อนาคตระบบหลักประกันสุขภาพไทย เมื่อรัฐสวัสดิการแบกไม่ไหวกับความเป็นไปได้ที่ ปชช.ต้องร่วมจ่าย

สังคม
5 ม.ค. 59
11:05
705
Logo Thai PBS
อนาคตระบบหลักประกันสุขภาพไทย เมื่อรัฐสวัสดิการแบกไม่ไหวกับความเป็นไปได้ที่ ปชช.ต้องร่วมจ่าย
แม้มีการเสนอแนวทางให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล จากเดิมที่ไม่ต้องควักจ่าย เพราะต้องการสร้างความเท่าเทียมให้ 3 กองทุนด้านสุขภาพ ทว่า รัฐยังกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบการเงิน เหตุการใช้งบประมาณเพื่อดูแลด้านสุขภาพมีแนวโน้มสูงขึ้น ติดตามจากรายงาน

วันนี้ (5 ม.ค. 2559) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เริ่มชัดเจนว่าระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย อาจต้องเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า เพราะ ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการจัดทำแนวทางการระดมทรัพยากร เพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

โดยแนวทางการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลของทั้ง 3 กองทุน คือ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่จะถูกนำไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

การแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้รัฐกังวลเกี่ยวกับงบประมาณ ซึ่งหากดูภาพรวมการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 2.72 ล้านล้านบาท จะเห็นว่ารัฐต้องกันเงินเพื่อใช้จ่ายด้านสุขภาพมากถึง 4 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 17 ของงบประมาณ



แม้ตัวเลขร้อยละ17 ในข้างต้นอาจดูไม่มากเมื่อมองในภาพรวมของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปถึงตัวเลขที่รัฐต้องใช้เงินอุดหนุนรายหัวในการรักษาพยาบาล พบว่าแต่ละครั้งอยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วนประชาชนจ่ายเพียงร้อยละ 10 ส่วนอีกร้อยละ 10 อยู่ในระบบประกันของบริษัทเอกชน

ข้อมูลจากธนาคารโลกเปรียบเทียบให้เห็น ร้อยละ 80 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่รัฐบาลไทยใช้งบประมาณอุดหนุน มากกว่าการอุดหนุนของรัฐบาลในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง และกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการอันดับต้นๆ ของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง