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จากนั้นเดินเท้าร่วมกับเพื่อน 4 คนเข้าไปบริเวณสันเขาแบ่งเขตแม่วงก์ กับ ห้วยขาแข้ง และปะทะกับเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง 

ทีมข่าว THE EXIT เดินทางไปร่วมตรวจสอบจุดปะทะ ระหว่างเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง บริเวณสันเขาแม่กะสี เพื่อค้นหาปืนและหลักฐานอื่นๆ จุดแรกเจ้าหน้าที่เดินเท้า ไต่ระดับความสูงขึ้นเขาไปจุดปะทะ บริเวณนี้ เป็นป่าดงดิบ เมื่อเข้าไปได้หนึ่งกิโลเมตร จะพบพันธุ์ไม้ยืนต้นหลายชนิด เช่น ต้นสัก - ต้นพะยูง แต่ละต้น มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 - 30 ปี เมื่อถึงจุดปะทะ พบล่องลอยกระสุนที่เฉี่ยวผ่านต้นไม้ บางต้นมีกระสุนติดคาอยู่ในต้นไม้ สังเกตุด้วยตาพบว่า วิถีกระสุนเป็นการยิงสวนขึ้นไปหากลุ่มผู้ต้องหาชาวเวียดนาม แต่ที่เกิดเหตุกับไม่พบร่องรอย การยิงสวนลงมา

ผู้ต้องหาปฎิเสธ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าสัตว์ป่า แต่ยอมรับว่า ได้ติดต่อจากชาวลาว ให้เข้ามาตัดไม้กฤษณา เพื่อนำกลับไปใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อ และ จะกลับไปรับเงินที่ด่านจังหวัดนครพนม หลังนำไม้กฤษณา ส่งให้กับนายหน้าชาวลาวปล่อยเสียง ล่าม ที่ ผู้คุยโตตอบกับผู้ต้องหา


แต่ข้อมูลจาก น.ส. วีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง บอกว่า ผู้ต้องหากลุ่มนี้มีความชำนาญการเดินป่ารู้จักพรรณพืช และสัตว์ป่าเป็นอย่างดี ตั้งข้อสังเกตว่าต้องมีคนในประเทศไทย ให้การสนับสนุน ทั้งอาวุธ และ การขนส่ง มีความเป็นไปได้ จากพฤติกรรม ว่า เกี่ยวข้องเป็นขบวนการเดียวกับชาวเวียดนาม ที่เคยเข้าไปล่าเสือโคร่งในเขตป่ารอยต่อเขตทุ่งใหญ่นเรศวร อ.อุ้มผาง จ.ตาก เมื่อปี 2554 หรือ ไม่

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 18 -30 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้มีทั้งแบบปกติ และ แบบเนื้อไม้หอมไม้กฤษณา ที่กลุ่มผู้ต้องหาชาวเวียดนาม อ้างว่าได้รับการว่าจ้างให้มาตัดในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ นั้นฟังดูจะไม่มีเหตุผล

ตามคำยืนยันของ นายกิตติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เพราะไม้กฤษณาส่วนใหญ่ในผืนป่าแม่วงก์ มี คุณภาพน้ำมันที่ต่ำกว่าที่อื่นๆ จึงตั้งข้อสังเกตว่าขบวนการนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างอื่นมากกว่า เสี่ยงเข้ามาตัดไม้กฤษณา

ป่าแม่วงก์มีเนื้อที่ครอบคลุมกำแพงเพชร 279,050 ไร่ และ นครสวรรค์ 279,700 ไร่ ป่าแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตก หากเชื่อมรวมกับผืนป่าในพม่า ป่าผืนนี้ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ป่าแม่วงก์มีสภาพผืนป่าทั้ง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณป่าดิบเขาสูง ป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่าไม่ น้อยกว่า 549 ตัว ยอดเขาโมโกจู ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์แม่วงก์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เห็นได้ชัดจากการเพิ่มประชากรเสือโคร่งในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา 

 อิทธิพล เอี่ยมเชย ไทยพีบีเอส รายงาน 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง