นักวิชาการ TDRI ชี้ “ประชารัฐ” เอกชนได้เปรียบ

การเมือง
12 ม.ค. 59
15:55
237
Logo Thai PBS
นักวิชาการ TDRI ชี้ “ประชารัฐ” เอกชนได้เปรียบ
ต้นเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา รัฐบาลนัดพบนักธุรกิจชั้นนำของประเทศ 24 คน เพื่อหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้โครงสร้าง 3 ขา “รัฐ-เอกชน-ชุมชน” ภายใต้ชื่อ “ประชารัฐ” เพื่อนำเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลระบุว่า แตกต่างจาก “ประชานิยม” ตรงที

เราจะเห็นว่าจุดเด่นของคณะทำงานชุดนี้ คือการนำนักธุรกิจที่ถูกเลือกสรร ว่าประสบความสำเร็จในการผลักดันธุรกิจหลากหลายสาขา เช่น ปูนซิเมนต์ โทรคมนาคม เครื่องดื่ม หลายสาขามาก ก่อนจะคิดว่าประสบความสำเร็จอย่างไรนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า เป้าประสงค์ของการตั้งคณะทำงานนี้คืออะไร ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่พยายามเปลี่ยนจาก “ประชานิยม” มาเป็น “ประชารัฐ” ก็ต้องเข้าใจว่าทั้งสองด้านนี้ต่างกันอย่างไร

ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการ TDRI ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ว่า ประชานิยมเป็นเรื่องของการที่ประชาชนชมชอบนโยบาย แน่นอนว่า การที่ประชาชนชอบอาจมีจุดอ่อน คือบางครั้งอาจจะไม่มีความใจเย็นเพียงพอ ทำให้ยินยอมรับนโยบายที่ลูบหน้าปะจมูก ได้เงินวันนี้ ก่อหนี้วันหน้า อาจเป็นจุดอ่อนของประชานิยมในรัฐบาลยุคก่อน ส่วนประชารัฐ โดยไอเดียเราอาจจะไม่ต้องสน ว่าประชาชนชมชอบหรือไม่ แต่ขอให้นโยบายออกมาทำเพื่อประชาชน

เมื่อประชาชนได้ประโยชน์ ภาครัฐจะได้ประโยชน์ต่อมา นี่คือหัวใจสำคัญ คณะทำงานนี้ถูกตั้งโดยภาคเอกชน มีความย้อนแย้งเล็กน้อย ในหมวกใบหนึ่ง ภาคเอกชนต้องคำนึงถึงผลกำไร และธุรกิจเป็นหลัก ฉะนั้นหมวกใบนี้จะเป็นภาพลบนะครับ แต่ก็มีหมวกที่เป็นภาพบวก คือ นักธุรกิจเหล่านี้ประสบความสำเร็จ
แต่ละคนมีความสามารถทางธุรกิจระดับสูง เขาจะมีแนวคิดตอบโจทย์ และธุรกิจเหล่านี้ก็ทำกิจกรรมกับชุมชน และธุรกิจชุมชนเยอะ หมวกใบนี้เป็นภาพบวก เมื่อถามว่า การตั้งคณะทำงานชุดนี้จะตอบโจทย์การพัฒนาได้หรือไม่ ต้องดูว่าคณะทำงานสวมหมวกใบไหนมากกว่ากัน สวมพร้อมกันสองใบ แต่ใบไหนเด่นกว่า ถ้าเลือกใช้หมวกที่ให้ประโยชน์ประชาชนเป็นตัวนำ ก็เป็นจุดแข็ง แต่ถ้าเค้าใช้หมวกอีกใบ มองว่าธุรกิจของตัวเองสมควรจะได้

ดร.นณริฎกล่าวต่อว่า เมื่อธุรกิจได้ ประชาชนก็จะมีรายได้ตามมา หากเป็นแบบนี้ ความมุ่งหวังที่จะเดินไปสู่ประชารัฐ ก็จะได้ประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

“ผมคิดว่าสิ่งที่ขาดคือ บทบาทของนักวิชาการ โดยทั่วไปแม้นักวิชาการจะด้อยเรื่องประสบการณ์ธุรกิจ แต่หลักทฤษฎีและกรอบแนวคิดซึ่งสะสมมาจากงานวิจัย สามารถนำไปช่วยออกแบบนโยบายที่เข้าถึง เจาะกลุ่มเป้าหมาย และกีดกันนโยบายบางประเภทที่สุ่มเสี่ยงว่าอาจจะเกิดผลลัพธ์ไม่ดีในลักษณะประชานิยมได้”

เราต้องการอีกกลุ่มที่ควรจะเข้าไปในคณะทำงาน และมีบทบาทเด่นไม่แพ้กันเพื่อถ่วงดุลภาคเอกชน (แต่ละกลุ่มควรแบ่งงานอย่างไรเพื่อประโยชน์สูงสุด) แต่ละท่านหากมองลักษณะกลุ่มธุรกิจนั้นมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กลุ่มค้าปลีกอาจมีฐานข้อมูลเรื่องชุมชน การกระจายรายได้ หรือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาจเข้าใจกลไกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ ต้องดูว่าทักษะทางธุรกิจจะสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของคณะทำงานได้อย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในมุมมองนักวิชาการ อาจารย์ใช้อะไรชี้วัดความสำเร็จ ดร.นณริฎกล่าวว่า เป็นคำถามที่ยากนะครับ ความสำเร็จมีหลายระดับ หากแบ่งแล้วมี 3 ระดับ อย่างน้อยที่ผมอยากให้เห็นภาพ ขั้นแรก ผลผลิต เราต้องดูว่าผลผลิตที่ออกมาได้คืออะไร ในลักษณะนี้ก็แล้วแต่โครงการ เช่น มีโครงการที่ดูเรื่องจำนำข้าว เราต้องไปดูว่า ชาวนาที่รับเงิน ได้จริงมากน้อยแค่ไหน ขั้นต่อมา การนำโครงการต่างๆ ที่ถักร้อยกันนั้น เกิดผลกระทบต่อสังคม ประชาชนอย่างไร

ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล อาจจะระยะสั้นถึงปานกลาง และสุดท้ายผลระยะยาว เวลาเราจะวัดเคพีไอต้องดูทั้งสามตัวประกอบกันว่า ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์หรือผลกระทบหรือไม่ ซึ่งผลกระทบของแต่ละคณะทำงานก็ต่างกัน เช่น แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เราอาจต้องดูว่าเป้าประสงค์ควาเมหลื่อมล้ำควรจะลดในลักษณะไหน เพิ่มเงิน เพิ่มสวัสดิการ มันมีหลายวิธี แต่ผลกระทบต้องชัดเจน

เมื่อถามว่า ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้การทำงานล้มเหลว ดร.นณริฎกล่าวว่า จากที่ได้เห็นรัฐบาลนี้ทำมาช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีที่ผ่านมานะครับ นโยบายที่รัฐบาลนี้ทำมี 2 ประเภท กลุ่มแรกคือนโยบายฐานราก พัฒนาประชาชนในลักษณะอัดฉีด นึกภาพเหมือนแทนที่เราจะรดน้ำต้นไม้จากข้างบนให้น้ำซึมไปข้างล่าง เรากลับเอาสายยางเจาะฉีดจากรากเลย เช่นกองทุนหมู่บ้าน นโยบายเช่นนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย เพราะมันพัฒนาจากฐานรากที่แท้จริง

ในข้อปฏิบัติอาจมีติดขัดอยู่บ้าง แต่ถ้าภาครัฐพยายามมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็น่าจะผลักดันสู่ประชารัฐได้ดี ผมคิดว่าดีนะครับ ส่วนอีกกลุ่มที่ผมกังวลใจ คือกลุ่มรดน้ำจากข้างบน เช่น ภาครัฐสนับสนุนให้ลดการกู้ยืม เช่นกันกับลดภาษี 15,000 บาท โดยส่วนตัวผมมองว่า มันไม่สอดคล้องกับเป้าระยะยาว ในสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

“นโยบายที่จะต้องสนับสนุนให้เกิด ควรเป็นนโยบายลดหนี้ ก่อหนี้น้อยลง สร้างรายได้มากขึ้น แต่นโยบายที่ผมยกตัวอย่างข้างต้นเป็นแบบสร้างหนี้ แน่นอนในพื้นฐานความเชื่อของนักธุรกิจอาจเชื่อว่า นโยบายลักษณะนี้ให้ประโยชน์ธุรกิจ จากนั้นเมื่อธุรกิจกำไรดี มีการผลิตและจ้างงาน ประชาชนจึงได้ตามมา ผมกังวลเพราะมันเป็นนโยบายที่ธุรกิจได้ประโยชน์ก่อน ประชาชนได้ทีหลัง ถ้าจะไม่ประสบความสำเร็จ มันจะเกิดขึ้นหากคณะทำงานออกรูปแบบนโยบายที่สองนี้เองครับ” นักวิชาการ TDRI กล่าว

อุรชัย ศรแก้ว
ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง