เตือนเกษตรกรไม่บุกรุกพื้นที่ภูเขา และป่าสงวนเพื่อปลูกยางพารา เหตุไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ

ภูมิภาค
21 ส.ค. 54
09:22
33
Logo Thai PBS
เตือนเกษตรกรไม่บุกรุกพื้นที่ภูเขา และป่าสงวนเพื่อปลูกยางพารา  เหตุไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ

แนะปลูกยางพาราบนพื้นที่แผ้วถางไม่เหมาะ ตั้งแต่เก็บเกี่ยว(กรีดยาง)รวมทั้งยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระบบนิเวศน์วิทยาซึ่งส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาดินถล่มสร้างความเสียหายในระยะยาว

นายขุนศรี  ทองย้อย  รองกรรมการผู้จัดการ  บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์  จำกัด  หรือ ซีพีเอส  กลุ่มธุรกิจพืชเปิดเผยว่า บริษัทฯทำธุรกิจผลิตต้นยางชำถุงเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่ปลูกต่างๆ ของประเทศไทย  โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่ผ่านมาตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายที่ดีให้แก่เกษตรกร เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก ขณะเดียวกันทคำนึงถึงการเลือกพื้นที่ปลูกยางพาราของเกษตรกรในแหล่งพื้นที่ต่าง ๆ ต้องไม่เป็นพื้นที่ที่ไปบุกรุกทำลายป่า  หรือป่าสงวนที่เป็นพื้นที่สูงตามภูเขา  หรือพื้นที่บนภูเขาสูง  ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกยางเชิงธุรกิจ  รวมทั้งมีความยุ่งยาก  ไม่สะดวกต่อการบริหารจัดการในสวนยางเริ่มตั้งแต่การปลูก  การดูแล รักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวน้ำยาง ออกจากพื้นที่   ตลอดจนยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระบบนิเวศน์วิทยาซึ่งส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาดินถล่มสร้างความเสียหายให้แก่สวนยาง เกษตรกร รวมทั้งทรัพย์สินบ้านเรือนของเกษตรกรได้ในระยะยาว    ทั้งนี้เนื่องที่ผ่านมาสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงเกิดความแปรปรวนไปทั่วทุกมุมโลก  ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ไม่อาจควบคุมได้สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนเกษตรกรมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา  
 
“เราจะไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่าหรือในเขตพื้นที่ภูเขาหรือป่าสงวนซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ  ทั้งนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพเป็นจำนวนมากที่สามารถเลือกและนำมาส่งเสริมปลูกยางพาราได้”
 
นายขุนศรีกล่าวว่า  ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทำการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราของประเทศไทยพบว่า พื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่อีกจำนวน  18 ล้านไร่ ทั้งนี้ปี 2554 บริษัทฯ  สามารถผลิตต้นยางชำถุงเพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ได้เพียงจำนวน 6 แสนต้น ครอบคลุมพื้นที่ปลูก 6,000 ไร่  คิดเป็น  0.033 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งยางพันธุ์ JVP 80 และยางที่ CPS จำหน่ายเป็นยางที่มีรากแก้ว เพราะเกิดจากการเพาะเมล็ดและนำตาพันธุ์ดีมาติด โดยได้ส่งเสริมในเขตพื้นที่ภาคเหนือได้แก่  จ.เชียงราย   จ.พะเยา   และจ.เชียงใหม่  พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่  จ.เลย   จ.อุดรธานี  จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ  เป็นต้น  โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นพื้นที่ราบ และราบสูงที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกยางพาราตามที่บริษัทฯกำหนดโดยไม่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวนที่ก่อให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า    พร้อมกันนี้ จัดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไปตรวจเช็คสภาพดิน   และ สภาพพื้นที่ของเกษตรกรพร้อมกับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูก  การดูแลแก่เกษตรกรก่อนปลูก  แม้เกษตรกรมีความต้องการปลูกแต่หากพื้นที่ไม่เหมาะสมบริษัทไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก
 
สำหรับแผนการผลิตต้นยางชำถุงในปี 2555  นั้น   เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราคำนึงถึงการปลูกยางพาราต้องไม่ให้นำยางพาราไปปลูกในพื้นที่ป่าสงวนหรือพื้นที่ที่มีการบุกรุกทำลายป่าซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมแล้ว  ยังได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไปตรวจเช็คสภาพดิน  และลงไปสำรวจสภาพพื้นที่ปลูกที่ที่มีความเหมาะสม รวมถึงการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูก  การดูแลให้แก่เกษตรกรด้วย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง