คสรท.นัดหารือปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 22 ม.ค.นี้

สังคม
19 ม.ค. 61
10:45
1,231
Logo Thai PBS
คสรท.นัดหารือปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 22 ม.ค.นี้
คสรท.นัดหารือปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 22 ม.ค.นี้ หลังยังไม่พอใจกับตัวเลขที่เคาะออกมา จึงขอให้รัฐทบทวนใหม่ ตั้งข้อสังเกต 3 จัง หวัดชายแดนใต้ไม่สอดคล้องความเสี่ยง ขณะที่กระทรวงแรงงาน ยืนยันไม่ทบทวนมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เตรียมนำเข้าครม.วันที23 ม.ค.นี้

หลังมีการเคาะตัวเลขอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 อยู่ที่ 5-22 บาทโดยให้มีผลวันที่ 1 เม.ย.นี้ มีปฏิกริยาจากทั้งฝั่งนายจ้างและผู้ใช้แรงงานต่อมติดังกล่าวอย่างกว้างขวาง วันนี้ (19 ม.ค.2561) น.ส. ธนพร วิจันทร์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เห็นว่า มติของไตรภาคี ไม่เป็นไปตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ คือทำงาน 1 คน ต้องเลี้ยงคนในครอบ ครัวได้อีก 2 คน แรงงานจึงจะอยู่ได้

 พร้อมยังตั้งข้อสังเกตการกำหนดอัตราค่าจ้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ได้ปรับ 308 บาท ขึ้นมาเพียง 8 บาทนั้น มองว่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะแรงงานกลุ่มนี้ต้องทำงานอยู่บนความเสี่ยง ส่วนในกลุ่มอัตราอื่นไม่แน่ใจว่าบอร์ดใช้หลักเกณฑ์ใดพิจารณา ทำให้เตรียมจัดประชุมเร่งด่วนร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว ในวันที่ 22 ม.ค.นี้

ด้านนายเจน นำชัยศิร ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ สอท.กล่าวว่า สอท.จะประชุมใหญ่สมาชิกหารือผลกระทบการปรับขึ้นค่าจ้างแรงขั้นต่ำในวันที่ 22 ม.ค.นี้โดยขอให้อุตสาหกรรมจังหวัดไปคุยกับผู้ประกอบการและเสนอผลกระทบมาอย่างละเอียด

เช่นเดียวกับนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ มองว่าปรับสูงกว่าที่คาดหมาย ซึ่งตามความเห็นของคณะอนุกรรมการค่าจ้างในจังหวัดต่างๆมองว่าไม่ควรขึ้นไปเกิน 12 บาท

สำหรับผลกระทบของแต่ละอุตสาหกรรม หากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีน้อย ใช้แรงงานมาก เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกระดาษ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม และเอสเอ็มอี ย่อมกระทบสูง โดยจะต้องปรับตัวนำเครื่องจักรมาใช้มากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ใช้เทคโนโลยีสูง ก็จะไม่กระทบ

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน

นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน

แรงงาน ยืนยันไม่ทบทวนมติขึ้นค่าแรง

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงในรอบนี้ย่อม ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจแน่นอน ซึ่งบางจังหวัด ขึ้นมาถึงร้อยละ 10 ดังนั้นหากผู้ประกอบการไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพทางการผลิตขึ้นได้ ค่าแรงที่ปรับขึ้นจะมีผลต่อต้นทุนการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ค่าแรงที่ปรับขึ้น น่าจะหนุนให้กำลังซื้อโดยรวม ดีขึ้นได้

ด้านนายจรินทร์จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง เผยว่า หลังจากนี้นำผลพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2561 เสนอรัฐมนตรีว่า การกระทรงแรงงานพิจารณา เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้า โดยยืนยันจะไม่มีการทบทวนมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก เพราะเป็นฉันทามติ ร่วมกันจากทุกฝ่าย ที่เป็นว่าอัตราดังกล่าวเหมาะสมแล้ว

ส่วนที่มีข้อท้วงติงจากกลุ่มแรงงานถึงอัตราค่าจ้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ 308 บาทไม่เหมาะสมนั้น ที่ประชุมรับฟังข้อเสนอทุกภาคส่วน จนมีมติร่วมกันยืนยันตัวเลขดังกล่าว โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้คำนวณมาจากตัวชี้วัดปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องรอบด้าน

นอกจากนี้ยังชี้แจงถึงเหตุผลที่กำหนดระยะเวลามีผลบังคับใช้วันที่1 เม.ย.ว่า เป็นข้อตกลงในที่ประชุม เพราะต้องนำมาตรการที่ได้กำหนดเพื่อช่วยผู้ประกอบการเสนอรัฐบาล ต้องให้เวลานายจ้างเตรียมตัว ส่วนข้อกังวลของเครือข่ายแรงงานว่ากลุ่มเอสเอ็มอีจะได้รับ ผลกระทบนั้น ในส่วนนี้รัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลืออยู่แล้วอย่างไรก็ตาม จะรับฟังไว้ เพื่อนำไปพิจารณาครั้งต่อไป

นายสาวิทย์ แก้วหวานประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คสรท.ยืนยันว่า ไม่พอใจการปรับขึ้นค่าแรงรอบนี้ แต่ว่าทางปลัดแรงงาน ก็เตรียมส่งผลการหารือคณะกรรมการค่าจ้างเข้าที่ประชุม ครม.วันที่ 23 ม.ค.นี้เพื่อให้ทบทวน หรือเป็นการแสดงจุดยืน



ข่าวที่เกี่ยวข้อง