ไฟเขียว “ปลากัดไทย” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

ไลฟ์สไตล์
20 ธ.ค. 61
15:46
9,766
Logo Thai PBS
ไฟเขียว “ปลากัดไทย”  เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติที่มี "นายวิษณุ" เป็นประธานฯ ไฟเขียว “ปลากัดไทย” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติแล้ว หลังพิจารณาครอบคลุม 3 มิติทั้งด้านวัฒนธรรม ความเป็นเจ้าของ และการอนุรักษ์สายพันธ์ุ เตรียมชงเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอน

วันนี้(20 ธ.ค.2561) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ 2/2561 เห็นชอบพิจารณาให้ ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ตามข้อเสนอของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ซึ่งวันนี้กรมประมง และนักวิชาการได้นำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน

ทั้งนี้การพิจารณาได้มอง 3 มิติทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ที่มีหลักฐานยืนยันว่าเรื่องปลากัดไทยในบทประพันธ์และวรรณคดีไทย รวมถึงประวัติศาสตร์ไทยมานานนับร้อยปี นอกจากนี้ยังมีมิติด้านความเป็นเจ้าของ โดยมีชื่อที่บ่งบอก และเป็นชื่อที่ได้รับการยอมรับด้านวิชาการและในวงการวิชาการด้านสัตว์น้ำ คือ Siamese Fighting Fish ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกพบในประวัติศาสตร์มานานแล้ว

ทั้งนี้ข้อมูลระบุด้วยว่าแหล่งที่พบปลากัดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา  และ 3.มิติด้านประโยชน์ที่จะในแง่การอนุรักษ์สายพันธุ์ การพัฒนาพันธุ์ปลากัดไทยให้ดียิ่งขึ้น หลังจากนี้กรมประมงจะเสนอนำเรื่องนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป 

 

ก่อนหน้านี้ในปี 2560 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ระบุว่าจะนำเสนอให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เพื่ออนุรักษ์ปลากัดให้อยู่คู่ประเทศไทยอย่างยั่งยืน เนื่องจากมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม พาณิชย์ และแสดงอัตลักษณ์ให้สัตว์น้ำสวยงามไทย ที่มีตำนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 

เพราะที่ผ่านมาจะเป็นการเลี้ยง เพื่อเล่นกีฬากัดปลา แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนการเลี้ยงปลากัด เป็นการเลี้ยงเพื่อสืบสาน แข่งขันพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อเป็นอาชีพและงานอดิเรก ขณะเดียวกันมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายพันธุ์สู่การค้า โดยขณะนี้ปลาชนิดนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยปีละ 1,000 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าเพิ่มเป็นปีละ 3,000 ล้านบาท 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

กรมประมงดัน “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ตั้งเป้าสร้างรายได้ปีละ 3 พันล้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง