ช่วยชีวิตปลาบึก! เจอน้ำแห้งขอดอ่างแม่คำปอง

ภัยพิบัติ
26 พ.ค. 62
09:59
9,988
Logo Thai PBS
ช่วยชีวิตปลาบึก! เจอน้ำแห้งขอดอ่างแม่คำปอง
ชาวบ้านระดมช่วยชีวิตปลาบึกขนาดใหญ่กว่า 10 ตัว หลังจากน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่คำปอง จ.แพร่ แห้งขอดจนปลาบึกที่ชาวบ้านนำมาปล่อยไว้ตามธรรมชาติตาย จนต้องระดมคนมาช่วยปลาที่ยังไม่ตายไปอนุบาล นักวิชาการน้ำ ตั้งข้อสังเกตแล้งหรือปัญหาจัดการน้ำ

วันนี้ (26 พ.ค.2562) นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ นักวิชาการด้านน้ำ โพสต์เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers พร้อมวิดิโอที่เผยให้เห็นวินาทีชาวบ้านกำลังช่วยนำปลาบึกขนาดใหญ่ขึ้นหนีน้ำแห้ง จำนวนนับสิบตัว โดยระบุว่าปี 2549 ฝนตกโคลนถล่มลับแล ต้นไผ่จำนวนมหาศาลฝนถล่มไปกองในเขื่อน ต้องใช้งบประมาณในการขนไผ่ออก เป็นร้อยล้านบาท

วันนี้อ่างแห้งปลาบึกหมกโคลน ตายจำนวนหนึ่งเกิดจากอะไร เบื้องต้น เขื่อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของลำน้ำสาขาของลำน้ำยมในเขตอำเภอเด่นชัย จ.แพร่ ลำน้ำสาขาแบบเดียวกันนี้มีถึง 77 สาขา ในลำน้ำยม ตั้งแต่ต้นน้ำยันจ.นครสวรรค์

ดังนั้นการปล่อยให้เขื่อนแห้ง ไม่เกี่ยวกับน้ำยม เพราะเป็นลำน้ำสาขา ข่าวพยายามโยงว่า ลำน้ำยมไม่มีเขื่อนใหญ่ คนทั่วไปก็จะเข้าใจและเหมาว่าจะต้องสร้างเขื่อนทุกลำน้ำงั้นหรือ จึงต้องอธิบายว่าไม่เกี่ยวกันมั้ย

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

แล้วเกี่ยวกับอะไร หรือจะดร่าม่า หรือธรรมชาติรุนแรงแล้ว

1. การบริหารน้ำจากเขื่อน ต้องดูว่าจะมีน้ำรักษาระบบนิเวศหรือไม่ หมายถึง ไม่ควรเอาจากอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อน จนเกิดผลกระทบกับระบบนิเวศในอ่าง นั่นคือ ปลาควรมีชีวิตต่อได้ แต่นี่คือปลาไม่สามารรถอยู่ได้ หมายถึง ปล่อยน้ำใช้ในการเกษตร จนลืมมองเรื่องสิ่งแวดล้อม

2. เขื่อนนี้มีปัญหามาแล้วหลายครั้ง 2549 เกิดพายุพัดถล่ม ไปมาที่นี่ใช้เงินกองทุนสิ่งแวดล้อมนับร้อยล้านบาททเพิ่อนำซากไผ่ขึ้น แต่คำนวนแล้วจะอย่าฃไรไม่คุ้ม ข่างนี้ไม่ทรสบว่าหวังงบประมาณอะไรอีก ถึงเป็นอย่างนี้

3.ปีนี้พบว่า เกิดภาวะแห้งแล้งรุนแรง การบริหารอ่างเก็บน้ำ ไม่เป็นไปตามเป้าควรปรับปรุง มิใช่เขื่อนเดียว แต่หลายเขื่อนงั้นหรือ

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

ภาพ:เฟซบุ๊ก Hannarong Yaowalers

 
อ่างเก็บน้ำแม่คำปอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ขนาดทำนบดิน ทำนบดินสูง 25.50 เมตร, ทำนบดินกว้าง 6.00 เมตร, ทำนบดินยาว 335.00 เมตรก่อสร้างปี พ.ศ. 2533 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2535 ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก 6,760,000 ลบ.ม.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง