นิด้าโพลชี้บัตรคนจนไม่แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำในสังคม

สังคม
16 ก.ย. 61
15:44
690
Logo Thai PBS
นิด้าโพลชี้บัตรคนจนไม่แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำในสังคม
ผลสำรวจจากนิด้าโพล เกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นว่าการเพิ่มเงินวงในบัตรสวัสดิฯ ยังไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำสังคมได้ เพราะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นนโยบายที่ไม่ต่างจากประชานิยม พร้อมแนะให้รัฐบาลเพิ่มค่ารักษาพยาบาล

วันนี้ (16 ก.ย.2561) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 1,253 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนร้อยละ 65.60 ไม่ได้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และร้อยละ 34.40 ระบุว่า ลงทะเบียน


ส่วนความเห็นการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการคนละ 100 - 200 บาท และสามารถเบิกเงินสดไปใช้ได้ พบว่า ร้อยละ 80.84 เห็นด้วย เพราะสามารถนำเงินมาใช้จ่ายส่วนอื่นที่ไม่สามารถใช้บัตรสวัสดิการซื้อได้ และทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่วนร้อยละ 17.80 เห็นว่าแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด


ขณะเดียวกันพบว่าประชาชนร้อยละ 68.08 ระบุว่า ไม่สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวยได้ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ช่วยเหลือได้เพียงเฉพาะหน้าเท่านั้น และผู้ลงทะเบียนบางส่วนไม่ใช่คนจนจริง ๆ ขณะที่ร้อยละ 28.89 ระบุว่า สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ 


ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจประชาชนร้อยละ 12.53 ระบุว่า ช่วยได้มาก และร้อยละ 32.08 ระบุว่า ช่วยได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ประชาชน ร้อยละ 47.73 ยังเสนอว่า ต้องการให้รัฐเพิ่มค่ารักษาพยาบาลภายในบัตรสวัสดิการ และร้อยละ 38.71 ต้องการให้ช่วยเหลืออาชีพด้านเกษตรกรรม รองลงมาต้องการเงินส่งเสริมผู้สูงอายุและผู้เกษียณอายุ ทุนการศึกษาบุตร และช่วยค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ

ทั้งนี้ ประชาชนกว่าร้อยละ 66 มองว่า "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ไม่แตกต่างจาก "นโยบายประชานิยม" เพราะมีแนวทางในการแก้ไข ช่วยเหลือ ปัญหาความยากจนเหมือนกัน แค่ใช้ชื่อเรียกที่ต่างกัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง