ไขคำตอบ! "กระเบนสีชมพู" เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน

Logo Thai PBS
ไขคำตอบ! "กระเบนสีชมพู" เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน
นักวิจัย Project Mantra ของออสเตรเลีย ไขคำตอบปลากระเบนสีชมพู ในแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ พบว่าเกิดจากภาวะการ กลายพันธุ์ของยีน (Genetic Mutation) ในเมลานินหรือหรือเม็ดสีผิวที่ทำให้เกิดสีชมพู ซึ่งต่างกับกระเบนที่จะมีสีขาว สีดำ หรือขาวดำ

วันนี้ (18 ก.พ.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นิตยสาร National Geographic Thailand  ได้เผยแพร่เรื่องราวของปลากระเบนสีชมพูตัวหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งช่างภาพ kristianlainephotography ถ่ายภาพไว้ได้

 

ทั้งนี้จากการศึกษาของโปรเจกต์แมนตา (Project Mantra–โครงการปลากระเบน) กลุ่มนักวิจัยจากออสเตรเลียที่ศึกษาปลากระเบนสีชมพูตัวนี้ ได้ยืนยันว่าเป็นสีผิวจริงของมัน ในตอนแรก พวกเขาคิดว่าสีชมพูนี้ เป็นผลมาจากการติดเชื้อของผิวหนังหรือผลค้างเคียงจากอาหารที่กิน เช่นเดียวกับนกฟลามิงโกสีชมพู ที่ได้สีผิวมาจากการกินสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หรือครัสเตเชียน (crustaceans) อันหมายถึงสัตว์น้ำจำพวก กุ้ง กั้ง หรือ ปู แต่จากการศึกษาในปี 2016 โดยนักวิจัย เอมิเลีย อาร์มสตรอง ที่ได้นำตัวอย่างผิวหนังของมันมาศึกษา ก็ค้นพบว่าไม่ได้เกิดจากสาเหตุทั้งสองที่เคยคาดการณ์ไว้

ในตอนนี้ เชื่อว่าปลากระเบนตัวนี้มีภาวะการกลายพันธุ์ของยีน (Genetic Mutation) ในเมลานินหรือหรือเม็ดสีผิว อาเซีย เฮนส์ (Asisa Haine) ผู้ช่วยนักวิจัยกลุ่มโปรเจกต์แมนตรา ระบุ

โดยปลากระเบนตัวนี้ไม่เพียงแค่เป็นสัตว์น้ำที่ดูดี แต่มันมีประโยชน์ต่อการศึกษาได้อีกด้วย เฮนส์กล่าวและเสริมว่า “การทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นของการกลายพันธุ์ในยีนอาจช่วยบอกเรา” ว่าปลากระเบนมีกระบวนการพัฒนาสีผิวอย่างไร

โซโลมอน เดวิด นักนิเวศวิทยาทางน้ำประจำมหาวิทยาลัย Louisiana’s Nicholls Sate สงสัยว่ากลายการพันธุ์จะเกิดจากภาวะที่เรียกว่า Erythrism อันเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีผลให้ร่างกายผลิตเม็ดสีแดงมากกว่าปกติ

การได้เห็นการกลายพันธุ์ในสีผิวของสัตว์น้ำไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องที่เจ๋งที่เราได้พบเจอ

นอกจากนี้ เขากล่าวผ่านอีเมล์ ด้วยว่า ปกติ ปลากระเบนแมนตาแนวปะการังมีสีผิว 3 แบบ คือสีดำล้วน ขาวล้วน หรือสีขาวดำซึ่งมีมากที่สุดซึ่งเป็นรูปแบบสีที่เรียกว่า “Countershading” อันเป็นลักษณะหนึ่งของการพรางตัวในสัตว์ที่ช่วยให้พวกมันเป็นที่สังเกตเห็นยากในสภาพแวดล้อมใต้น้ำ ปลาชนิดนี้จะมีสีดำที่ด้านหลัง และมีสีขาวที่ด้านหน้าท้อง เมื่อถูกมองเห็นจากด้านบน ผิวสีดำของมันจะกลมกลืนไปกับบรรยากาศสีดำใต้ทะเล แต่เมื่อถูกมองจากด้านล่าง สีขาวตรงหน้าท้องของมันก็กลมกลืนไปกับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนลงบนผิวน้ำ อันเป็นการปรับตัวที่ป้องกันพวกมันจากสัตว์นักล่า เช่น ฉลาม เป็นต้น

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง