"กลาโหม" แจงงบประมาณ 5 ปี 1 ล้านล้าน สอดคล้องรายได้ประเทศ

การเมือง
20 ก.พ. 62
15:33
1,000
Logo Thai PBS
"กลาโหม" แจงงบประมาณ 5 ปี 1 ล้านล้าน สอดคล้องรายได้ประเทศ
โฆษก กห.ชี้แจงงบประมาณกระทรวงกลาโหมชี้งบฯ 5 ปี 1 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับงบประมาณและรายได้ประเทศที่เติบโตขึ้น ยันกระบวนการพิจารณาโปร่งใส จัดสรรตามภารกิจและขนาดกระทรวง

วันนี้ (20 ก.พ.62) พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงชี้แจงงบประมาณกระทรวงกลาโหม โดยระบุว่า ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศทั้งในและนอก รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชาชน รวมถึงการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลเช่นแก้ปัญหาาเสพติด ตัดไม้ทำลายป่า ตรวจจับสิ่งของผิดกฎหมาย 

ทั้งนี้ ขนาดของกองทัพ เติบโตจากภัยคุกคามของประเทศ ในอดีตประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ จึงเพิ่มอัตรากำลังและกำลังพลมากขึ้น จึงมีการเกณฑ์ทหารเพิ่ม และผลิตบุคลากรทางด้านทหารทั้งโรงเรียนนายร้อย โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนด กองทัพจึงใหญ่ขึ้น และมีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้อง และกองทัพไม่มีอะไรแตกต่างจากกระทรวงอื่นๆ


งบประมาณของกระทรวงกลาโหมดำเนินการเหมือนกับกระทรวงอื่นๆ โดยการเสนองบประมาณ เข้าสู่การพิจารณาของสภา และมีคณะกรรมาธิการ กลั่นกรอง พิจารณา และถูกบรรจุว่า ด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นไปตามกระบวนการตามปกติ

ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนหรือซ่อนเร้นแต่อย่างใด ทุกยุคดำเนินการมาเช่นนี้ กองทัพก็เป็นกองทัพของประชาชนและบริหารตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยใช้วิถีทางประชาธิปไตยผ่านรัฐสภา

พล.ท.คงชีพ กล่าวเพิ่มเติมว่า งบประมาณด้านความมั่นคงจำแนกเป็นแต่ละกลุ่มโดยงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่มีการระบุว่า งบประมาณปีละกว่า 200,000 ล้านบาท รวม 5 ปีเป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งงบประมาณเหล่านี้เติบโตจากงบประมาณของประเทศทั้งหมด ซึ่งขณะนี้งบประมาณของประเทศอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านบาทเติบโตเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ 1 ล้านล้านบาท

หากเปรียบเทียบงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจากงบประมาณของประเทศตั้งแต่ปี 36 -41 อยู่ที่ราวร้อยละ 12.7 หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถูกตัดลดลงเหลือร้อยละ 7.6 และต่อมาที่งบประมาณของประเทศเติบโตอยู่ที่ราว 1 ล้านล้านบาท งบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็อยู่ที่ร้อยละ 7-8 มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน และในปี 2562 งบประมาณประเทศอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาทแล้ว 

ทั้งนี้ จากพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ และข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2562 โดยเฉพาะตั้งแต่ปีงบ 2558 ภายใต้การบริหารของรัฐบาล คสช.มีบางปีที่งบที่กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2557 ได้งบประมาณ 1.8 แสนล้านบาท ปี 2558 หลังคสช.มาบริหารประเทศ ได้งบเพิ่มเป็น 1.9 แสนล้านบาท ปี 2559 ได้งบเพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาท ปี 2560 ได้งบเพิ่มเป็น 2.12 แสนล้านบาท ปี 2561 ได้งบประมาณ 2.18 แสนล้านบาท และปี 2562 ได้ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท


พล.ท.ยิ่งชีพ กล่าวว่างบประมาณของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเหมือนกับทุกกระทรวงโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 มาโดยตลอดซึ่งเป็นสัดส่วนปกติ แต่ในปี 2540 ช่วงวิกฤต กองทัพขาดแคลนงบประมาณถึงขั้นไม่มีงบประมาณเติมน้ำมันอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งทำให้เครื่องบินเสียหายพอสมควรนักบินบางส่วนสมองไหลไปอยู่การบินไทย


หากเรามีงบประมาณน้อยก็ทำรั้วกระถิน มีมากหน่อยก็รั้วลวดหนาม มีมากขึ้นก็รั้วคอนกรีต ฐานะดีขึ้นก็ติดกล้องวงจรปิด หรือจ้างยามมาทหารก็เหมือนกับรั้ว การจัดทำโครงการสร้างของรั้วให้เข้มแข็งขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของชาติ
ดังนั้น การเปรียบว่าใช้งบประมาณของทหารไปถึง 1 ล้านล้านบาทแล้วใน 5 ปี แต่งบประมาณของประเทศอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาทแล้ว ตามสัดส่วนและการเติบโตจึงไม่มีอะไรผิดปกติ

หากเทียบกับการเติบโตของจีดีพีซึ่งตามแผนพัฒนาขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหม การจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 2 ของจีดีพี แต่ที่ผ่านมาได้รับการจัดสรรอยู่ที่เฉลี่ย 1.48 ซึ่งก็เพียงพอต่อการพัฒนาขีดความสามารถแต่ก็ดำเนินการได้จำกัด พร้อมเปรียบเทียบกับอีก 20 ประเทศที่ได้รับงบประมาณสูงสุด เช่น สิงคโปร์ อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของจีดีพี ขณะที่ไทยอยู่ที่อันดับ 6 ได้รับงบประมาณร้อยละ 1.4 

ประเทศไทยภูมิรัฐศาสตร์ทางน้ำทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทางบกชายแดนติดกับ 3-4 ประเทศ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องดูแลเพราะมูลค่าผลประโยชน์ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงอยากให้เข้าใจตัวเลขงบประมาณและอยากให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้องและห่วงว่ากองทัพใช้งบประมาณไม่ถูกต้อง


ขณะที่การจัดหายุทโธปกรณ์ แผนพัฒนาและเสริมขีดความสามารถกองทัพ จัดสรรตามสถานการณ์ มีการประเมินในทุก 5-10 ปี ว่าจะรับมือภัยคุกคามและการรบต้องไม่แพ้และไม่เสียอำนาจอธิปไตย ซึ่งการจัดหายุทโธปกรณ์จัดหาบนความเป็นไปได้บนเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เน้นการดำรงสภาพให้อยู่ได้ ทำหน้าที่ป้องกันประเทศได้และรักษาความพร้อมในการรบด้วยในการปฏิบัติภารกิจทันทีเช่น เครื่องบินต้องพร้อมตลอดเวลา และต้องจัดหาให้ครบอัตราซึ่งทุกวันนี้ยังขาดอีกเยอะมาก และต้องทยอยจัดซื้อเพื่อให้ครบตามจำนวนมาแทนที่ยุทโธปกรณ์ที่ปลดประจำการไปแล้ว

ยืนยันว่างบประมาณคือภาษีของประชาชนและภาษีของทหารด้วย ทหารและข้าราชการจ่ายภาษีทุกคน อยากให้เปรียบเทียบให้ครอบคลุมการใช้งบประมาณตามระเบียบวิธีการงบประมาณ ตามระเบียบสำนักนายกฯ และจัดการรูปแบบรัฐต่อรัฐและจัดหาจากความต้องการของหน่วยใช้ ในเหล่าทัพต่าง ๆ


หากเทียบกับงบประมาณกระทรวงอื่น ๆ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมอยู่ที่อันดับที่ 4 โดย อันดับ 1.กระทรวงศึกษาธิการ อันดับ 2.กระทรวงมหาดไทย อันดับ 3.กระทรวงการคลัง โดยงบประมาณจัดสรรความขนาดและภารกิจของแต่ละกระทรวง


มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงว่า 5 ปี กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณไป 1 ล้านล้านบาท และมีการกล่าวว่านำเงินงบประมาณไปใช้ในภารกิจอื่นดีกว่า ขอยืนยันว่า ภารกิจนั้นคนละส่วนวิธีการที่ง่ายคือการหาเงินเพิ่มให้ทุกฝ่ายใช้ตามหน้าที่ของตัวเองได้เหมาะสม

โฆษกกระทรวงกลาโหมระบุ หากตัดงบประมาณไม่กระทบเพียงความมั่นคงแต่กระทบการช่วยเหลืออื่น เช่นภัยที่ไม่ใช่ภัยสงคราม หรือ งานช่วยเหลือภารกิจอื่น ๆ ซึ่งกองทัพพร้อมรับข้อคิดเห็นและพร้อมรับข้อเสนอในการปฏิรูปกองทัพ ปรับโครงสร้างกองทัพอย่างไร ทั้งของคุณจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาตร์การเลือกตั้ง พรรคไทยรักษาชาติ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส หรือท่านอื่นๆ ก็พร้อมที่จะนำไปหารือพูดคุย

ดังนั้น การที่กำลังพลของกองทัพจะมีมากขึ้นหรือไม่นั้น สังคมเป็นผู้กำหนดจากภัยคุกคาม เช่น ในอดีตภัยคอมมิวนิสต์ และขณะนี้การมีกำลังสำรองและการเกณฑ์ทหารก็เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณในการให้ทหารมาประจำการถาวร และหากไม่มีการเกณฑ์ต้องมีแรงจูงใจ เงินเดือนต้องสูงขึ้น สวัสดิการต้องดี และมีหลักประกันให้ด้วย

พล.ท.คงชีพ กล่าวเพิ่มเติมว่า งบประมาณทหารทุกยุคทุกสมัยผ่านการพิจาณณาของสภาทั้งสิ้น และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณที่ออกมาใหม่และโครงการงบประมาณตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องเสนอให้ ครม.เห็นชอบก่อน และพิจารณาว่าสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่

งบประมาณที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นงบประจำเงินเดือน สิทธิตามกฎหมาย และสวัสดิการกว่าร้อยละ 49 ภารกิจพื้นฐานการฝึกและจัดหารยุทโธปกรณ์ และการสร้างอาคารสถานที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20


การจะซื้อเรือดำน้ำจะต้องตั้งงบประมาณผูกพันภายในกระทรวงกลาโหมไปอีกหลายปีเพื่อที่จะให้ได้เรือดำน้ำมา ซึ่งจะไม่ไปกระทบกับงบประมาณกระทรวงอื่น”


ทั้งนี้ ในช่วงสัปดห์หน้า พล.ท.คงชีพ จะชี้แจงถึงการเกณ์ทหาร การจัดหายุทโปกรณ์ และการปฏิรูปกองทัพ เพิ่มเติม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง