บทความ : มหาวิทยาลัยไทยในเงาจีน

สังคม
23 มี.ค. 66
11:30
1,203
Logo Thai PBS
บทความ : มหาวิทยาลัยไทยในเงาจีน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แต่ละปีสาธารณรัฐประชาชนจีน มีศักยภาพรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ประมาณ 6 ล้านคน สวนทางกับจำนวนความต้องการของนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา

การแข่งขันเพื่อแย่งชิงเก้าอี้ในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้แต่ละปีจะมีนักเรียนจีนที่ผิดหวัง จากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีละ 3-4 ล้านคน

นอกจากการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศแล้ว รัฐบาลจีนยังสนับสนุนให้คนจีนไปเรียนในต่างประเทศ ด้วยหวังว่าจะสร้างคนให้เกิดความเข้าใจ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของแต่ละประเทศ

ประเทศที่นักเรียนจีน นิยมเดินทางไปศึกษาต่อ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อังกฤษ ยุโรป และจีน ยังให้ความสนใจมาเรียนในประเทศไทยด้วย

นักธุรกิจจีนจึงเข้ามาลงทุน “ธุรกิจการศึกษา” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเอกชนในไทย หลายแห่ง หนึ่งในนั้น คือ มหาวิทยาลัยเกริก

ม.เกริกได้ไปต่อหลังร่วมทุนจีน?

สภาพแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัยเกริก เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนาย หวัง ฉาง
หมิง นักธุรกิจชาวจีนเข้ามาถือหุ้นใหญ่

ข้อความภาษาจีนขนาดใหญ่ บ่งบอกได้ว่า ที่นี่มีนักศึกษาต่างชาติมาเรียน โดยเฉพาะชาวจีนจำนวนไม่น้อย ทั้งการเรียนการสอนแบบ Online และ Onsite

ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้รับอนุญาต ให้เข้าไปสังเกตบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนนักศึกษาจีน มี ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก เข้าร่วมบรรยายในฐานะอาจารย์ ส่วนนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนในไทย และสนใจความสัมพันธ์ไทย-จีน

ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก

ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก

ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีประสบการณ์ทำธุรกิจการศึกษาในไทย

ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในวัย 90 ปี เปิดเผยกับไทยพีบีเอสว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ มหาวิทยาลัยเกริก เป็นเพียงนักธุรกิจชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อ นายหวัง ฉางหมิง วัย 50 กว่าปี มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน เป็นคนจีนอาศัยอยู่ประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี

และยังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการปรับหลักสูตร ทำ MOU กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจีน เพื่อให้คนจีนมาเรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ปัจจุบันนี้มีนักศึกษาจีนมากถึง 3,000 คน

นอกจากนี้ นายหวัง ยังร่วมลงทุนกับมหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง และเป็นพันธมิตรที่ดีกับมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่งอีกด้วย

ล่าสุดเขายังเดินหน้าสร้างโรงเรียนจีนนานาชาติ เพื่อรองรับบุตรหลานคนจีนเดินทางมาทำงานกับครอบครัวในไทย เพราะนายหวัง มีประสบการณ์ด้านธุรกิจด้านการศึกษา จึงทำให้เจ้าของมหาวิทยาลัยเกริกตัดสินใจร่วมทุน ไม่ใช่แค่เพื่อความอยู่รอดอย่างเดียว

คนตื่นเต้นว่า คนจีนจะมาฮุบมหาวิทยาลัยเกริก นายกสภามหาวิทยาลัยก็เป็นคนไทยเป็นอดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาก่อน รักประเทศชาติ รักคนไทย ส่วนอธิการบดีก็คนปัจจุบันผมก็คนไทย

ไทยหมุดหมายทำธุรกิจการศึกษาของจีน

แม้ว่านักวิชาการอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ว่า การศึกษาไทยล้มเหลว เพราะทุนจีนเข้าซื้อกิจการมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ นพ.กระแสไม่คิดเช่นนั้น มหาวิทยาลัยไทยถูกครอบงำจริงหรือไม่ ? เป็นคำถามที่ผู้บริหารในวัย 90 ปี ต้องตอบสังคมตลอดหลายปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นพ.กระแส ระบุว่า ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ไม่มีใครสามารถยังยั้งปัญหาได้ เมื่อมีนักศึกษาน้อยลง ปัญหาก็เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยไทยต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เอกชนแต่มหาวิทยาลัยก็กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน หากไม่มีการร่วมทุนกับคนจีนมหาวิทยาลัยก็จำเป็นต้องปิดตัวลง รวมทั้ง ม.เกริกด้วยเช่นเดียวกัน

ความจริงคนจีนก็เหมือนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมืองไทยมานานแล้ว แต่คนจีนเข้ามาในเมืองไทยได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เพราะระยะทางใกล้ และฐานะคนจีนทุกวันนี้ก็ดีขึ้น และเห็นว่าเมืองไทยก็เป็นประเทศน่าลงทุนทางการศึกษา
ไทยหมุดหมายทำธุรกิจการศึกษาของจีน

ไทยหมุดหมายทำธุรกิจการศึกษาของจีน

ไทยหมุดหมายทำธุรกิจการศึกษาของจีน

แม้จะถูกมองว่า มหาวิทยาลัยเกริกรอด เพราะอยู่ในเงาจีน แต่ในฐานะผู้บริหารที่ทำธุรกิจการศึกษามาอย่างยาวนาน นพ.กระแส กลับเชื่อว่า สิ่งที่จะประโยชน์จากการร่วมทุนกับจีน คือ คุณภาพความเข้มแข็งทางด้านการศึกษา จากอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติ มาช่วยกันสอนนักศึกษา

นอกจากนี้คุณภาพของนักศึกษาไทย หลังจากเปิดหลักสูตรนานาชาติยังดีขึ้นกว่าเดิม เพราะนักศึกษาได้สังคม แลกเปลี่ยนจากต่างชาติ ต่างศาสนาทำให้เกิดภาวะผู้นำต่อยอดความสำเร็จในชีวิต

เมื่อคุณอยากกินขนม เราก็ต้องทำขนมขายให้ คนจีนอยากมาเมืองไทยมาเรียนก็มี แต่ก็ไม่เยอะถ้าเทียบกับ 1,400 ล้านคนของจีน มาไทย 2-3 หมื่นคน ส่วนออสเตรเลียมีนักศึกษาจีนกว่า 300,000 คน เขาก็ยังอยากให้เข้ามาอีก

หลังจากร่วมทุนกับ นายหวัง ฉางหมิง มหาวิทยาลัยเกริก เดินหน้า MOU กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในจีน มากกว่า 100 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนด้านการศึกษาไทย-จีน ส่วนหลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพของบุคคลากรมีทั้งคนไทยและจีน โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

รวมทั้งการร่วมทุนเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย นพ.กระแสมองว่า การทำธุรกิจการศึกษาของคนจีนไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อน เพราะเป้าหมายสำคัญ คือการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาไทยให้ทัดเทียมต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง