เกษตรฯฟุ้ง 1 ปีแก้ปัญหา-ยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร เน้นราคาพืชผล-แก้ภัยแล้ง-จัดโซนนิ่งปลูกพืช

สิ่งแวดล้อม
23 ธ.ค. 58
16:00
242
Logo Thai PBS
เกษตรฯฟุ้ง 1 ปีแก้ปัญหา-ยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร เน้นราคาพืชผล-แก้ภัยแล้ง-จัดโซนนิ่งปลูกพืช
เกษตรฯฟุ้งกำหนดนโยบาย สร้างมาตรการแก้ปัญหา ช่วยเกษตรกรอย่างยั่งยืน หวังยกระดับชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น ผันงบแก้ราคายางตกต่ำ ภัยแล้ง เจรจาขายสินค้าการเกษตรให้โปร่งใสเป็นธรรม

วันนี้ (23 ธ.ค.) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงผลงานรัฐบาลคสช.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 ปีที่ผ่านมา ว่า

1.ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่ คสช. จะเข้ามาบริหารประเทศ - สภาพสังคม เศรษฐกิจ ลมฟ้าอากาศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น แรงงานภาคการเกษตรน้อยลง เศรษฐกิจโลกถดถอย เกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง - การทําการเกษตรแบบดั้งเดิม ด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา ปาล์ม ทําให้เกิด ความเสี่ยงด้านราคาและเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพ มีรายได้ไม่พอกับค่าครองชีพ - ตลาดโลกมีการแข่งขันสูงทั้งด้านราคาและคุณภาพ ประกอบกับ นโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหว่าง ประเทศ ได้ใช้มาตรการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น ทําให้สินค้าเกษตรไทยมีปัญหาและ อุปสรรคทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น-การบริหารจัดการภาคเกษตรของรัฐดําเนินการแบบต่างหน่วยต่างทํา ขาดการวางแผนที่ชัดเจน ขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ระหว่างการส่งเสริม การวิจัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการ บริหารจัดการน้ำและการตลาด - หลายรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาสินค้าเกษตรด้วยการประกันราคา จํานําผลผลิตการเกษตร ซึ่งบิดเบือน กลไกตลาด และเป็นช่องว่างให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เกิดความเสียหายต่อรัฐและเกษตรกร ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาด้านการเกษตรที่สะสมมานาน ส่งผลให้การเกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ รัฐบาลปัจจุบันจําเป็นต้องกําหนดนโยบาย มาตรการ การแก้ไข ปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

2.เป้าหมายในการทํางาน - มีเป้าหมายรวมสูงสุดที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น โดยแบ่งการดําเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ระยะที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกรในระยะยาว - การดําเนินการดังกล่าว จําเป็นต้องบูรณาการขับเคลื่อนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในหลายมิติ 1. ส่วนราชการภายในกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานภายนอก 2.กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หรือ ประชารัฐ โดยเกษตรกร เป็นศูนย์กลาง 3.การขับเคลื่อนต้องดําเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้งบประมาณใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ระยะที่ 1 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้เกษตรกรฝ่าฟันปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ในห้วงปี 2558 ที่ต้องเผชิญกับภัยแล้ง ราคาผลผลิต ตกต่ํา เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดําเนินมาตรการ ดังต่อไปนี้

1.การให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนเงินหรือปัจจัยการผลิต เพื่อลดต้นทุน ทําให้เกษตรกรอยู่ได้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการและงบประมาณรวม 4 โครงการ งบประมาณ 58,088 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร ประมาณ 5 ล้านครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 11,617 บาท ดังนี้ การช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 3.6 ล้านครัวเรือน - การช่วยเหลือชาวยางพารา ดําเนินการตั้งแต่ปี 2557 สนับสนุนเงินไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 850,000 ครัวเรือน ปี 2558 ขยายโครงการ โดยเพิ่มวงเงิน สนับสนุนเป็นไร่ละ 1,500 บาท (เจ้าของสวนยางพารา 900 บาท คนกรีดยาง 600 บาท)

2.การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง คณะรัฐมนตรีได้อนุมัตมาตรการและงบประมาณ ดังนี้ การบริหารจัดการน้ำในภาพรวม มีทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ในส่วนระยะสั้น เช่น การเจาะน้ำบาดาล กรอบวงเงิน 3,463 ล้านบาท จํานวน 6,030 บ่อ - ปี 2558-2559 มี 8 มาตรการ (การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชําระหนี้แก่เกษตรกรและการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำการจ้างแรงงานช่วงภัยแล้ง การจัดทําแผนชุมชนแก้ปัญหาภัยแล้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การเพิ่ม น้ำต้นทุนและการขุดบ่อบาดาล การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน) กรอบวงเงินงบประมาณ 8,752 ล้านบาท จํานวน 5 ล้านครัวเรือน โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรทําอาชีพเสริมทดแทนการ ทํานาปรัง เช่น การปศุสัตว์ การประมง การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทน รายละ 2,400 บาทต่อครัวเรือน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 385,958 ราย

3.การตลาด การเจรจาขายสินค้าเกษตรในสต๊อกรัฐบาลอย่างโปร่งใสเพื่อให้กลไกราคาเป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บของรัฐบาล เช่น ข้าวสาร และยางพารา - การเร่งรัดมาตรการใช้ยางพาราในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การทําถนน ลานเอนกประสงค์ชุมชน ลู่วิ่งสนามกีฬา พื้นสนามเด็กเล่น โดยในปี 2559 มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้ ยางพาราในประเทศอีกประมาณ 22,000 ตัน

4.ระยะที่ 2 ระยะปฏิรูปเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นที่จะปฏิรูปภาคเกษตรให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ ไปสู่ความสําเร็จเพื่อให้ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ภาคเกษตรไทยเป็นการเกษตรยุคใหม่ นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นไป โดยเน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งการ ดําเนินการในด้านต่างๆ จะมีดําเนินการควบคู่ไปกับระยะเฉพาะหน้า โดยมีการดําเนินงานที่สําคัญ ดังนี้

ปี 2559 ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีการดําเนินการครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ การลดต้นทุนปัจจัยการผลิต การเพิ่มผลผลิต การ บริหารจัดการ และการตลาด โดยประสานกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการ ปัจจุบันได้ลดราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีบางประเภทแล้ว ทําให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงให้ได้ประมาณร้อยละ 5-10

- ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน และเป็นแหล่งให้เกษตรกรเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนสามารถนําองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ สนับสนุนการรวมกลุ่มและให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร การเชื่อมโยงตลาด มีความพร้อมในการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 กรอบงบประมาณ 1,064 ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จํานวน 220,500 ราย ซึ่งผลจากมาตรการนี้จะนําไปสู่ 1) การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม หรือ Zoning ซึ่งเป็นการทําให้พื้นที่การผลิต สินค้าเกษตรมีผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น การปรับโครงสร้างการ ผลิตข้าว ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรและเป็นประโยชน์ในการวาง แผนการใช้พื้นที่การเกษตรที่มีอยู่ประมาณ 150 ล้านไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2) การขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการบริหารจัดการ รวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย โดยใช้ตลาดนําการผลิต ซึ่งขณะนี้มีกิจกรรมในแปลงใหญ่ จํานวน 270 แปลง และมีต้นแบบใน 76 จังหวัด รวม 76 แปลงต้นแบบ - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยเริ่มต้นกับจังหวัดยโสธรเป็นเมือง เกษตรอินทรีย์ โดยกําหนดจัดทําข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในเดือนมกราคม 2559 เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ดําเนินการอยู่แล้ว และขยายผลไปเกษตรกรกลุ่มอื่นที่สนใจในพื้นที่อื่นต่อไป - โครงการธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ให้เกษตรกรได้นําผลผลิตทางการ เกษตรมาแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก โดยจะเริ่มดําเนินการในเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ เกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ - การส่งเสริมการทําเกษตรแบบผสมผสาน และการสนับสนุนให้ประกอบอาชีพเพื่อลดความ เสี่ยงด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรจากพืชเชิงเดี่ยว โดยปลูกพืชหลากหลายชนิดเสริมควบคู่กัน เช่น โครงการ สนับสนุนสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพเสริมด้านเกษตร ที่ได้ดําเนินการปี 2558 ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับประโยชน์ ประมาณ 100,000 ราย วงเงิน 10,000 ล้านบาท และในปี 2559 ได้สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา ในโครงการสร้าง ความเข้มแข็งให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา จํานวนกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท มีเกษตรกรจะได้รับประโยชน์

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง