เปิดภาพครอบครัว "เสือดาว-เสือดำ"ป่าห้วยขาแข้ง

สิ่งแวดล้อม
15 ก.พ. 61
16:15
10,369
Logo Thai PBS
เปิดภาพครอบครัว "เสือดาว-เสือดำ"ป่าห้วยขาแข้ง
เฟซบุ๊ก Thailand Tiger Project เปิดภาพครอบครัวเสือดาว และเสือดำจากป่าห้วยขาแข้ง ที่ถ่ายจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าเมื่อปี 2557 ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และพื้นที่หากินของเสือดำในผืนป่าไทย

วันนี้ (15 ก.พ.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Thailand Tiger Project ได้เผยแพร่คลิปวิดีความยาว 24 วินาที ซึ่งเป็นภาพของครอบครัวเสือดาว 3 ตัวมีพ่อแม่เสือดาว เสือดำ และลูก ที่บันทึกได้จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าเมื่อเวลา11.13 น.วันที่ 29 พ.ย.2557 โดยพบว่าเสือ 3 ตัวเกินกลับไปมาผ่านกล้องดักถ่ายภาพ

โดยมีการเขียนข้อความประกอบว่า "รู้จักเสือดาว,ดำ จากงานวิจัย" ข้อมูลจากการวิจัยของ ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ ที่ศึกษาเสือ ดาว ดำ 15 ตัว ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ปี 2537-2542 ทำให้รู้ว่า ตัวผู้หนักเฉลี่ย 38 กก. ตัวเมียหนักเฉลี่ย 28 กก.ตัวผู้ใช้พื้นที่หากินราว 47 ตร.กม.ที่ไม่ซ้อนทับกับตัวผู้อื่นซึ่งมากกว่าตัวเมียที่ต้องการพื้นที่หากินราว 30 ตร.กม. และมีการซ้อนทับกันชนิดหลักของอาหารของเสือดาวคือ กวางป่า หมูป่า เก้งที่น่าสนใจคือ เสือดาวล่าจำพวกลิง ค่าง ชะนี และเม่นเป็นอาหารได้ดีกว่าเสือโคร่ง

โดยโครงการวิจัยเสือโคร่งในประเทศไทย เป็นงานวิจัยร่วมของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า หรือ WSC (ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Thailand Tiger Project )

ข้อมูลจากกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ระบุว่า เสือดำ ที่ถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหดในวันนี้ เป็นครอบครัวเดียวกับเสือดาว (Leopard) ที่เราคุ้นเคยกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Panthera pardus เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris)

ทั้งนี้ เสือดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ปัจจุบัน บัญชีแดงของ IUCN จัดให้เสือดาว อยู่ในสถานะสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกล่าอย่างหนัก และการบุกรุกพื้นที่ป่า

โดยเสือดำ ที่มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิด จากการเป็นเสือดำ เกิดจากความผิดปกติในเม็ดสีเที่เรียกว่าเมลานิซึม ส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่จะสังเกตเห็นได้ยาก จะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในแสงแดด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

รู้จัก "เสือดำ" แห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง มี 130 ตัว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง