"ความเสียหายที่ไม่ควรมองข้าม" ..ฝากความหวังบริษัทใหญ่ ผู้กุมชะตากรรมโครงการของประเทศ

การเมือง
12 ก.พ. 56
16:14
107
Logo Thai PBS
 "ความเสียหายที่ไม่ควรมองข้าม" ..ฝากความหวังบริษัทใหญ่ ผู้กุมชะตากรรมโครงการของประเทศ

สัมภาษณ์พิเศษ : นายสุวัฒน์ เชาวน์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ ภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส กรณีรัฐบาลอยู่ระหว่างเดินหน้าผลักดันโครงการประมูลขนาดใหญ่ มูลค่า 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ว่า

  วสท.เป็นองค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรม ที่ผ่านมา วสท.เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้างเชิงวิศกรรมมากมาย เช่น โครงการก่อสร้างทางยกระดับโฮปเวลล์ ซึ่งยังปรากฏเป็นหลักฐานให้ประชาชนหรือผู้พบเห็นไม่สบายใจ, โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย คลองด่าน จังหวัดสมุทปราการ หรือกรณีล่าสุด โครงการก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งโครงการเหล่านี้ ล้วนเป็นโครงการพัฒนาประเทศขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ และเป็นโครงการที่ทำถูกขั้นตอนทั้งหมด เพราะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จนนำไปสู่การจัดซื้อจัดจ้ง หาผู้รับเหมา แต่เหตุใดโครงการเหล่านี้ถึงมีปัญหา และเมื่อเกิดปัญหา มันไม่ใช่แค่เสียหายเชิงวิศวกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ประเทศด้วย 

 
ประเด็นที่ วสท.ตระหนักคือ แม้โครงการนี้รัฐบาลมีแนวคิดจากแก้ปัญหาจากวิกฤตน้ำท่วมเมื่อปี 2554 และบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการระยะสั้น และระยะกลาง ทาง วสท.ไม่ได้แสดงความเห็นมากนัก เพราะเห็นว่าเป็นโครงการเฉพาะหน้า ที่ต้องทำเร่งรีบ แต่สำหรับโครงการนี้ เป็นโครงการระยะยาว แม้วิธีดำเนินการจะถูกกฎหมาย เพราะผ่านครม.แล้ว ซึ่งหากไม่ถูกกฎหมายก็คงดำเนินการไม่ได้ และมีขั้นตอนจัดซื้อจดจ้างถูกต้อง แต่เท่านี้ไม่ไม่ได้หมายความว่าโครงการจะเกิดขึ้นได้ เพราะรัฐต้องมองถึงมิติความสำเร็จด้วย เพราะยังมีอีกหลายมิติ
 
 "ผมยกตัวอย่างโครงการนี้ ก็จะคล้ายๆ กับโครงการก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศ คำถามก็คือ เราเอาความไว้วางใจไปไว้ที่บุคคลเพียงกลุ่มเดียวให้มารับโครงการไปดำเนินการถูกต้องหรือไม่ แต่การตรวจสอบคู่ขนานว่าขีดความสามารถในการดำเนินการเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และวันนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการโครงการ 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งคัดเลือกผู้ที่เสนอกรอบแนวคิดมาแล้ว 6 บริษัท โดยให้เวลา 3เดือนเพื่อออกแบบแนวความคิด และหากพิจารณาดูข้อเท็จจริงแล้ว จะเห็นว่า มีกลุ่มใหญ่อยู่ 2 กลุ่ม (เกาหลีใต้ และจีน) เสนองานผ่านทั้ง 10 แผนงาน (โมดูล)"
 
ซึ่งหากสมมติว่า ผลการคัดเลือกออกมาว่ากลุ่มเหล่านี้ ได้งานไป 8-9 แผนงาน นั่นหมายถึงรัฐบาลกำลังฝากเอาความสำเร็จของโครงการไปไว้กับกลุ่มบริษัทเพียง 1-2 กลุ่มเท่านั้น แทนที่จะให้งานกระจายไปทั้งประเทศ ที่มีลักษณะงานที่หลากหลายและแตกต่งกันเยอะ ตั้งแต่การอ่างเก็บน้ำ ,เขื่อน, ฟลัดเวย์, คันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา และระบบป้องกันน้ำท่วม ซึ่งมีความหลากหลายแตกต่างกันไปกว่าครึ่งประเทศ และยังมีลุ่มน้ำอื่นๆ อีก 17 ลุ่มน้ำ ทั้งภาคใต้ ภาคอีสาน มันจะไปเข้าลักษณะเดียวกับการก่อสร้างโรงพักหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวไม่ได้ดูถูกความสามารถของบริษัท หรือลบหลู่กรรมการคัดเลือก แต่อยากให้ตระหนักมากๆ เพราะแค่งานสร้างโรงพักก็ยังเกิดความเสียหายได้
 
สำหรับ  วสท.เอง ก็ไม่ได้รู้เรื่องเฉพาะด้านวิศวกรรมเท่านั้น แต่วสท.ยังอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างด้วย โดยเมื่อเริ่มโครงการใดๆ ก็ต้องเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ และควมคุ้มทุนในการทำงาน รวมถึงวิธีปฏิบิติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าโครงการใหญ่ 1 โครงการ จะแยกออกเป็นโครงการย่อยได้อีกหลายโครงการ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ วสท.เคยท้วงติงและออกแถลงการณ์ไปแล้ว 2 ฉบ้บ ซึ่งเป็นหลักการทางวิศวกรรมที่ได้นำเสนอ เพราะเราเองก็อยากให้รัฐทำแบบประสบความสำเร็จ แต่หากสิ่งที่เกิดขึ้นมีข้อสังสัย และหาก วสท.ไม่ทำอไรเลย ปล่อยให้เป็นไปตามที่รัฐบาลเสนอ ก็จะถูกตำหนิจากสมาชิก และประชาชนได้ 
 
ทั้งนี้ วันที่13 กุมภาพันธ์ 2556  วิศวกรรมสถานฯ จัดเสวนาเชิงวิพากษ์ต่อโครงการประมูลน้ำ 3 หมื่น 5 พันล้านบาท โดยมีผู้ร่วมเสวนาจากหลายแวดวงเข้าร่วม เช่น นายปราโมทย์ ไม้กลัด ,นายประเสริฐ โพธิวิเชียร, ดร.สุบิน ปิ่นขยัน, ดร.อภิชาติ อนกูลอำไพ, รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล, รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน, รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดา และผศ.ทีฆาวุฒิ พุทธภิรมย์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นคณะทำงานเรื่องแหล่งน้ำ, เป็นวิศวกรที่ทำให้กับภาครัฐ ก็จะร่วมเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองกัน รวมทั้งสะท้อนว่ามีมุมมองอย่างไรต่อโครงการที่เกิดขึ้น ซึ่งการสร้างเขื่อน หรือ อ่างเก็บน้ำสักแห่ง ต้องศึกษาถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งโครงสร้างวิศวกรรม, สิ่งแวดล้อม และภาคประชาชน ให้ได้รับความเห็นชอบ ไม่ใช่อยู่ๆ บอกว่าจะทำโครงการ เช่น แก่งเสือเต้น แต่เราก็เห็นว่ามันใช้เวลาเป็น 10ปีมาแล้ว เพราะปัญหาใหญ่ คือ รัฐไม่ได้สร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกเริ่มที่ควรทำ
 
แต่ในเชิงการก่อสร้าง เราอยากให้แยกลักษณะงานออกจากกัน ทั้งขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ หรือ การออกแบบก็ให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ที่สำรวจออกแบบ ก็ทำงานด้านออกแบบไป บริษัทที่คุมงานก่อสร้าง หรือ บริษัทก่อสร้าง ก็เป็นคนละชุด จะได้ตรวจสอบและคานอำนาจกันได้ แต่สิ่งที่รัฐกำลังทำคล้ายๆกับว่า บริษัทผู้รับเหมา บริษัทที่สำรวจ ออกแบบ และที่ปรึกษา มาจับมือกันเพื่อทำงานดีไซท์บิ้ว จริงๆ มันก็ทำได้ แต่อีกมุมคือเมื่อท่านออกแบบกันเอง ก่อสร้างกันเอง ควบคุมงานกันเอง คิดว่าเหมาะสมแล้วหรือ ในเมื่อความเบ็ดเสร็จมันอยู่ตรงนั้น
 
ขณะเดียวกัน อยากคำนึงถึงว่า หากเอาโครงการเดียวมาประเคนให้บริษัทเดียว ซึ่งในโครงการที่ทำ ก็มีทั้งฟลัดเวย์, อ่างเก็บน้ำ หรืออื่นๆ และมันเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบในหลายๆ จังหวัด หากโครงการเกิดปัญหาที่จุดใดจุดหนึ่ง การพิจารณาต่อสัญญา หรือแก้ปัญหา มันจะเป็นอย่างไร แม้รัฐจะออกสื่อ ประกาศว่าจะรับผิดชอบ แต่ถามว่าจะรับผิดชอบยังไง เวลาเกิดความเสียหาย มันก็ภาษีเราทั้งหมด นี่คือสิ่งที่เราควรตระหนัก
 
อีกประเด็นคือ การควบคุมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เพราะทุกๆ งาน ก็ต้องมีการปรับรูปแบบเสมอเวลาลงพื้นที่จริง มันไม่เหมือนกับตอนคิดหรือออกแบบ หรือตอนสำรวจ ซึ่งหากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายการจริงๆ ก็ต้องใช้เงิน แล้วใครจะเป็นคนตัดสินใจว่าทำได้หรือไม่ โครงการนี้ไม่ใช่เล็กๆ มีมูลค่าหลายแสนล้านบาท และยิ่งเป็นเงินกู้ เงินประชาชนด้วย ทำอะไรก็ต้องรอบคอบ 
 
 
 
 
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง