ปิดภารกิจ "ระบายน้ำ" ถ้ำหลวงช่วยทีมหมูป่า

สังคม
10 ก.ค. 61
14:34
4,869
Logo Thai PBS
ปิดภารกิจ "ระบายน้ำ" ถ้ำหลวงช่วยทีมหมูป่า
ปิดงานระบายน้ำถ้ำหลวง 18 วันช่วยทีมหมูป่าสำเร็จ ทำงานแข่งเวลาท่ามกลางฝนที่ตกหนัก ตัวแทนกลุ่มเครื่องสูบน้ำซิ่ง บอกยินดีต้อนรับออกสู่โลกกว้าง ขณะที่กระทรวงเกษตรเร่งระบายน้ำท่วมลงแม่น้ำโขง และเยียวยาเกษตรกรที่ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ

วันนี้ (10 ก.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภารกิจสำคัญในการนำทีมหมูป่าอะคาเดมีอีก 5 คนชุดสุด ท้าย ออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ยังคงต้องเร่งบริหารจัดการระบายน้ำ เนื่องจากฝนที่ตกลงมาตั้งแต่กลางดึก จนถึงช่วงเช้าวันนี้ เพราะหากมีฝนตกลงมาเพิ่มจนทำให้รับน้ำในถ้ำเพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลโดยตรงต่อการน้ำผู้ประสบภัยออกมาจากถ้ำได้ 

สำหรับการระบายน้ำในขณะนี้ ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเบี่ยงเส้นทางน้ำไม่ให้เข้าถ้ำ ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่ยังต้องทำต่อไป โดยด้านในถ้ำหลวง มีเครื่องสูบน้ำ 3 ตัวระบายมาที่บ่อนางนอน และมีทีมสูบน้ำซิ่งอีก 4 ตัวมาประจำการต่อเนื่อง แต่มีการยืนยันว่าถึงจะมีฝนตก 5-6 ชั่วโมง ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้

หนึ่งในทีมสูบน้ำซิ่ง บอกว่า ยังต้องสูบน้ำด้านในปลายถ้ำหลวง 1 จุดและถ้ำทรายทอง เพื่อให้ระดับน้ำในถ้ำลดลง อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภารกิจนำทีมน้องๆออกมาอย่างปลอดภัยและอยากเห็น และยินดีๆรับออกมาสู่โลกกว้าง

 ส่วนการผันน้ำบริเวณด้านเหนือและท้ายถ้ำหลวงฯ จำนวน 2 จุด คือ บริเวณห้วยน้ำดัน หรือ บ้านผาหมี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1-2 กรกฎาคม มีการสร้างฝายชั่วคราว 2 แห่ง พร้อมระบบท่อผันน้ำช่วยลดน้ำซึมเข้าถ้าได้ 18,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ส่วนบริเวณห้วยปากตีนไฟหรือ บ้านผาฮี เริ่มดำเนินการในวันที่ วันที่ 4-5 กรกฎาคม สร้างฝายชั่วคราว 1 แห่ง พร้อมระบบท่อผันน้ำ ช่วยลดน้ำซึมเข้าถ้ำได้ 14,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สรุปรวมการผันน้ำทั้ง2 แห่ง ช่วยลดน้ำซึมเข้าถ้ำ 32,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

เร่งเยียวยาเกษตรกรรับน้ำถ้ำหลวง


นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร ที่ได้รับผลกระทบรับน้ำจากถ้ำบริเวณบ้านหนองอ้อ ต.โป่งผา อ.แม่สาย 300 ไร่ บ้านสันปูเลย ตำบลบ้านด้าย 458 ไร่ มีน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 50 เซนติเมตร คิดเป็นปริมาณน้ำในพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 600,000 ลูกบาศก์เมตร

โดยการแก้ไขเร่งด่วนเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา ใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งการระบายน้ำลงสู่น้ำมะ ซึ่งเป็นสาขาน้ำรวกและสู่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน ขณะนี้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว

ส่วนแนวทางให้การช่วยเหลือ นอกจากจัดชุดเยี่ยมเกษตรกร และสำรวจความเสียหายจะได้รับความช่วยเหลืออีกหลายด้าน เช่น สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ผักสินเชื่อฉุกเฉิน เงินกู้ดอกเบียต่ำ ผัด ผ่อนหนี้ให้เกษตรกรโดยไม่มีค่าปรับ ชดเชยตามโครงการประกันภัยข้าวนาปี ติดตั้่งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำออกจากแปลงนา

สำหรับพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงทั้งสิ้น 5 หมู่บ้าน 4 ตำบล 50 ราย พื้นที่ 617.25 ไร่ เกษตรกรจะได้รับชดเชย รายละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราการช่วยเหลือตามระเบียบ คือ ข้าว อัตราไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ1,148 บาท  พืชสวนและอื่นๆ อัตราไร่ละ 1,690 บาท

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง