กฎหมายภาษี “อีเพย์เมนต์” บังคับใช้แล้ว

เศรษฐกิจ
22 มี.ค. 62
10:38
5,591
Logo Thai PBS
กฎหมายภาษี “อีเพย์เมนต์” บังคับใช้แล้ว
หลังกฎหมายอีเพย์เมนต์ มีผลบังคับใช้แล้ว ธ.กรุงไทยพร้อมนำส่งข้อมูลธุรกรรมโอนเงินและรับฝากเงิน เกิน 2 ล้านบาทต่อปี ให้สรรพากร พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ใช้ประโยชน์จากการบันทึกข้อมูลธุรกรรม เป็นหลักฐานขอสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง

หลังกฎหมายอีเพย์เมนต์ มีผลบังคับใช้แล้ว ธ.กรุงไทยพร้อมนำส่งข้อมูลธุรกรรมโอนเงินและรับฝากเงิน เกิน 2 ล้านบาทต่อปี ให้สรรพากร พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ใช้ประโยชน์จากการบันทึกข้อมูลธุรกรรม เป็นหลักฐานขอสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง

การฝาก หรือ รับโอนเงิน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี หรือ รวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมการรับเงินฝาก ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป จะถือเป็นธุรกรรม ที่ธนาคารและบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ต้องรายงานต่อกรมสรรพากร ทุกเดือน มี.ค.เพื่อประโยชน์ต่อการจัดเก็บรายได้ตามประมวลรัษฎากรโดยเริ่มนำส่งข้อมูลครั้งแรกในวันที่ 31 มี.ค.63 หลังหรือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ ซึ่งได้ประกาศลราชกิจจานุเบกษา แล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

ธนาคารกรุงไทย พร้อมรายงานธุรกรรมดังกล่าวต่อกรมสรรพากร หลังลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยคัดกรองพฤติกรรมผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีบัญชีเงินฝากประมาณ 60 ล้านบัญชีจากเจ้าของบัญชี 30 ล้านคน ในจำนวนนี้คาดว่าจะเป็นผู้ค้าออนไลน์ประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด

พร้อมระบุว่า กฎหมายดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันนโยบายผู้ประกอบการบัญชีเดียว ซึ่งช่วยให้การทำธุรกรรมใด ๆ บนโครงข่ายการเงินดิจิทัลถูกเก็บบันทึกอย่างเป็นระบบสามารถใช้เป็นหลักฐาน ยื่นเอกสารขอสินเชื่อผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ

ปัจจุบัน ผู้ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปบริษัท จะต้องยื่นแบบแสดงเงินได้บุคคลธรรมดาโดยกรอกรายได้ ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการค้าขาย และยื่นภาษี 2 ครั้ง ได้แก่ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 คือ ช่วงนี้ ถึงวันที่ 9 เม.ย.62 กรณียื่นแบบฯออนไลน์ และยื่นภาษีกลางปี หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. ซึ่งเป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกโดยค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งในปีภาษี 2562 กรมสรรพากร ตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน หลังลงทุนด้านเทคโนโลยี มาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บภาษีตามนโยบายรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง