สู้เดือดประมูล 4 G คลื่น 900 ผ่าน 6 ชั่วโมง ล็อต 2 สามค่ายเคาะไม่ถอย-ทะลุ 4 หมื่นล้าน

เศรษฐกิจ
15 ธ.ค. 58
08:51
97
Logo Thai PBS
สู้เดือดประมูล 4 G คลื่น 900 ผ่าน 6 ชั่วโมง ล็อต 2 สามค่ายเคาะไม่ถอย-ทะลุ 4 หมื่นล้าน

ประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ท เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเคาะราคารอบแรก โดย กสทช.ประเมินเบื้องต้นอาจใช้เวลายืดเยื้อนานกว่าสองวัน รอบที่ 18 ทะลุ 4 หมื่นล้านแล้ว

วันนี้ (15 ธ.ค.) เวลา 07.00 น. ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสรายงานว่า ขั้นตอนการประมูล 4 เริ่มต้นขึ้น โดยผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลทั้ง 4 บริษัท คือ บริษัท จั ส มิ น อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ดีแทค บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้ลงทะเบียนแสดงตัว

จากนั้นเวลา 08.00 น. มีการจับสลากเพื่อเลือกห้องที่ใช้เคาะราคาประมูลโดยจะมี 2 บริษัท อยู่ที่ชั้น 3 และอีก 2 บริษัท อยู่ที่ชั้น 11 ซึ่งแตกต่างจากการประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 1800 MHz เมื่อวันที่ 11-12 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 4 บริษัทจะเคาะราคากันอยู่ที่ชั้น 3 เพียงชั้นเดียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งนี้ แบ่งออกเป็นใบอนุญาต 2 ใบ ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท คิดเป็นราคาร้อยละ 80 ของราคาเต็มของมูลค่าคลื่นความถี่ และตามกฏของกสทช.แล้ว กำหนดให้การเคาะราคาครั้งแรกทุกราย ต้องเคาะราคาเพิ่มที่ 644 ล้านบาท ซึ่งทำให้ราคาขณะนี้ขึ้นไปอยู่ที่ 13,508 ล้านบาท โดยแต่ละรอบจะมีการเพิ่มขึ้นทุกๆ 644 ล้านบาท ต่อเนื่องไปจนถึงราคา 16,080 ล้านบาท ซึ่้งเป็นราคาเต็มของมูลค่าคลื่นความถี่ ก็จะทำให้การเคาะราคาประมูลในรอบถัดไปเปลี่ยนเป็นครั้งละ 322 ล้านบาทไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเคาะราคาได้ผู้ชนะจำนวน 2 บริษัท โดยผู้ชนะจะได้สิทธิ์ครอบครองใบอนุญาตเป็นเวลา 15 ปี

การประมูลจะเริ่มต้นเคาะราคาตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึงเวลา 21.00 น. จากนั้นจะมีการสั่งพักการประมูลชั่วคราวเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วเริ่มประมูลต่อในเวลา 24.00 น. จนถึงเวลา 06.00 น. ของวันถัดไป พัก 3 ชั่วโมงแล้วเริ่มต่อในเวลา 09.00 น. สลับตามกรอบเวลาเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ผู้ชนะ

เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะต้องมีการจัดตั้งเสาวางเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ร้อยล่ะ 50 ภายใน 4 ปี และร้อยละ 80 ภายในระยะเวลา 8 ปี

การประมูล 4 จีเข้าสู่ชั่วโมงที่ 2 แล้ว ขณะที่ภาพรวมของการประมูลกำลังเข้าสู่รอบที่ 4 แต่ว่าก็มีข้อหน้าสังเกตว่า ทางเลขาธิการ กสทช. ได้ยืนยันว่า ผู้บริหารของบริษัท แจส โมบายฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดนั้นไม่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการเคาะราคาในครั้งนี้ ขณะเดียวกัน แจส โมบายฯ นั้นก็ส่งตัวแทนเข้าร่วมการเคาะราคาเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น ส่วนบริษัทอื่นทั้ง 3 บริษัทนั้นได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมบริษัทละ 10 คน โดยมีผู้บริหารเดินทางมาร่วมทั้งหมด

การจับสลากเพื่อเลือกห้องที่ใช้ในการเคาะประมูลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลา 08.00 น. โดยทั้ง 4 บริษัทจะอยู่ที่ชั้น 3 จำนวน 2 ห้องและอีก 2 บริษัทจะอยู่ที่ชั้น 11 ซึ่งเป็นห้องสำหรับการเคาะราคาประมูล โดย 4 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลได้แก่ ดีแทค เอไอเอส ทรูมูฟ และแจส โมบายฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นบริษัทที่เข้าร่วมการประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 1800 MHz มาแล้วในวันที่ 11-12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การเคาะราคาวันนี้เริ่มต้นตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนเริ่มเคาะราคาทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมและเลขาธิการ กสทช. ได้ร่วมกันแถลงเพื่อยืนยันความพร้อมและความความจำเป็นที่ทั้ง 4 บริษัทต้องมีความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ รวมถึงอธิบายถึงความแตกต่างของคลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz

สำหรับกรอบเวลาการเคาะราคาตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึงเวลา 21.00 น. จากนั้น กสทช. จะสั่งพักการประมูลชั่วคราวเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วเริ่มประมูลต่อในเวลา 24.00 น. จนถึงเวลา 06.00 น. ของวันถัดไป พัก 3 ชั่วโมงแล้วเริ่มต่อในเวลา 09.00 น. สลับไปเรื่อยๆตามกรอบเวลาเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ผู้ชนะ

คลื่นความถี่ 900 MHz มีราคาตั้งต้นที่ 12,864 ล้านบาท กำหนดให้เคาะราคาเพิ่มขึ้นรอบละ 644 ล้านบาท จนเมื่อราคาขยับไปแตะที่ 16,008 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาเต็ม 100% ของมูลค่าคลื่นความถี่ จะทำให้การเคาะราคาในรอบถัดไปเพิ่มขึ้นเหลือครั้งละ 322 ล้านบาทไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเคาะราคาได้ผู้ชนะจำนวน 2 บริษัท โดยผู้ชนะจะได้สิทธิ์ครอบครองใบอนุญาติเป็นเวลา 15 ปี แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 10 MHz เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะต้องวางเสาโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่ร้อยล่ะ 50 ภายใน 4 ปี และไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายในระยะเวลา 8 ปี ส่วนอัตราค่าบริการทั่วไปจะต้องถูกอัตราค่าบริการ 3 จี ทุกแพ็คเกจ

สำหรับบรรยากาศการประมูลในตอนนี้เข้าสู่รอบที่ 4 เหลือเวลาเพียง 7 นาทีที่ทั้ง 4 บริษัทจะต้องตัดสินใจว่าจะเคาะราคาหรือไม่ แต่หากย้อนดูในการเคาะราคาภาพรวมตั้งแต่รอบแรกจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในรอบที่ 2 คือ ใบอนุญาตที่ 1 มีบริษัทเสนอราคาเพียง 1 รายเท่านั้น ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีบริษัทเสนอราคา 2 ราย แสดงว่ามี 1 บริษัทที่ยังไม่ใช้สิทธิ์เสอนราคาในรอบที่ 2 เช่นเดียวกับรอบที่ 3 มีการเสอนราคาในใบอนุญาติที่ 1 เพียง 1 ราย ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีจำนวน 2 บริษัทที่เสนอราคา ซึ่งแสดงว่ายังมี 1 บริษัทที่ยังไม่ใช้สิทธิ์เสอนราคารอบที่ 3 ก็มีความเป็นไปได้ว่าการประมูล 4 จีในวันนี้ ทางเลขาธิการ กสทช.คาดว่า อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน ก็ต้องติดตามกันว่าสิ่งที่ทางเลขาธิการ กสทช. พูดไว้นั้นจะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการไว้หรือไม่

การประมูล #4G คลื่น 900 MHz เคาะรอบ 1 ล็อต 1 ราคา 13,508 ล้านบาท มีผู้เคาะ 1 ราย ล็อต 2 ราคา 13,508 ลบ. มีผู้เคาะ 2 ราย ราคารวมอยู่ที่ 27,016 ล้านบาท
รอบ 2 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1ราย ราคาอยู่ที่ 14,152 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคาอยู่ที่ 14,152 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 28,304 ล้านบาท
รอบที่ 3 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 14,796 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 14,796 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 29,592 ล้านบาท
10.00 น. รอบที่ 4 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 15,440 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่น 2 ราย ราคาอยู่ที่ 15,440 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 30,880 ลบ.
การประมูล 4G คลื่นความถี่ 900 MHz การเสนอราคาในรอบที่ 5 พุ่งสูงไปถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าคลื่นที่ประมูลไว้ 16,080 ล้านบาท ตามเงื่อนไขจะต้องมีการปรับลดราคาลงมาอยู่ที่ 2.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 322 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้แต่ละรอบจะเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 644 ล้านบาท
รอบที่ 6 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 16,406 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่น 2 ราย ราคาอยู่ที่ 15,440 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 30,880 ล้านบาท
รอบที่ 7 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูลราคา 16,728 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูลราคา 16,728 ล้านบาท
รอบที่ 8 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 17,050 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 17,050 ล้านบาท
รอบที่ 9 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 17,372 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ราคา 17,372 ล้านบาท
รอบที่ 10 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 17,694 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 17,694 บาท
รอบที่ 11 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 18,016 ลบ. ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ราคา 18,016 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 36,032 ลบ.
รอบที่ 12 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 18,338 ลบ. ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 18,338 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 36,676 ลบ.
รอบที่ 13 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 18,660 ลบ. ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ราคา 18,660 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 37,320 ลบ.
รอบที่ 14 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 18,982 ลบ. ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 18,982 ลบ. ราคารวมอยู่ที่ 37,964 ลบ.
รอบที่ 15 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 19,304 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 19,304 ล้านบาท
รอบที่ 16 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 19,626 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ราคา 19,626 ล้านบาท รวมอยู่ที่ 38,608
รอบที่ 17 ล็อต 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 ราย ราคา 19,948 ล้านบาท ล็อต 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคา 19,948 ล้านบาท
รอบที่ 18 ล็อต 1 ราคา 20,270 ล้านบาท ล็อต 2 ราคา 20,270 ล้านบาท ณ เวลา 14.38 น. ยังไม่มีผู้ยื่นประมูล


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง