เปิดปม : มหันตภัยขยะไฮเทค "ขุมทรัพย์สารพิษ" ตอนที่ 1

8 มิ.ย. 61
16:07
981
Logo Thai PBS
เปิดปม : มหันตภัยขยะไฮเทค "ขุมทรัพย์สารพิษ" ตอนที่ 1
การซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่สักเครื่อง อาจไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า “เมื่อได้เครื่องใหม่มาแล้ว เราจะทำอย่างไรกับเครื่องเก่า?"

การกำจัดอุปกรณ์เหล่านี้ให้พ้นตัวด้วยวิธีการเดิมๆ ที่คุ้นเคย อาจอันตรายกว่าที่คิด บางคนมองหาร้านรับซื้อของเก่าเพื่อกำจัดของเหลือใช้เหล่านี้ ร้านรับซื้อของเก่าจึงเป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์จากครัวเรือน ซึ่งนอกจากรับซื้อแล้ว ร้านรับซื้อของเก่าหลายแห่ง ยังแกะแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง แล้วเศษชิ้นส่วนจากการคัดแยกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะไปไหนต่อ?

การคัดแยกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าเพื่อส่งขายให้ร้านรับซื้อของเก่า นั่นหมายความว่าคนใช้สิ่งของมือ 1 ต้องการเปลี่ยนของเหลือใช้ให้พอมีราคา แลกเป็นเงินกลับมาบ้าง เมื่อถึงมือร้านรับซื้อของเก่า ทางร้านจะชำแหละเพื่อคัดแยกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังคงมีราคา เพื่อขายต่อเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกทอดหนึ่ง

เงินที่ได้จากการแกะแยกซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นแรงจูงใจที่ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยกลายเป็นแหล่งรวบรวม แกะแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปราศจากการป้องกันการแพร่กระจายของสารพิษ

ทุกพื้นที่ที่ผู้คนทำอาชีพนี้จึงมักตรวจพบสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นตะกั่ว แคดเมียม หรือสารพิษอื่นๆ ตกค้างในสภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ ไม่ต่างจากโรคระบาดที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นพาหะ ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิดมีอายุการใช้งานเท่าไร?

เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งาน 10 ปี

เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งาน 10 ปี

เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งาน 10 ปี

โทรทัศน์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

โทรทัศน์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

โทรทัศน์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

ตู้เย็นมีอายุการใช้งาน 10 ปี

ตู้เย็นมีอายุการใช้งาน 10 ปี

ตู้เย็นมีอายุการใช้งาน 10 ปี

คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งาน 10 ปี

อ่าน "ขุมทรัพย์สารพิษ" ตอนที่ 2 และติดตามรายการเปิดปมได้ที่ เพจเฟซบุ๊กเปิดปม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง