วิเคราะห์ความเป็นไปได้ "เจาะถ้ำ"ยากหรือง่าย?

สังคม
28 มิ.ย. 61
20:29
13,888
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ "เจาะถ้ำ"ยากหรือง่าย?
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการขุดเจาะถ้้ำหลวง เพื่อหาช่องทางในการค้นหาทีมฟุตบอลหมูป่าทั้ง 13 ชีวิต ระบุทางเทคนิคทำได้ แต่ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนของภูเขา บวกกับการทำงานร่วมของโดรน หุ่นยนต์ เพื่อให้เจาะได้ตรงจุด

วันนี้ (28 มิ.ย.2561)  หลังจากมีข้อเสนอในการเจาะถ้ำ ทั้งบนโพรงถ้ำ ภายในถ้ำ เพื่อหามาตรการเข้าช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี ที่ติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย นักวิชาการระบุว่ามีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี ในการเจาะถ้ำ  เนื่องจากถ้ำหลวงเป็นภูเขาหินปูน แม้ว่าจะแข็ง แต่เปราะ สามารถเจาะกระแทกเข้าไปได้

แต่ประเด็นสำคัญคือจะเจาะตรงไหน ถ้ำที่เราเห็น ถ้าเทียบกับภูเขาลูกใหญ่ และยาว หากกำหนดผิดจะเสียเวลาหรือไม่ จากแผนที่คร่าวๆที่ออกมาทำโดยนักสำรวจ ไม่ได้ตรวจสอบเชิงพื้นที่และรู้ว่าถ้ำอยู่ตรงส่วนไหนของภูเขา

 

รวมทั้งจะเจาะอย่างไรให้ใกล้เคียงและใกล้กับจุดที่เด็กอยู่มากที่สุด เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีจะนำอุปกรณ์ไปวางรอบภูเขา สแกน ข้อมูล และวาดภาพภูเขาออกมาเป็นภาพสามมิติ จากนั้นจะมีการโดรนมาเก็บข้อมูลเก็บพื้นผิวถ้ำ และมีศักยภาพในการซูม โดยใช้ในการสำรวจปิโตรเลียมทางทะเล ถ้านำมาวิเคราห์ร่วมกันกับหุ่นนยนต์ดำน้ำของปตท.ที่ใช้สำรวจความผิดปกติในท่อส่งน้ำมัน ความพิเศษของหุ่ยนต์สามารถปีนสิ่งกีดขวาง จับแรงสั่นสะเทือน

ขณะที่โอกาสในการเจาะผนังเข้าด้านข้างมีโอกาสมากกว่า และพอรู้จุดเจาะ ซึ่งขั้นตอนการเจาะ จะเริ่มจากเจาะวงรอบเล็กๆวงรอบ 4-5 นิ้วก่อน โดย 1 ชั่วโมงหนึ่งจะได้ 5-10 เมตร และเหมาะสมกับเวลา และก็ขยายจากรูเดิม

 

 

นายสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ถ้าหากเจอว่าเจอคนด้านล่างก่อน ก็จะใช้ช่องนี้ในการส่งอาหาร และหวังลึกๆให้เด็กได้รับรู้และสื่อสารว่ากำลังช่วยเด็กๆ 

แต่นักวิชาการระบุว่า ขอให้การเจาะถ้ำเป็นแนวทางที่ 2 และอยากให้ใช้ทางเลือกโพรงถ้ำ ช่องหินที่จะสอดกล้องในรูขนาดเล็ ก

ส่วนความยากง่ายน่าจะมาจากเจ้าหน้าที่ ต้องวางอุปกรณ์ให้ทั่วภูเขา เพื่อสแกนภูเขานำมาคำนวณแล้วเจาะ แต่ต้องมีข้อมูลที่สมบูรณ์เพียงพอกับจุดที่มีเด็กๆอยู่หรือไม่ และแม้หัวขุดเจาะจะเล็ก แต่ก็ต้องใช้การลำเลียงทางอากาศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

เปิดแผนที่กรมทรัพยากรธรณี มาร์ก 3 ตำแหน่ง "เจาะถ้ำหลวง"

"เจาะเพดานถ้ำ" เปิดความกว้าง 100 เมตร ทะลุโถงพัทยาบีช

กรมทรัพยากรธรณี วิเคราะห์ความหนาถ้ำหลวง "เจาะผนังถ้ำ”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง