ที่ไหน? เผชิญคลื่นความร้อน (คร่า) ชีวิต 1.35 แสนคน

สังคม
22 เม.ย. 62
16:22
10,890
Logo Thai PBS
ที่ไหน? เผชิญคลื่นความร้อน (คร่า) ชีวิต 1.35 แสนคน
รู้จักคลื่นความร้อน ภัยจากสิ่งแวดล้อม ชี้ประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมทั้งอินเดีย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก 135,010 คน โดยพบอุณหภูมิความร้อนต่อเนื่องกันกว่า 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3-5 วัน

แม้จะมีคำยืนยันจาก นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันร้อนทะลุ 44 องศาเซลเซียสในหลายจังหวัด ยังไม่ใช่คลื่นความร้อน แต่มาจากหย่อมกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน และเป็นฤดูร้อนของไทย 

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูล “วิกฤตคลื่นความร้อน: ภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อม” ของจากสำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เผยแพร่เมื่อเดือน ก.พ.2559 ระบุว่า คลื่นความร้อน (Heat Waves) คือปรากฏการณ์ที่เกิดจากอากาศร้อนจัดสะสมอยู่บริเวณใด บริเวณหนึ่งในแผ่นดิน หรือพัดพามากับกระแสลมแรงจากทะเลทรายเกิดเป็นคลื่นความร้อนทำให้เกิดความแปรปรวนของความร้อนในอากาศ อุณหภูมิสูงผิดปกติอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ เป็นภัยธรรมชาติที่มองไม่เห็นทางกายภาพ ไม่เหมือนภัยพิบัติอื่น เช่น การเกิดน้ำท่วมหรือการเกิดพายุ

คลื่นความร้อนมีอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตของมนุษย์โดยส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์ตั้งแต่ระดับอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และเสียชีวิตด้วยโรคลมแดด (Heat Stroke)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เตือน 6 กลุ่มเสี่ยงระวังฮีทสโตรก แนะใส่เสื้อสีอ่อน-ดื่มน้ำมากๆ

 

 

คลื่นความร้อน เป็นปรากฏภารณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสภาวะอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติมักเกิดในฤดูร้อน ใกล้เคียงกับวันที่มีอุณหภูมิอากาศสูงสุดในรอบปี ซึ่งอาจมีความชื้นสูงร่วมตัวย มักเกิดในบริเวณที่มีการพัดผ่านของลมร้อนจากบริเวณทะเลทราย

การเกิดคลื่นความร้อนจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ อาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึง 30 องศาเซลเชียส หรือมากกว่า ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะผู้คุ้นเคยต่อสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น การเกิดคลื่นความร้อนนี้ อาจจะกินระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือคงอยู่นานหลายสัปดาห์

ประเภทของคลื่นความร้อน

คลื่นความร้อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทสะสมความร้อน เกิดในพื้นที่ซึ่งสะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่งทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น

หากพื้นที่ใดมีอุณหภูมิ 38-41 องศาเซลเซียส แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน มักเกิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ

และประเภทพัดพาความร้อน คลื่นความร้อนชนิดนี้เกิดจากลมแรงหอบความร้อนจากทะเลทรายขึ้นไป ในเขตหนาว ซึ่งมักเกิดในยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ แคนาดาตอนใต้ เกาะอังกฤษ และทวีปยุโรปบริเวณ เขตเมดิเตอร์เรเนียน

ที่ไหนเคยเจอคลื่นความร้อน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีรายงานหลายประเทศทั่วโลก เคยเจอวิกฤตคลื่นความร้อนใน ประเทศปากี สถานมีผู้เสียชีวิต มีผู้เสียชีวิตในนครการาจี จำนวน 1,011 คน และมีผู้ป่วยจากโรคลมแดดประมาณ 40,000 คน 

จากการรายงาน ประเภทของคลื่นความร้อนของหน่วยงานฐานข้อมูลภัยพิบัติระหว่างประเทศ (EM-DAT) พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนในอินเดีย รวม 2,005 คน โดยรัฐที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนมากที่สุดคือ รัฐอานธรประเทศ และรัฐเตลังคานาทางตอนใต้ พบผู้เสียชีวิตรวม ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนที่ 1,979 คน

นอกจากนี้ยังพบผู้เสียชีวิตอีก 17 คนในรัฐโอริสสา เกิดขึ้นบนโลก ทางตะวันออกและอีก 9 คนในรัฐอื่น ทั่วอินเดีย (ข้อมูลวันที่ 31 พ.ค.2558)

แม้ทุกปีจะมีคนยากจนหลายร้อยคน การเจ็บป่วยจากความร้อน ในอินเดียเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตในปี 2558 สูงเป็นลำดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย รองจากปี 2541 และเป็นลำดับที่ 5 ในประวัติศาสตร์โลก

สถิติผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนมากที่สุด 5 ลำดับ รวม 135,010 คนในรอบกว่า 10 ปี ดังนี้

  • ทวีปยุโรป พ.ศ.2546 มีผู้เสียชีวิตรวม 71,310 คน
  • ประเทศรัสเซีย พ.ศ.2553 มีผู้เสียชีวิตรวม 55,736 คน
  • ทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ.2549 มีผู้เสียชีวิตรวม 3,418 คน
  • อินเดีย พ.ศ. 2541 มีผู้เสียชีวิตรวม 2,541 คน
  • อินเดีย พ.ศ.2558 มีผู้เสียชีวิต 2,005 คน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง อังกฤษเผชิญคลื่นความร้อน หลายพื้นที่อุณหภูมิสูง

แค่ไหนถึงเรียกว่าเข้าขั้น "ฮีทเวฟ"

ดัชนีค่าความร้อน โดยขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์แต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ผลของความร้อนในเวลากลางวัน มีดัชนีค่าความที่เกินกว่า 105 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 40.6 องศาเซลเซียส และผลของความร้อนในเวลากลางคืนมีอุณหภูมิอย่างน้อย 80 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 26.7 องศาเซลเชียส ติดต่อกันอย่างน้อย 48 ชั่วโมง

แต่ในเมือง Dallas รัฐเท็กซัส กำหนดอย่างเป็นทางการไว้ต่างกันออกไป คือต้องมีดัชค่าความร้อน 100องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37.8 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3 วัน

ส่วนยุโรปเหนือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และแถบใกล้เคียงประเทศเบลเยียม เดนมาร์กและลักแชมเบอร์กกำหนดตรงกันระยะเวลา ติดต่อกันอย่างน้อย 5 วันของ

ส่วนประเทศอังกฤษระบุว่าหากอากาศร้อนถึง 32 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 5 วัน และความชื้นในอากาศสูงถึงร้อยละ 60 ให้ถือว่าพื้นที่นั้นเป็นฮีทเวฟ

สำหรับประเทศไทยกำหนดเกณฑ์อุณหภูมิที่มีอากาศร้อนระหว่าง 35 -39.9 องศาเซลเซียสและอากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาเชลเชียสขึ้นไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้ร้อนทะลุปรอท ไม่ใช่ "คลื่นความร้อน"

ไขข้อข้องใจ! ทำไม อ.อมก๋อย ลูกเห็บตกจำนวนมาก

คลื่นความร้อนคร่าชีวิตชาวปากีสถานกว่า 140 คน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง