“ไวรัสโบราณ” อายุหลายล้านปี อาจช่วยรักษามะเร็งได้

Logo Thai PBS
“ไวรัสโบราณ” อายุหลายล้านปี อาจช่วยรักษามะเร็งได้
การศึกษาไวรัสโบราณที่หลบซ่อนอยู่ในพันธุกรรมของมนุษย์มาเป็นเวลาหลายล้านปีนั้นอาจช่วยร่างกายของพวกเราต่อสู้กับโรคมะเร็งได้

ฟรานซิส คริคก์ (Francis Crick) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษได้ค้นพบไวรัสโบราณที่หลบซ่อนอยู่ภายในพันธุกรรมของมนุษย์ ซึ่งมักเปิดเผยตัวตนออกมาขณะที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วจนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้เท่านั้น โดยไวรัสนี้จะช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค้นหาและช่วยโจมตีเซลล์มะเร็ง

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จึงต้องการที่จะควบคุมและใช้ประโยชน์ไวรัสนี้ในการสร้าง "วัคซีน" ที่ช่วยรักษาหรือป้องกันเซลล์มะเร็ง ทั้งพวกเขายังได้พบว่ามีระบบภูมิคุ้มกันส่วนหนึ่งที่สามารถรอดพ้นจากเซลล์มะเร็งในปอดได้ดีกว่าภูมิคุ้มกันส่วนอื่น ๆ ผ่านการสร้างแอนติบอดี (Antibody) เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อของร่างกาย ซึ่งภูมิคุ้มกันกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า "บีเซลล์" (B-Cells)

พันธุกรรมของมนุษย์ที่พวกเราต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น มีองค์ประกอบของไวรัสชนิดนี้มากกว่า 8% อีกทั้งการศึกษาวิจัยยังพบว่าไวรัสโบราณบางชนิดก็ติดมากับรหัสพันธุกรรมของเราตั้งแต่เมื่อประมาณสิบล้านปีที่แล้ว และได้ร่วมวิวัฒนาการมากับพวกเราตั้งแต่สมัยยุคที่บรรพบุรุษของมนุษย์ยังคงอยู่ในวงศ์ลิงใหญ่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเซลล์มะเร็งนั้นเติบโตลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะท้ายเกินกว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสามารถรับมือได้ ไวรัสชนิดนี้ก็หายไปจากร่างกายของมนุษย์ ซึ่งผลการสังเกตนี้ช่วยให้นักวิทย์ยืนยันได้ว่าไวรัสนี้สามารถช่วยต่อต้านการติดเชื้อจากไวรัสอื่น ๆ ที่ร่างกายรับเข้ามาได้เพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

ถึงกระนั้น นักวิจัยโรคมะเร็งในสหราชอาณาจักรอย่าง ดร. แคลร์ บรูมเลย์ (Dr. Claire Bromley) ได้กล่าวเอาไว้ว่างานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการการค้นคว้ามากกว่านี้ ภายในอนาคตเธอเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถค้นพบวิธีรักษามะเร็งให้เป็นจริงได้ด้วยนวัตกรรมจากไวรัสชนิดนี้

ที่มาข้อมูล: BBC
ที่มาภาพ: Harvard / NIAID
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง