เทียบบัตรตั๋วร่วมโดยสารไทย-ต่างประเทศ

สังคม
22 มิ.ย. 61
11:35
1,984
Logo Thai PBS
เทียบบัตรตั๋วร่วมโดยสารไทย-ต่างประเทศ
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ประสบการณ์การใช้บริการตั่วร่วมใบเดียว จากคนไทยทั้งในประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ยอมรับตรงกัน ช่วยอำนวยความสะดวก เชื่อมต่อการเดินทาง และมีราคาถูกกว่าใช้รถยนต์ หลังไทยเพิ่งเปิดตัวใช้บัตรแมงมุมวันแรก

วันนี้ (22 มิ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) เริ่มนำระบบตั๋วร่วมที่เรียกว่า “บัตรแมงมุม”มาใช้งาน โดยเริ่มแจกบัตร 200,000 ใบครั้งแรก ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์การใช้ตั๋วร่วมระบบขนส่งมวลชนในต่างประเทศที่มีการใช้งานหลากหลาย 

นายศิวาวุธ วันนา นักจัดรายการวิทยุ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น บอกถึงประสบการณ์การใช้บัตรโดยสารร่วม 2 ใบที่ใช้เดินทางภายในญี่ปุ่นคือ Suica และ Pasmo โดยบอกว่าทุกครั้งที่ไปเที่ยวจะซื้อบัตรโดยสาร เนื่องจากสามารถนำมาใช้งานกับระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทในเมืองโตเกียว คือรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์วิ่งในเมือง รวมทั้งใช้บัตรแทนเงินสดในการซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายของบัตรที่ใช้ ทำให้สะดวกสบายในการใช้งาน

บรรยากาศภายในรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น

บรรยากาศภายในรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น

บรรยากาศภายในรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น

ชอบการใช้งานบัตรตั๋วร่วมของญี่ปุ่น เพราะสะดวกมาก เพียงแค่ใช้บัตรโดยสารแปะตรงเครื่องสแกนได้ทุกสถานีรถไฟ และทุกการให้บริการที่เป็นเจ้าของบัตร ทำให้นักท่องเที่ยว ไม่ต้องซื้อบัตรหลายใบเพราะบัตรใบเดียวก็ขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า ลงใต้ดิน และซื้อของ และยังแอปพลิเคชันมาฝังในมือถือ โดยไม่ใช้บัตรก็ได้ 

นายศิวาวุธ บอกว่า ถ้าเทียบราคาการใช้บริการ มองว่าราคาไม่แพงเกินไปเพราะขั้นต่อเติมเงินประมาณ 1,000 เยน และแต่ละสถานีอัตราค่าโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เยนหรือ 60 บาท นอกจากนี้ เขามีทางเลือกให้นักท่องเที่ยว สามารถซือตั๋วโดยสารร่วมแบบ 3 วัน 5 วันและ 7 วัน ที่สำคัญระบบเขาเชื่อมโยงกันทั้งในและนอกเมืองทำให้สะดวกต่อการเดินทางมากขึ้น  

ส่วนระบบตั๋วแมงมุมใบแรกของไทยภาพรวมสนับสนุนว่าควรมีมานานแล้ว เพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวกเชื่อต่อระบบขนส่งมวลชน แต่เท่าที่ทราบยังมีปัญหาเชื่อมกับทางรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจุดนี้ก็อาจจะเป็นปัญหาและทำให้ผู้ใช้ตั่วร่วมต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะมันยังไม่ครอบคลุมทุกเส้นทาง

 

บรรยากาศการซื้อตั๋วรถไฟที่ญี่ปุ่น

บรรยากาศการซื้อตั๋วรถไฟที่ญี่ปุ่น

บรรยากาศการซื้อตั๋วรถไฟที่ญี่ปุ่น

ระบบตั๋วร่วม "ออสเตรเลีย"ราคาถูกกว่าค่าจอดรถ

นายติณระวัฒน์ บัญญัติ นักศึกษาชาวไทยในนครเมลเบิร์น ออสเตรเลีย กล่าวว่า ในประเทศออสเตรเลียแต่ละรัฐจะมีระบบตั๋วร่วมของตัวเอง สามารถใช้ได้กับขนส่งมวลชนทุกประเภท แต่จะไม่สามารถใช้ข้ามรัฐได้ เช่นของเมลเบิร์น กับซิดนีย์จะเป็นคนละระบบ โดยจะสามารถใช้งานได้ในเฉพาะรัฐ เช่น ซิดนีย์จะคิดค่าโดยสารตามระยะทาง ขณะที่เมลเบิร์นจะคิดเป็นโซน

 

ที่มา : racq.com.au

ที่มา : racq.com.au

ที่มา : racq.com.au

 

การเดินทางในเมลเบิร์น จะเป็นระบบเชื่อมโยงการเดินทาง ทั้งรถไฟ (Metro Trains Melbourne) รถราง (Yarra Trams) และรถเมล์ (Transdev Melbourne) โดยแบ่งเป็นโซนในการคิดค่าโดยสารเช่นในเมือง และปริมณฑล อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 4-8 ดอลลาร์ เพดานราคาสูงสุดจะอยู่ที่ไม่เกิน 8.60 ดอลลาร์ โดยบางเส้นทางจะให้บริการตลอด 24 ชม. ซึ่งอาจมีปัญหาหรือรถล่าช้าบ้างประมาณ 5-15 นาที

 

Metro Trains เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

Metro Trains เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

Metro Trains เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

 

เนื่องจากขณะนี้มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟ นอกจากนี้ทั้งรถไฟ รถราง และรถเมล์จะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการด้วย การเดินทางจึงค่อนข้างสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม ขณะที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวจะมีค่าจอดรถที่ค่อนข้างสูงโดยราคาที่จอดรถจะแตกต่างกันเช่น ช่วงเวลาทำงานจะได้อัตราค่าจอดแบบ (Early Bird) โดยเข้าก่อน 10.00 น. ออกก่อน 17.00 น.จะอยู่ที่ราว 10-20 ดอลลาร์ ซึ่งยิ่งใกล้ตัวเมืองราคาจะยิ่งสูง โดยเฉพาะการเข้ามาทำธุระเช่น ช้อปปิ้ง ดูหนัง ราคาจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน เพราะราคาที่ถูกกว่า หากเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งในเขตเมืองที่จอดรถจะหายาก และราคาแพง ชม.ละ 3-4 ดอลลาร์ ซึ่งหากทำธุระเป็นเวลานานราคาอาจจะสูงไปที่ 10-15 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าแพงมาก คนส่วนใหญ่จึงมักที่จะใช้ระบบรถสาธารณะ
รถรางที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

รถรางที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

รถรางที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย

อำนวยความสะดวกครบจบบัตรเดียว

น.ส.ดุษณี สระเพ็ชร นักศึกษาแลกเปลี่ยนที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระบุว่า ที่ประเทศเกาหลีมีการใช้บัตร ทีมันนี่การ์ดกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นบัตรสำหรับการคมนาคมที่สะดวกสบายมาก บัตรเดียวใช้ขึ้นได้ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟ รถเมล์ โดยไม่ต้องไปต่อแถวซื้อตั๋วรถไฟทีละครั้งๆ หรือต้องคอยนับเหรียญหย่อนลงกล่องบนรถเมล์ รวมทั้งใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อได้ และถ้าใช้ทีมันนี่การ์ดจะมีราคาถูกกว่าจ่ายด้วยเงินสดอีกด้วย

สำหรับราคาค่าโดยสารที่เกาหลีนั้นถือว่าถูกมาก หากใช้ทีมันนี่การ์ดขึ้นรถไฟราคาเริ่มต้นที่ 1250 วอน หรือประมาณ 37 บาท ส่วนรถเมล์ ราคาอยู่ที่ 1200 วอน หรือประมาณ 35 บาท ยกเว้นรถเมล์ออกนอกเมือง ไปชานเมืองที่ไกลก็จะเริ่มต้นราคาต่างกัน แต่มีปัญหาอยู่บ้าง

 

บัตรโดยสารของเกาหลี

บัตรโดยสารของเกาหลี

บัตรโดยสารของเกาหลี

 

เนื่องจากเกาหลีมีสายรถไฟจำนวนมาก หากต้องการไปสถานที่ใหญ่ๆ หรือเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญนั่งรถไฟไปถึงได้เลยในต่อเดียว แต่หากไปสถานที่ทั่วไปแล้วต้องเปลี่ยนสายก็จะเสียเงินเพิ่ม 100 - 200 วอน หรือประมาณ 3-6 บาท ตามแต่สถานี ถ้าบางที่ที่รถไฟไปไม่ถึง ก็สามารถต่อรถเมล์ได้ ซึ่งถ้าเปลี่ยนจากรถเมล์ไปรถไฟ หรือรถเมล์สายนึงไปอีกสายนึงภายใน 30 นาที ผู้โดยสารจะไม่เสียค่าเดินทางเพิ่มอีกด้วย

สำหรับประเทศที่ที่จะมีบัตรแมงมุม คิดว่าเป็นเรื่องดี เพราะชอบการคมนาคมที่เกาหลีมาก ถ้าที่ไทยทำได้แบบเดียวกัน ก็จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นเยอะเลย ถือบัตรเดียวขึ้นได้หมดเลย
ตู้หยอดเครื่องดื่มที่ใช้บัตรร่วม ญี่ปุ่น

ตู้หยอดเครื่องดื่มที่ใช้บัตรร่วม ญี่ปุ่น

ตู้หยอดเครื่องดื่มที่ใช้บัตรร่วม ญี่ปุ่น

 

ส่วน น.ส.เรืองทิพย์ ผิวมะลิ นักศึกษาสถาบันภาษาเมนโทรา กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ที่สหรัฐฯ มีบัตรที่ใช้ในการคมนาคม เรียกว่า เมโทรการ์ด โดยสามารถใช้โดยสารรถไฟ รถไฟฟ้า รถเมล์ได้ เฉพาะในเมืองและรัฐใกล้เคียงเท่านั้น โดยส่วนตัวอาศัยอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนียร์ ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือในเมืองวอชิงตัน ดีซี ก็สามารถใช้บัตร เมโทรการ์ดนี้โดยสารไปได้ ด้วยค่าโดยสาร 5 เหรียญ หรือประมาณ 150 บาท

สำหรับบัตรเมโทร การ์ดนี้สามารถซื้อได้ที่สถานีรถไฟหรือสถานีรถไฟฟ้าทั่วไป โดยราคาจะอยู่ที่ 2 เหรียญ หรือประมาณ 60 บาท ซึ่งรู้สึกว่าราคาแพงมากถ้าคิดเทียบกับเงินไทย แต่มีเพื่อนใช้บัตรแบบเดียวกันที่นิวยอร์ก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30 บาท ซึ่งถูกกว่ามาก แต่ไม่สามารถใช้ข้ามเมืองได้ แต่โดยรวมถือว่าช่วยเพิ่มความสะดวกสบายได้มาก ถ้าประเทศไทยทำได้แบบนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

พรุ่งนี้! ดีเดย์ใช้จริง "บัตรแมงมุม" ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สีน้ำเงิน

"บัตรแมงมุม" ใช้งานอย่างไร!

ผู้โดยสารหวัง “บัตรแมงมุม” เชื่อมโยงทุกระบบ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง