ทำไม? ค่ายาแพงแสนแพง

สังคม
5 มี.ค. 62
16:10
3,874
Logo Thai PBS
ทำไม? ค่ายาแพงแสนแพง
ปัญหาค่ายาแพงได้ถูกสะท้อนออกมาอย่างต่อเนื่องและได้รับความสนใจ เมื่อ ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยข้อมูลงานวิจัย* ที่สะท้อนถึงรายการยา 10 อันดับแรกที่มีราคาแพง และมีราคาต่างกันตั้งแต่ 60-400 เท่า

(*รายงานวิจัยพัฒนารูปแบบและอัตราการจ่ายเงินชดเชยการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตร่วม 3 กองทุนฯ)

ปัจจุบันการร้องเรียนเกี่ยวกับค่ายาแพงก็ยังคงอยู่ จนคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีมติให้นำยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงบริการทางการแพทย์ เข้าเป็นสินค้าและบริการควบคุม

อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่ายาแพง เป็นหนึ่งในคำถามที่ชวนให้หาคำตอบ ไทยพีบีเอสได้รวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อราคายาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องจ่าย และได้ข้อสรุปดังนี้ 

  1. ราคาสูง เพราะเป็นยานำเข้า
  2. มีสิทธิบัตร ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน
  3. โรงพยาบาลกำหนดราคาเอง มีต้นทุนบวกๆ
  4. จ่ายยาเกินจำเป็น
  5. ยาในบัญชี ง
  6. ที่มา : สมาคมโรงพยาบาลเอกชน

    ที่มา : สมาคมโรงพยาบาลเอกชน

    ที่มา : สมาคมโรงพยาบาลเอกชน

ยาในบัญชี ง

ตามระบบบัญชีกลางแห่งชาติ ยาในบัญชี ง เป็นรายการยาที่กำหนดให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สั่งเท่านั้น จัดเป็นยาที่มีความสำคัญ เพราะหมายถึงเพื่อการรักษากับผู้ป่วยที่ไม่สามารถบรรเทาอาการ หรือรักษาได้ด้วยยาในบัญชี ก, ข และ ค และเป็นยาที่มีราคาค่อนข้างสูง

เส้นทางยานอก จากโรงงานสู่โรงพยาบาล ตอบคำถามทำไมถึงแพง

ยาเป็นปัจจัยสี่ที่อุตสาหกรรมสามารถทำกำไรได้อย่างงาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คำนึงถึงผลกำไร ในโครงสร้างต้นทุนยาที่โรงพยาบาลต่างๆ กำหนดเป็นราคานั้น พบว่า นอกเหนือจากต้นทุนการผลิต ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร ถือเป็นการกำหนดราคาขาย โดยใช้ฐานต้นการผลิตที่เรียกว่า cost plus

ที่มา : คอลัมน์รู้เขา รู้เรา ตอน โครงสร้างต้นทุนราคายาที่รู้ได้ โดย ผศ.พัชรินทร์ ไตรรัตน์รุ่งเรือง, ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา

ที่มา : คอลัมน์รู้เขา รู้เรา ตอน โครงสร้างต้นทุนราคายาที่รู้ได้ โดย ผศ.พัชรินทร์ ไตรรัตน์รุ่งเรือง, ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา

ที่มา : คอลัมน์รู้เขา รู้เรา ตอน โครงสร้างต้นทุนราคายาที่รู้ได้ โดย ผศ.พัชรินทร์ ไตรรัตน์รุ่งเรือง, ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา

รพ.เอกชน ยังมีการตรวจวินิจฉัยเกินความจำเป็น

ในรายงานวิจัยของ ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของการให้บริการเทียบกับภาวะเจ็บป่วยของคนไข้แต่ละรายโดยแพทย์เฉพาะทาง พบว่า ในตัวอย่างคนไข้ 80 ราย มีการให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด มีการตรวจวินิจฉัยเกินจำเป็น เช่น คนไข้มีอาการนิ่วเฉียบพลันแต่ส่งตรวจการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์ และตรวจองค์ประกอบดีเอ็นเอ คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่ส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งไม่ช่วยการดูแลในภาวะด่วน คนไข้เป็นถุงลมพองกำเริบฉุกเฉิน กลับปรากฎรายการเรียกเก็บค่าสายสวนปัสสาวะ และชุดสวนล้างซึ่งไม่ชัดเจนว่าใช้ล้างอวัยวะลักษณะเป็นโพรงเช่น จมูก กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือแผล

ให้เสียงประชาชนไปไกลกว่าการเลือกตั้ง
#เลือกตั้ง62

ข่าวที่เกี่ยวข้อง