ฝุ่น PM2.5 : นักวิชาการ แนะเร่งดับไฟป่าต้นตอหมอกควัน - บิ๊กคลีนนิ่งเสริม

ภูมิภาค
3 เม.ย. 62
12:14
400
Logo Thai PBS
ฝุ่น PM2.5 : นักวิชาการ แนะเร่งดับไฟป่าต้นตอหมอกควัน - บิ๊กคลีนนิ่งเสริม
นักวิชาการ ชี้ ผู้ว่าฯเชียงใหม่มาถูกทางแก้ปัญหาฝุ่น ระยะเร่งด่วนต้องควบคุมการเผาป่า เพิ่มบิ๊กคลีนนิ่งเดย์และจุดโปรยละอองน้ำ ระยะยาวภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายให้นายทุนรับผิดชอบลดการเผาเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ

รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากการจราจร เมื่อพิจารณาจากสถิติการจดทะเบียนรถยนต์ปีละประมาณ 4 ล้านคัน รองลงมา คือ จ.เชียงใหม่ ปีละประมาณ 300,000 คัน เฉลี่ยนวันละ 241 คันต่อวัน และปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด

ดังนั้น จ.เชียงใหม่ จึงมีปัญหาจราจร ประกอบกับ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ โดยมีเทือกเขาขุนตานและดอยสุเทพปิดล้อม รวมถึงมีนิคมอุตสาหกรรมลำพูนที่ปล่อยมลพิษ ดังนั้น สภาวะอากาศที่ไม่ดีจึงอยู่แล้ว และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนอากาศปิดและมีการเผาป่าเพื่อหาของป่า(เห็ดเผาะ) และเผาเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร จึงทำให้พื้นที่ที่เป็นแอ่งกระทะถูกปกคลุมด้วยหมอกควันและฝุ่นละออง

 

 

วิธีการแก้ปัญหา คือ ต้องหยุดการเผาเป็นอันดับแรก จากนั้นลดมลพิษจากรถยนต์และโรงงาน ซึ่งขณะนี้ภาครัฐได้ดำเนินการแล้วรวมถึงการยุติการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกระยะทาง 7 กม.อาจจะต้องชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากฝุ่น

วิธีการแก้ไขปัญหาฝุ่นคือ บังคับใช้กฎหมาย รณรงค์ และการใช้เครื่องบินขึ้นบินเพื่อเพื่อดับไฟป่าบนยอดดอย

ห่วงสุขภาพเจ้าหน้าที่

รศ.วีรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การดับไฟบนยอดดอยขณะนี้ค่อนข้างน่ากังวล เพราะส่วนหนึ่งเจ้าหน้าที่จะได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และสูดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เข้าไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน้ากากแบบเต็มหน้าที่เชื่อมต่อกับถังออกซิเจน หรือต่อกับไส้กรองอากาศ ที่สามารถกรองคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งหน้ากากแบบนี้เป็นยุทธภัณฑ์ต้องได้รับการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์ ทหารบก หรือ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ มาใช้ปฏิบัติภารกิจ ซึ่งพลเรือนและตำรวจไม่สามารถนำมาใช้ได้

หากใช้หน้ากากอนามัย N95 ซึ่งใส่เพียงครึ่งหน้า ดวงตาสัมผัส ควัน และก๊าซด้วย ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน้ากากแบบเต็มหน้าเพื่อป้องกัน โดยใช้หน้ากากชนิดเดียวกับนักดับเพลิง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ดับไฟจึงมีความเสี่ยงและประสิทธิภาพในการดับเพลิงลดลงหากไม่มีหน้ากากหรือใช้หน้ากากแบบครึ่งหน้า

ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่พบเห็นคือ เลือดกำเดาไหล และกระทบระบบทางเดินหายใจ และยังมีส่วนหนึ่งคือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ มีผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปสู่สมอง และคุณสมบัติที่จับตัวกับฮีโมโกบิลได้เร็วกว่าออกซิเจน 300 เท่า จึงทำให้รับสารไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะส่งผลให้อ่อนเพลีย ผิดปกติ และหากได้รับในปริมาณมากแบบฉับพลันอาจทำให้สลบและจึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ มาถูกทาง

รศ.วีรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดพื้นที่เซฟโซนถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ทำถูกแล้วในการบรรเทาผลกระทบ แต่ปัญหาหลักการคือการเผาป่าต้องหยุดให้ได้ ซึ่งปัญหาของกรุงเทพฯคือการจราจร หยุดรถที่มีควันดำ ซึ่งดำเนินการทันที และติดเครื่องพ่นละอองน้ำบนตึกสูงเพื่อจับฝุ่นละออง และการบินโดยเครื่องบินในการโปรยละอองน้ำจึงทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลงประกอบกับมีลมทะเลหนุน

จ.เชียงใหม่ เป็นแอ่งกระทะ ต้องหยุดการเผาป่าได้ก็จะหยุดจุดกำเนิดให้ จากนั้นใช้เครื่องบินขึ้นบินโปรยละอองน้ำเพื่อลดฝุ่น และเพิ่มจุดปล่อยละอองน้ำ และจัดบิ๊กคลีนนิ่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบเห็น ขณะที่สถานการณ์ของ จ.เชียงใหม่ รุนแรงกว่าที่ กรุงเทพฯ 4-5 เท่า รวมถึงการดูดอากาศลงแม่น้ำปิงก็ยังไม่เห็น

ขณะที่เมื่อเทียบกับ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ราบแต่ลมสามารถพัดผ่านได้ แม้ว่าจะมีจุดฮอตสปอตจำนวนมากรวมถึงมีการเผาในประเทศเมียนมาร์เผา ซึ่งลมจะพัดข้ามแดนไปทาง จ.พะเยา หรือพัดเข้าป่า ทั้งนี้ กรณีการเผาป่าเพื่อหาเห็ดเผาะมีงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า การแตกสปอร์ของเห็ดไม่เกี่ยวกับการเผา รวมถึงยังมีนายทุนไปลงทุนในการปลูกพืชเศรษฐกิจทำให้ชาวบ้านเผาเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก

หากเทียบกับกรณีการเผาป่าในประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มควันปกคลุม มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์สืบพบว่า ผู้ที่ให้เงินไปเผาที่อินโดนีเซีย คือมาจากสิงคโปร์ จากนั้นจึงใช้กฎหมายจัดการกับนายทุนให้ติดคุกจากนั้นปัญหาจึงหมดไป

การแก้ไขปัญหาระยะยาว ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายกับนายทุนที่จ้างชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจต้องมารับผิดชอบและสามัญสำนึกของประชาชน

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง