ชี้ "รอยเลื่อยแม่ทา" มีโอกาสไหวถึงระดับ 5 ในรอบ 10 ปี

ภัยพิบัติ
19 ต.ค. 62
14:18
5,512
Logo Thai PBS
ชี้ "รอยเลื่อยแม่ทา" มีโอกาสไหวถึงระดับ 5 ในรอบ 10 ปี
กรมทรัพยากรธรณี สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.1 เมื่อวานนี้ (18 ต.ค.) ทำให้คนเชียงใหม่ และเชียงราย รวม 7 อำเภอ รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่ทา ระบุจากการวิเคราะห์มีโอกาสไหวระดับ 5 ในรอบ 10 ปีจากหลักฐาน 2,000 ปีแรงสุด 5.9

จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา เวลา 21.46 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 4.1 ที่ระดับความลึก 6 กม. บริเวณอ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ วันนี้ (19 ต.ค.2562) กรมทรัพยากรธรณี สรุปสาเหตุแผ่นดินไหวว่า สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา ในรูปแบบเลื่อนตามแนวระนาบเหลื่อมขวา (Right lateral strike slip fault) ซึ่งรอยเลื่อนนี้มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางมาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2549 ขนาด 5.1 ศูนย์กลางบริเวณอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ แรงสั่นสะเทือนทำให้ผนังบ้านเรือนร้าวในหลายอำเภอของ จ.เชียงใหม่

จากการวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในกลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พบว่าแผ่นดินไหวขนาด 5 มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในรอบ 10 ปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง แผ่นดินไหว 4.1 สะเทือนเชียงใหม่-เชียงราย

2 พันปีพบหลักฐานอดีตเคยแผ่นดินไหวขนาด 5.9 

โดยแผ่นดินขนาด 4.1 ครั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ ต.เทพเสด็จ ต.แม่โป่ง ต.ลวงเหนือ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอย สะเก็ด อ.เมือง อ.พร้าว อ. สันทราย อ.สารภี อ.หางดง จ.เชียงใหม่ และ อ.เวียงป้าเป้า จ.เชียงราย สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย

ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณี ได้ประสานข้อมูลจากอาสาสมัครเครือข่ายทรัพยากรธรณี และประสานข้อมูลผลกระทบของแผ่นดินไหว จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งได้สร้างการรับรู้แก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ว่า ไม่ต้องตื่นตระหนกหรือกลัวจนเกิดเหตุขอให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องหากจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นอีกในอนาคต ตามคู่มือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นอกจากนี้ ทั้งนี้กรมทรัพยากรธรณี เคยขุดร่องสำรวจในพื้นที่ บ้านโป่งสามัคคี ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พบหลักฐานที่จารึกไว้ในชั้นดินว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 มาแล้วเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง