เปิดรายรับ-ค่าใช้จ่าย ส.ว. 1 คนใช้เงินเท่าไร?

การเมือง
17 พ.ค. 66
11:15
13,838
Logo Thai PBS
เปิดรายรับ-ค่าใช้จ่าย ส.ว. 1 คนใช้เงินเท่าไร?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดรายได้ ส.ว. ผู้เป็นเสมือน "พี่เลี้ยง" คอยประคองการทำงานของ ส.ส. ให้ดําเนินไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ไทยพีบีเอสออนไลน์รวบรวม พบว่า ส.ว. 1 คนมีค่าใช้จ่ายราว 4.5 ล้านบาท หรือทั้ง 250 คน ต้องใช้งบฯ กว่าพันล้านบาทใน 1 ปี

รัฐธรรมนูญปี 2560 มีบทเฉพาะกาลเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าด้วยการทำหน้าที่กลั่นกรองงานของสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีวาระ 5 ปี และมีอำนาจที่ต่างจาก ส.ว.จากรัฐธรรมนูญในอดีตคือ การร่วมออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี 

รัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งกำหนดให้จ่ายได้หลังจากวันเข้ารับหน้าที่ ต่อมาในปี 2555 มี พ.ร.ฎ.เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกรัฐสภาเพิ่ม กำหนดให้ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือนนับแต่วันเข้ารับหน้าที่

อ่านข่าวเพิ่ม : เลือกตั้ง2566: ส.ว.เสียงแตกเมื่อ "พิธา" นั่งนายกฯ

เปิดกระเป๋าเงินเดือน ส.ว.

ประธานวุฒิสภา

ได้รับเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาทและได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 45,500 บาท รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท

รองประธานวุฒิสภา

ได้รับเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท และได้รับเงินเพิ่มอีก
เดือนละ 42,500 บาท รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

สมาชิกวุฒิสภา

ได้รับเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาทและได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 42,330 บาท รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท

เงินเดือน ส.ว.

เงินเดือน ส.ว.

เงินเดือน ส.ว.

ทั้งนี้ ส.ส. และ ส.ว. แต่ละคนยังสามารถมีผู้ช่วยทำงานได้อีก 8 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน เงินเดือน 24,000 บาท
  • ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน เงินเดือน 15,000บาท รวม 30,000 บาท
  • ผู้ช่วยดำเนินการประจำตัว 5 คน เงินเดือน 15,000 บาท รวม 75,000 บาท 

นอกจากเงินประจำที่ได้รับทุกเดือนแล้ว ทั้ง ส.ว. และ ส.ส. รวมถึงข้าราชการทางการเมือง ยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

  • ค่าเดินทาง ในวงเงิน 1,500,000 บาท/ปี
    • ต่างประเทศ
      • เบี้ยเลี้ยงกรณีเบิกเหมาจ่าย  3,100 บาท/วัน/คน
      • กรณีไม่ได้เบิกเหมาจ่าย ค่าอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม 4,500 บาท/วัน/คน
      • ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า  500 บาท/วัน/คน
      • ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด  500 บาท/วัน/คน
    • ในประเทศ
      • เบี้ยเลี้ยง 270 บาท/วัน/คน
      • ค่าที่พักกรณี : พักคนเดียว 2,500 บาท/วัน/คน (เบิกตามจริง), พักคู่ 1,400 บาท/วัน/คน (เบิกตามจริง), พักแบบเหมาจ่าย 1,200 บาท/วัน/คน
    • ค่าเดินทางไป-กลับประชุมรัฐสภา เบิกตามระยะทางจริง
  • ค่ารักษาพยาบาล
    • ผู้ป่วยใน
      • ค่าห้องและค่าอาหาร (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง)      4,000 บาท/วัน
      • ค่าห้อง ICU/CCU (สูงสุดไม่เกิน 7 วัน/ครั้ง)   10,000 บาท/วัน
      • ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป                             100,000 บาท/ครั้ง
      • ค่ารถพยาบาล                                       1,000 บาท/ครั้ง
      • ค่าแพทย์ผ่าตัด                                      120,000 บาท/ครั้ง
      • ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง)          1,000 บาท/วัน
      • ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค            4,000 บาท/ครั้ง
      • การรักษาทันตกรรม                                 5,000 บาท/ปี
      •  การคลอดบุตร
        • คลอดธรรมชาติ                               20,000 บาท
        • คลอดโดยการผ่าตัด                          40,000 บาท
    • ผู้ป่วยนอก
      • ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป                             90,000 บาท/ปี
      • อุบัติเหตุฉุกเฉิน                                     20,000 บาท/ครั้ง
    • การตรวจสุขภาพประจำปี                                 7,000 บาท/ปี
  • เบี้ยประชุม กรรมาธิการในฐานะประธาน 1,500 บาท/ครั้ง ร่วมประชุมกรรมาธิการ 1,200 บาท/ครั้ง ประชุมอนุกรรมาธิการ 800 บาท/ครั้ง

ลองคิดคำนวณตัวเลขงบประมาณสำหรับ ส.ว. 1 คน จะใช้เงินทั้งหมด 4,512,720 บาท/ปี

คณะสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน จะใช้เงินทั้งหมด 1,128,180,000 บาท/ปี

งบประมาณครบวาระ 5 ปีของทั้ง 250 คน จะใช้เงินทั้งหมด 5,640,900,000 บาท 

ที่มา : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

อ่านข่าวเพิ่ม : เลือกตั้ง2566 : "ศิธา" หวัง "ปชป.-ภท.-ชทพ." ประกาศปิดสวิตช์ ส.ว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง