"ไซโคลนโมคา" แรงเท่า "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ถล่มเมียนมา-บังกลาเทศ อพยพคนหนี

ภัยพิบัติ
14 พ.ค. 66
12:19
822
Logo Thai PBS
"ไซโคลนโมคา" แรงเท่า "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ถล่มเมียนมา-บังกลาเทศ อพยพคนหนี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุ "โมคา" ยกระดับความแรงเป็น Extremely Severe Cyclonic Storm แรงใกล้เคียง"ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ความเร็วลมมากกว่า 170 กม.ต่อชม. เทียบแรงเท่ากับพายุนาร์กีส ที่เคยถล่มย่างกุ้ง ปี 2551 ส่วนไทยฝนตกหนัก 16 พ.ค.นี้ ส่วนเมียนมา-บังกลาเทศ สั่งอพยพคน

วันนี้ (14 พ.ค.2566) นายสมควร ต้นจาน ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการติดตามสถานการณ์พพายุไซโคลนรุนแรง "โมคา" บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ยังแรงต่อเนื่อง ข้อมูลของ RSMC New Delhi ประเทศอินเดีย ให้แรงระดับเป็น Extremely Severe Cyclonic Storm ใกล้เคียงกับระดับซูเปอร์ไต้ฝุ่น กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือค่อนตะวันออกเฉียงเหนือ

นายสมควร กล่าวว่า คาดว่าศูนย์กลางของพายุจะเคลื่อนเข้าขึ้นฝั่งเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาตอนบน และเมืองคอคส์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศในช่วงบ่ายวันนี้ โดยสถานการณ์ล่าสุด พบมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นพายุที่มีระดับความแรงมากกว่าพายุนาร์กีส ที่เคยถล่มเมืองย่างกุ้ง ของเมียนมาเมื่อปี 2551 

ตอนนี้โมคา ยกระดับความแรงเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น เพราะความเร็วลมเท่ากับพายุนาร์กีส ยิ่งใกล้ฝั่งเกิน 170-220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจสร้างความเสียหายรุนแรงได้ แม้ว่าแต่สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขา แต่จะมีฝนและลมแรงที่เมียนมา

นายสมควร กล่าวว่า แต่พายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่จะส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยตอนบนยังมีกำลังแรงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ไปถึงวันที่ 15 พ.ค.นี้ จึงต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับการเลือกตั้งวันนี้ แนะนำให้ออกไปใช้สิทธิ์ตั้งแต่เช้า บ่ายถึงเย็นอาจจะเจอฝนพกร่มไปด้วย  

อพยพหนีโมคา-ตั้งศูนย์พักพิงรองรับ

ขณะที่สำนักข่าว BBC รายงานว่า สำนักอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศ พยากรณ์ อิทธิพลของพายุไซโคลนลูกแรกของปีนี้ว่า อาจเป็นพายุไซโคลนรุนแรงที่สุดที่ถล่มบังกลาเทศ ในรอบเกือบ 2 ทศวรรษเลยทีเดียว 

ส่วนที่เมียนมา ได้อพยพชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศติดกับบังกลาเทศ หนีภัยโมคา เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้มีการปิดสนามบินใกล้เคียงถูกปิด และสั่งห้ามชาวประมงออกทะเลเนื่องจากอาจจะมีคลื่นสูง และตั้งศูนย์พักพิง 1,500 แห่ง ขณะที่ผู้คนจากพื้นที่เสี่ยงภัยถูกย้ายไปยังที่ปลอดภัย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาพอากาศวันนี้ "ภาคเหนือ-อีสาน" ฝนตกหนัก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง