เครื่องฟอกอากาศยักษ์ ! เทียบต้นไม้ 4.8 แสนต้นดูดซับมลพิษ

Logo Thai PBS
 เครื่องฟอกอากาศยักษ์ ! เทียบต้นไม้ 4.8 แสนต้นดูดซับมลพิษ
"ฮ่องกง" เตรียมใช้นวัตกรรมเครื่องกรองอากาศยักษ์ เพื่อลดมลพิษทางอากาศได้มากถึงร้อยละ 80 คาดเริ่มใช้ 20 ม.ค.นี้ หลังประสบปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ 400 คน ผู้ป่วยกว่า 190,000 คน

ถ้าพูดถึงเกาะฮ่องกง อาจจะนึกถึงเมืองท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ มีตึกสูงไม่ค่อยพบปัญหาการจราจร หรือมลพิษทางอากาศ แต่ฮ่องกง เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่เคยพบปัญหาฝุ่นละองเกินค่ามาตรฐานมานานถึง 150 วัน

ปัญหานี้ทำให้ฮ่องกง ต้องใช้นวัตกรรมด้วยการใช้เครื่องกรองอากาศยักษ์ ลดมลพิษทางอากาศได้มากถึงร้อยละ 80 เช่นเดียวกับหลายประเทศนอกจากใช้เทคโนโลยีช่วยกำจัดฝุ่นละอองแล้ว ยังวางแผนการจราจรและควบคุมปัจจัยอื่น ๆ แก้ปัญหาฝุ่นควันร่วมกันด้วย

ระบบบำบัดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในอุโมงค์ทางด่วนพิเศษ เซนทรัล หวาน ไฉ ของ ฮ่องกง เครื่องบำบัดอากาศนี้สามารถลดมลพิษจากการจราจรได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

มีระบบการทำงาน ด้วยการใช้พัดลมขนาดใหญ่ดูดไอเสียจากควันรถในทางลอดอุโมงค์เข้าไปในระบบฟอกอากาศ 3 แห่งที่ติดตั้งไว้ตามแนวของอุโมงค์

 

 

อากาศจะผ่านตัวกรองระบบไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำหน้าที่ดักจับประจุ จากนั้นจะแยกอนุภาคที่เป็นอันตราย เข้าไปที่ตัวกรองโดยมีถ่านกัมมันต์ทำหน้าที่กำจัดก๊าซพิษไนโตรเจนไดออกไซด์จ นได้อากาศบริสุทธิ์ แล้วปล่อยอากาศเหล่านี้ออกมาจากระบบ

 สำหรับเครื่องระบายอากาศยักษ์เป็นเทคโนโลยีแก้ปัญหาฝุ่นละออง ที่ดำเนินการควบคู่กับการลดปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ และเป็นโครงการต่อเนื่องจากการทำทางเบี่ยง หรือบายพาส เซ็นทรัล หวาน ไฉ ที่แก้ปัญหาปัญหารถติดทางตอนเหนือ และตอนกลางของเกาะฮ่องกง เพื่อมุ่งหน้าไปทางตะวันออกของเกาะ

 

 

ทางพิเศษนี้ ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจาก 30 นาที เหลือ 5 นาที นั่นหมายความว่า การย่นเวลาการเดินทางจะช่วยลดมลพิษไปในตัว คาดว่าจะลดก๊าซคาร์อนไดออกไซค์ 11,100 ตันต่อปี หรือ เท่ากับการใช้ต้นไม้ 480,000 ต้นดูดซับก๊าซมลพิษ

เดือนตุลาคมปี 2017 ฮ่องกงประสบปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน รัฐบาลฮ่องกง รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ 400 คน และกว่า 190,000 คนต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากปัญหาฝุ่นละออง

 


ทำให้ฮ่องกงเริ่มมาตรการกำจัดฝุ่นละอองอย่างจริงจัง และเริ่มใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยจัดการปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ โดยคาดว่าหอคอยฟอกอากาศยักษ์นี้จะใช้เริ่มใช้งานในวันที่ 20 ม.ค.นี้

เช่นเดียวกับสิงคโปร์ใช้ระบบการขนส่งสาธารณะ มีการใช้รถไฟ ควบคู่กับการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้รอบเมืองควบคุมคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง กำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียของรถทุกคันประกาศมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ในปีนี้ แต่ยังพบปัญหาหมอกควันที่ลอยมาจากอินโดนีเซีย

ขณะที่ญี่ปุ่นเน้นการขนส่งรถไฟฟ้า ลดการปล่อยมลภาวะ และหลายเมืองกำหนด ประเภทของยานพาหนะเพื่อเป็นการควบคุมการระบาย NOX และ PM ให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด

มณีนาถ อ่อนพรรณา /รายงาน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง