THE EXIT : ลักลอบผลิต "หัวน้ำหวาน" สี่คูณร้อย ตอน 2

อาชญากรรม
29 ต.ค. 63
19:51
19,103
Logo Thai PBS
THE EXIT : ลักลอบผลิต "หัวน้ำหวาน" สี่คูณร้อย ตอน 2
THE EXIT พบพฤติกรรมบุคคลในพื้นที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ลักลอบผลิต "หัวน้ำหวาน" ขายให้กับผู้ดื่ม "สี่คูณร้อย" เพื่อทดแทน ยาแก้ไอที่มีราคาสูง และหาซื้อได้ยากชาวบ้านในพื้นที่ ตั้งคำถามว่าอาจมีสารเสพติดผสมอยู่หรือไม่ หรือมีอีกหลายเครือข่ายทำลักษณะนี้

การเปิดโปงพฤติกรรมบุคคลในจ.นครศรีธรรมราช ผลิต "หัวน้ำหวาน" ให้กับผู้ที่เสพติดสี่คูณร้อย กำลังถูกตั้งคำถามว่า มันคือสารเสพติดชนิดหนึ่งด้วยหรือไม่ จากการที่มีเครือข่ายผลิตเพิ่มมากขึ้นนักดื่มหัวน้ำหวาน อ้างว่ามันสามารถใช้แทนยาน้ำแก้ไอซึ่งถูกจำกัดการเข้าถึง โดยเฉพาะยาแก้ไอที่ถูกเรียกว่าฝาแดง

2 เดือนก่อน ตำรวจชุดสืบสวนศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2 เข้าค้นห้องพักของชายวัย 19 ปี ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพราะพบว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้ขายใบกระท่อม ในห้องพบใบกระท่อมจำนวนหนึ่ง พร้อมๆ กับขวดยาแก้ไอ ฝาแดงจำนวน 4 ขวด "ฝาแดง" เป็นชื่อเรียกในกลุ่มผู้ดื่ม "สี่คูณร้อย" เป็นยาบรรเทาอาการไอขับเสมหะ ชนิดน้ำเชื่อมกลิ่นราส เบอรี่ มีตัวยาเบนาดิ้ว ทำให่ง่วงซึม

ทีมข่าวทดลองค้นหายาแก้ไอยี่ห้อนี้ในเฟซบุ๊ก พบว่าผู้จำหน่ายเป็นจำนวนมากบางร้านระบุว่ามีสินค้าและยอดขายจำนวนมาก และสาธิตวิธีการนำไปผสมทำ "สี่คูณร้อย"

 

ทีมข่าวเฝ้าสังเกต พฤติกรรมของร้านขายยาแห่งหนึ่งในพื้นที่อ.นาเกลือ จ.ชลบุรี หลังผลจากการสอบสวนพบว่า เป็นร้านที่ขายยาแก้ไอฝาแดงให้กับผู้ดื่ม "สี่คูณร้อย"ก่อนตำรวจเข้าล่อซื้อ และตรวจค้น ภายในร้านพบยาแก้ไอฝาแดง จำนวนมาก ในร้านพบเพียงพนักงานขายยาไม่มีเภสัชกร ปฏิเสธไม่ให้ธนบัตรล่อซื้อกับตำรวจ และปฏิเสธว่าที่ขายไม่ใช้ยาแก้ไอชนิดเบนาดิ้ว แต่เป็นเพียงน้ำเชื่อม

แต่จากข้อมูลการสอบสวนพบว่ามีการย้ายสินค้าไปไว้ยังโกดังเก็บของไม่ไกล เมื่อเข้าตรวจค้นพบยาแก้ไอที่มีส่วนผสมสมของเบนาดิ้ว และยาแก้ไอฝาแดง จำนวนมาก

จำกัดขายยา-คนซื้อยาแก้ไอ

ข้อมูลจากสำนักงานอาหารและยาชนิดน้ำเชื่อมที่ตรวจยึดมี 12 ยี่ห้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มจากตัวยาสำคัญ คือกลุ่มเบนาดิ้ว หรือ ไดเฟสไฮดรามีน และกลุ่มตัวยาคอเฟนิลามีน เป็นส่วนประกอบซึ่งล้วนเป็นยาอันตราย ที่ต้องควบคุมการจำหน่าย เนื่องจากมีการนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่นนำไปทำส่วนผสมในการทำสารเสพติด"สี่คูณร้อย" เนื่องจากยาเสริมความมึนเมาให้กับใบกระท่อม

 

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ยาแก้ไอเป็นยาอันตรายต้องขายในร้านที่มีเภสัชกร และมีโควต้าไม่เกิน 300 ต่อเดือน ส่วนผู้ซื้อจำกัดไม่เกิน3 ขวดต่อครั้งต่อคน และต้องจดบัตรประชาชขน รวมทั้งห้ามขายเยาวชนต่ำกว่า18 ปี เพื่อป้องกันกัไม่ให้ปัญหาขยายไปมากขึ้น  

สอดคล้องกับคำบอกเล่า ของผู้ดื่มสีคูณร้อย ในพื้นที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนไปใช้ "หัวน้ำหวาน" ที่ลักลอบผลิตจากคนในพื้นที่ ทดแทนการใช้ยาแก้ไอ เพราะปัจจุบันหาซื้อยาก และมีราคาแพง

ชาว อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ให้ข้อมูลว่า น้ำหวานที่นำมาผสมเหมือนกัน แต่คุณภาพด้อยกว่า และแบบขวดจะแพงกว่า เมื่อก่อนขวดละ 30 บาท เพิ่มเป็นราคา 150 บาท 200 บาท และบางแห่ง 300 บาท แต่ของที่ทำจะใช้หัวน้ำหวานเคี่ยวราคาจะถูกกว่า

เร่งสกัดเส้นทางขาย-ห่วงเยาวชนติด

จากข้อมูลที่ THE EXIT ลงพื้นที่ พบว่า "หัวน้ำหวาน" ที่กลุ่มผู้ดื่มสารเสพติด"สี่คูณร้อย" กำลังเป็นที่นิยม เพราะราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายกว่า นี่จึงกลายเป็นความกังวล ของคนในพื้นที่ อ.ปากพนัง ว่าหากใน "หัวน้ำหวาน" ผสมสารเสพติด หรือตัวอย่าง เดียวกันกับยาแก้ไอชนิดฝาแดงเกินกำหนด อาจส่งผลเสียต่อผู้ดื่ม "สี่คูณร้อย" และเยาวชนในพื้นที่

 

 

รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาให้ข้อมูล พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย นิยมดื่มน้ำกระท่อม ในลักษณะของสารเสพติด "สี่คูณร้อย" โดยใช้ยาแก้ไอเป็นหนึ่งในส่วนผสม แต่ที่ผ่านมาหลังพบปัญหาให้มีการจำกัดการขายยาแก้ไอ และต้องจ่ายยาโดยเภสัชกร ทำให้ในกลุ่มผู้ดื่มสี่คูรร้อยหาซื้อได้ยาก และมีราคาแพง ทำให้มีการการผสมน้ำหวานขึ้นมาทดแทนยาแก้ไอ

ยาแก้ไอมักจะมีรสเฉพาะตัว มีรสขม ทำให้เขานำมาใส่ไซรับ แต่งกลิ่นให้มีกลิ่น และรสเฉพาะตัว แต่พอไม่มีสี่คูณร้อย ก็จะใช้หัวน้ำหวานมาแต่งกลิ่น และรสให้เหมือนยาน้ำแก้ไอ

หลังได้รับการร้องเรียนทาง อย.กำลังจะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบ หัวน้ำหวานที่ชาวบ้านนำมาร้องเรียน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

THE EXIT : ลักลอบผลิต "หัวน้ำหวาน" สี่คูณร้อย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง