จะเป็น ส.ว. ต้องทำอย่างไร ?

การเมือง
17 พ.ค. 66
13:55
18,061
Logo Thai PBS
จะเป็น ส.ว. ต้องทำอย่างไร ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไม่จำเป็นต้องหาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ เพื่อคว้าเก้าอี้ในรัฐสภาแบบ ส.ส. แต่การจะเป็น ส.ว. ได้นั้นเป็นเพียงคนธรรมดาที่ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ทำงานด้านต่างๆที่หลากหลายในสังคม ชวนสำรวจตัวเองว่าครบคุณสมบัติสมัคร ส.ว. ได้หรือไม่

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ "การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา" โดยระบุรายละเอียด ดังนี้

ความสำคัญของการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อคนไทยทุกคนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วม โดยการสมัครเข้ารับเลือก ส.ว. เข้าไปทำหน้าที่ในสภาสูงเป็นตัวแทนของประชาชนคนไทย ในการตรากฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และคัดกรองบุคคลนักการเมืองหรือคนดีทำงานในองค์กรสำคัญต่างๆ ให้สามารถพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้

หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา

  1. กลั่นกรองกฎหมาย ที่ผ่านการพิจารณาของ ส.ส.
  2. ตรวจสอบและควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน
  3. ให้ความเห็นชอบบุคคล ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา

สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ภายใต้ของพรรคการเมืองใดๆ โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันสมัครรับเลือก
  3. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นผู้สมัครในกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น
  4. ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
    • เป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
    • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
    • ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
    • เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
อยากเป็น ส.ว.ต้องทำอย่างไร

อยากเป็น ส.ว.ต้องทำอย่างไร

อยากเป็น ส.ว.ต้องทำอย่างไร

ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา

  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  3. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
  4. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  6. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  7. อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
  8. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  9. เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 10 ปี นับถึงวันเลือกในระดับอำเภอ เว้นแต่ ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  10. เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
  11. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุด ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  12. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือ หน่วยงานของรัฐ หรือ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ หรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
  13. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
  14. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  15. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  16. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
  17. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการเสนอ การแปรญัตติ หรือ การกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
  18. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  19. เป็นข้าราชการ
  20. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  21. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  22. เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  23. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  24. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรอืผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  25. เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในคราวเดียวกัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ
  26. เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้

อ่านข่าวเพิ่ม : เลือกตั้ง2566: "สุดารัตน์" ปลุก ส.ว.กล้าหนุนพรรคเสียงมากตั้งรัฐบาล

ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในวาระเริ่มแรก

ในวาระเริ่มแรก ตามบทเฉพาะกาลของแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี เป็นได้วาระเดียว มาจากการเลือกกันเองของประชาชนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วม หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆที่หลากหลายของสังคม ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ โดยมาจาก 3 ส่วน คือ

  1. กกต. ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. จำนวน 200 คน แล้ว นำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือกจำนวน 50 คน
  2. คณะกรรมการสรรหา ส.ว. คัดเลือกบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในอันจะเป็นประโยชน์แก่ การปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศมีจำนวนไม่เกิน 400 คน แล้วนำรายชื่อเสนอต่อ คสช. คัดเลือก จำนวน 194 คน
  3. ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำนวน 6 คน

อ่านข่าวเพิ่ม : "สุดารัตน์" หวังฉันทามติจาก ปชช. ในวันที่ 14 พ.ค. เป็นจริง

10 กลุ่มอาชีพผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา

  1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง
  2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
  3. กลุ่มการศึกษาและการสาธารณสุข
  4. กลุ่มอาชีพกสิกรรม ปลูกพืชล้มลุก ทำนา ทำสวน ทำไร่ ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง
  5. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน / อาชีพอิสระ
  6. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม
  7. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว
  8. กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์
  9. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา สื่อสารมวลชน ผู้สร้างวรรณกรรม
  10. กลุ่มอื่นๆ (ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามย่อมมีสิทธิสมัครในกลุ่มอื่นๆ)

การสมัครรับเลือก ส.ว.

ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือก ส.ว. ขอรับเอกสารการสมัครด้วยตนเองพร้อมบัตรประชาชนแบบ Smart Card ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ (หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นสำหรับเขตพื้นที่ กทม.) ที่ประสงค์จะสมัคร เพื่อจัดเตรียมเอกสารและหลักฐานการสมัคร ประกอบด้วย

  • ใบสมัคร (ส.ว. 17)
  • เอกสารข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (ส.ว. 18)
  • หนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (ส.ว. 19)
  • เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ตามประกาศรับสมัคร
  • เงินสดค่าธรรมเนียมการสมัคร 2,500 บาท

กรณีสมัครโดยคำแนะนำจากองค์กร (เพิ่มเติม)

  • หนังสือแนะนำชื่อผู้สมัครจากองค์กร (ส.ว. 20)
  • หนังสือยินยอมให้แนะนำชื่อ (ส.ว. 21)
  • ผู้สมัคร ส.ว. ที่สมัครโดยการแนะนำชื่อจากองค์กร ที่ต้องยื่นแบบหนังสือแนะนำชื่อ (ส.ว. 20) และหนังสือยินยอมให้แนะนำชื่อ (ส.ว. 21) ขอให้ผู้สมัครเพิ่มเติมเอกสาร ดังนี้
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนา ของผู้มีอำนาจกระทำการแทน
    • สำหรับองค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารงานให้แนบสำเนารายงานการประชุมที่มีมติส่งผู้สมัครผู้นั้นแนบมาด้วย

ที่มา : กกต.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง