หน.อุทยานแก่งกระจาน ยันจำเป็นปรับปรุงเส้นทาง "บ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง"

สิ่งแวดล้อม
14 ต.ค. 61
09:59
1,728
Logo Thai PBS
หน.อุทยานแก่งกระจาน ยันจำเป็นปรับปรุงเส้นทาง "บ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง"
อุทยานแก่งแห่งชาติกระจาน ชี้แจง ก่อสร้างถนนสายบ้านกร่าง -พะเนินทุ่ง ระบุ ไม่มีการเปิดพื้นที่ก่อสร้างใหม่หรือขยายผิวการจราจรเพิ่ม ถนนแข็งแรงไม่เปลืองงบประมาณซ่อมบำรุง ช่วยแก้ปัญหาการแบ่งอัตรากำลัง จนท.ในการลาดตระเวนผืนป่า 1.8 ล้านไร่ มาดูแลนักท่องเที่ยว

วันนี้ (14 ต.ค.61) จากกรณีการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางสายบ้านกร่างพะเนินทุ่งในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานตามที่ปรากฏอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ในเรื่องของความกังวลและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

ล่าสุด นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวดังนี้ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีพื้นที่ ประมาณ1.8 ล้านไร่ มีพื้นที่บุกรุกป่าได้รับการสำรวจตรวจสอบพื้นที่จำนวนประมาณ 40,000 ไร่ เป็นการบุกรุกก่อนมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายนปี 2541 พื้นที่ภายหลังมติคณะมนตรี 30 มิถุนายน 2541 จนถึงปี พ.ศ 2557 ตามคำสั่ง คสช.66/2557 และพื้นที่ตรวจยึดทวงคืนพื้นที่รวมประมาณร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ พื้นที่บริการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานถือได้ว่า มีการใช้ประโยชน์เพื่อการบริการท่องเที่ยวน้อย คือในบริเวณแนวถนนตั้งแต่ ด่านสามยอดจนไปถึงบริเวณเขาพะเนินทุ่ง กับพื้นที่บริเวณที่ทำการและบริเวณน้ำตกป่าละอูและบริเวณที่เป็นหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติต่างๆ

 

 


ปัจจัยคุกคามที่เกิดขึ้นในพื้นที่ประกอบด้วยชุมชนที่อยู่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีริมฝั่งห้วยแม่ประดนเป็นพื้นที่ที่มีชุมชนอาศัยอยู่ถือครองที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรีทำให้ความเชื่อมโยงของสัตว์ป่าจากพะเนินทุ่ง บ้านกร่าง ห้วยคมกฤต ถูกตัดขาด ไปได้เพียงห้วยแม่สะเรียงไม่สามารถข้ามแม่น้ำเพชรบุรีข้ามห้วยแม่ประดนไปยังพื้นที่ ป่าบริเวณ อ.หนองหญ้าปล้องได้ และรวมถึงชุมชนในเขตป่า ที่ดำเนินการสำรวจ 39 หมู่บ้าน ที่มีการถือครองที่ดินในเขตป่า กว่า 40,000ไร่ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเสี่ยงของสัตว์ป่าที่จะข้ามไปมาหรือถูกล่าโดยชุมชน มากกว่าเสี่ยงที่จะถูกรถชนตายจากการท่องเที่ยว จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเข้มข้นในแถบ 2 ฝั่งแม่น้ำ รอบพื้นที่ชุมชน และการสร้างกลไกในความร่วมมือรักษาพื้นที่ป่าระหว่าคนในชุมชนกับอุทยานแห่งชาติ

การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกระจุกตัวหนาแน่นสูงสุดในบริเวณบ้านกร่างและพะเนินทุ่ง ในช่วงเทศกาลปีใหม่และวันหยุดสำคัญ ส่วนหนึ่งจะใช้พื้นที่บริเวณน้ำตกป่าละอู โดยจำนวนครึ่งหนึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านกร่างและ พะเนินทุ่ง ทั้งนี้เส้นทางสายบ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง มีลักษณะแคบและลาดชัน มีจุดเสี่ยงภัยหลายจุด ผิวการจราจรเดิมเป็นลาดยาง สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 มีการชำรุด หลุดล่อน จนถึงพื้นดิน เดิมที่เป็นฐานรากของถนน การซ่อมแซมที่ผ่านมากระทำเพียงชั่วคราว ไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมตลอดเส้นทาง

จากเหตุดังกล่าว ถ้าไม่ซ่อมแซมผิวจราจร รถยนต์ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจะเจออุปสรรค เกิดการชะลอตัวในช่วงที่ขึ้นเนินต่างและบางส่วนไม่สามารถขับขึ้นไปได้การจราจรติดขัด ตลอด ดังนั้นรถที่เดินทางมาชมทะเลหมอกในช่วงเข้าตรู่ จึงเร่งความเร็วตั้งแต่ด่านสามยอดจนถึงบ้านกร่าง จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบกับสัตว์ป่าที่เดินทางข้ามไปมาช่วงก่อนถึงบ้านกร่าง

ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาอุทยานแห่งชาติฯใช้วิธีการแก้ไขปัญหาโดยให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ มาคอยอำนวยความสะดวกการจราจรและตั้งจุดสกัดตรงบริเวณโป่งพรหม ในช่วงเวลา 04.00 น.ด้วยการโบกรถชะลอความเร็ว รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ประจำอยู่จุดที่มีความลาดชันสูงหลายจุดเพื่ออำนวยความสะดวกในการหนุนล้อรถที่ขึ้นไม่ได้ โดยทั้งการเข็นช่วย ลากจูงรถลง หรือขับขึ้นไปให้เนื่องจากผู้ขับขี่บางคนไม่ชำนาญเส้นทาง

 

 

หากนับอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่มี 345 คน ซึ่งมีภารกิจลาดตระเวนป่าและบริการต่างๆ ในช่วงเทศกาลต้องมาเข้าเวรอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากที่รถวิ่งเร็วผ่านบริเวณช่วงทางตรงต่างๆ จึงทำให้ชุดลาดตระเวนของอุทยานแห่งชาติ ในช่วงที่มีเทศกาลท่องเที่ยวจต้องแบ่งกำลังมาดูแลท่องเที่ยวจึงขาดประสิทธิภาพสูงสุดในการลาดตระเวนป้องกัน

การปรับโครงสร้างเจ้าหน้าที่ด้านบริการและการป้องกันปราบปรามมีความจำเป็น หากจะลดอัตรากำลังภาคส่วนบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับหนึ่งของพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงขีดความสามารถในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่1.8 ล้านไรได้

อย่างไรก็ตาม การคมนาคมเส้นทางเขาพะเนินทุ่งมีความสำคัญ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่จะต้องใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงชุดลาดตระเวนที่จะต้องลงเดินไปแม่น้ำเพชรบุรีออกไปทางบ้านโป่งลึกบางกลอยและเดินไปเนิน 860 เพื่อเดินต่อไปเขางักงันนิยวงตอง ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า ปริมาณฝนตกในป่าและการเกิดการชะล้างทำลายดินสูงจึงมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียถนนเส้นนี้ เนื่องจากการสไลด์พังทะลายของดินอันเนื่องมาจากไม่สามารถป้องกันการซึมของดินและการระบายน้ำใต้ดินของถนนหากไม่ทำผิวการจราจรป้องกันการกัดเซาะชะล้างของน้ำจึงมีความเสี่ยงสูงขึ้นและอาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมากกว่านี้ในการซ่อมแซมในอนาคต

 

การแก้ไขปัญหารถใช้ความเร็วในอุทยานแห่งชาติในเส้นทางที่ทำการปรับปรุง เนื่องจากถนนมีความลาดชันสูงและคดเคี้ยว รถไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้ มีจุดบริเวณที่เป็นเส้นทางตรงให้รถเร่งความเร็วได้ไม่กี่จุดสามารถใช้สิ่งกีดขวางเพื่อควบคุมความเร็ว ของรถยนต์ที่ขับผ่านบริเวณนี้ได้

จากการสำรวจผลเสียหายของถนนสายบ้านกร่าง เขาพะเนินทุ่งที่ผ่านมา มีจุดที่ดินถล่ม แลนด์สไลด์หินถล่มทั้งฝั่งผนังและฝั่งด้านล่างขอบข้างถนนในทิศทางลาดชันและจุดที่มีการยุบตัวเป็นพื้นที่ผิวดินเดิมมีหลายแห่งเกินขีดความสามารถซ่อมแซมด้วยแรงงานคนหรือเครื่องจักรขนาดเล็กและการตั้งงบประมาณซึ่งเป็นเงินปกติของหน่วยงานเพื่อซ่อมแซมทำได้ยาก ผิวจราจรของถนนเส้นนี้เดิมเป็นลาดยาง ปัจจุบันที่ต้องดำเนินการทำด้วยคอนกรีตเพื่อความคงทนถาวร เพื่อจะไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง มีความกว้าง 4 เมตร เท่าของเดิม และมีการควบคุมรถยนต์ให้ขึ้นลงเป็นเวลาเป็นทางเดียวกัน เพิ่อลดอันตรายเนื่องจากถนนแคบรถยนต์สวนทางไม่ได้ สาเหตุที่ต้องดำเนินการ

1.ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ขึ้นไปเริ่มใช้ทางเบี่ยงจากหลุมหรือร่องจนเปิดพื้นที่ถนนใหญ่ถนนกว้างขึ้นเรื่อยๆ เกิดการกัดเซาะหน้าดินเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

2.จุดบริเวณทางข้ามน้ำต่างๆ มีการใช้รถยนต์ออฟโรดหรือรถยนต์ขับเคลื่อน 2 ล้อตะกุยตะลิ่งจนทำให้มีความลาดชันสูงและซ่อมแซมทุกปี จึงมีตะกอนที่เกิดจากรถยนต์ขับเคลื่อนผ่านไปไหลไปในท้องน้ำ การพัฒนาระบบช่วยระบายน้ำและทางข้ามน้ำจึงเป็นทางเลือกเพื่อลดผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดจากการสัญจรไป-มา

 

 

สำหรับความห่วงใยในเรื่องผีเสื้อในช่วงลำธาร เป็นการลดเหตุยานพาหนะเหยียบผีเสื้อที่ลงเกาะบนถนน เนื่องจากมาตอมกินเกลือแร่ที่ละลายออกมาจากการที่รถยนต์ลุยน้ำ และหยดลงบนผิวจราจร ที่ผ่านมาอุทยานแห่งชาติฯติดตั้งป้ายเตือนไว้ตลอด 2 ข้างทาง ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วต่ำและระมัดระวังเพื่อป้องกันการเหยียบผีเสื้อ หากมีผิวจารจรและทางน้ำล้นแบบมีท่อระบาย บริเวณไหล 2 ข้างตลิ่งผีเสื้อยังใช้ลงเกาะดูกินอาหารได้ ตัวอย่างการแก้ปัญหาบริเวณฝายน้ำล้นหน้าหน่วยฯบ้านกร่าง ได้จัดทำพื้นที่ชมผีเสื้อไว้ ทั้ง บริเวณริมน้ำและลานชมผีเสี้อ ที่ทำให้เกิด ความสะดวกความปลอดภัย ทั้งผู้ที่ชมผีเสื้อ และผีเสื้อที่เคยเกาะบนผิวการจราจร

3.ผิวจราจรที่ทำด้วยคอนกรีตมีความคงทนต่อความชื้นความลาดชัน สามารถรับแรงกดได้สูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายด้วยแรงงานที่มีสามารถส่งวัสดุได้ง่าย หากเป็นผิวลาดยางระยะทางขนส่งและความลาดชันทำให้ขนส่งน้ำยางได้น้อยและอุณหภูมิน้ำยางที่บรรทุกมาจากต้นทางที่กำหนดตามมาตรฐานประมาณ 170 องศาเซลเซียส จนถึงพื้นที่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 145 องศาเซลเซียสซึ่งหากต่ำกว่าจะทำให้น้ำยางไม่เป็นไปตามสเป็คไม่ยึดเกาะตามต้องการ

4.ไม่มีการเปิดพื้นที่ก่อสร้างใหม่หรือขยายผิวการจราจร

5.หลังดำเนินการบริเวณจุดเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบถนนสำหรับการดูนกหรือจุดตั้งบังไพร จะเป็นพื้นที่ปลอดฝุ่น ผู้โดยสารที่มากับรถยนต์ขนส่งสาธารณะไม่ได้มากับรถ SUV หรือรถ 4 ประตูจะได้รับความสะดวกเรื่องของฝุ่นละอองและมลพิษ รวมถึงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ป่าที่อยู่ข้างทางจะไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง

6.การซ่อมแซมปรับปรุงถนนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถยนต์ของทางราชการซึ่งต้องใช้งบปกติในการซ่อมแซมโดยเฉพาะเส้นทางที่ต้องเดินทางผ่านน้ำและพื้นที่ลาดชันมีการสึกหรอของช่วงล่างสูงเนื่องจากจะต้องขึ้นลงตรวจตราอยู่เป็นประจำและส่งกำลังบำรุงหรือวัสดุสิ่งของ

7.การมีผิวจราจรที่มั่นคงแข็งแรงทำให้เป็นการลดภาวะการกัดเซาะทำลายของหน้าดินเนื่องจากถนนมีความลาดชันสูง erosion จึงสูงตามลักษณะของความลาดชัน ตะกอนดินต่างๆ ที่เกิดจากผิวจราจรที่ถูกน้ำไหลผ่านจึงมีการกัดเซาะร่องริ้วไหลลงไปตามลำธารตัวอย่างเช่น ลำธารแม่น้ำปราณบุรี ซึ่งไหลผ่านหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.4 บ้านกร่าง ที่จุดทางข้ามไปค่ายเยาวชนมีฝายทางน้ำข้ามมีการตกตะกอนของดินจนมีระดับเท่ากับฝายในปัจจุบัน

8.ในปีปัจจุบันปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ป่ามีปริมาณมากจะเห็นได้จากปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนแก่งกระจานซึ่งน้้ำฝนส่วนหนึ่งซึมลงในชั้นดินใต้ผิวจราจรเดิมจำนวนมากทำให้การยึดเกาะของดินลดลง เกิดความอ่อนตัวยุบตัวและสะสมความชื้นไว้สูงซึ่งหากมีปรากฏการณ์ที่มีฝนตกลักษณะนี้อีกย่อมส่งผลถึงความเสี่ยงต่อการรักษาถนนไว้ ได้ หากมีถนนทรุดเป็นทางยาวจะยากที่จะตั้งงบประมาณในเวลารวดเร็วเพื่อซ่อมแซม

การดำเนินการซ่อมและปรับปรุงถนนเส้นนี้จึงเป็นป้องกันความเสี่ยงในอนาคตจากการทรุดตัวพังทลายลงของดิน และเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น และยังเป็นการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดการกัดเซาะดิน การพัดพาตะกอนของดินลงสู่ลำธาร รวมถึงปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ บริการท่องเที่ยวและตลอดเส้นทาง

สำหรับความกังวลใจเรื่องมาตรการป้องกันสัตว์ป่าวิ่งข้ามถนนแล้วโดนรถชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ด้วยกลไกการจัดสร้างสิ่งที่ขวางลดความเร็ว การดำเนินการเป็นไปตามอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504และเป็นการดำเนินการมาก่อนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ลุ่มน้ำ ขนาดของเส้นทางจราจรหรือการดำเนินการไม่ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง